Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำและการไหลเวียนเลือด - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำและการไหลเวียนเลือด
ภาวะบวมน้ำ (EDEMA)
คือภาวะที่มีการสะสมของน้ำหรือของเหลว (fluid) ในช่องระหว่างเซลล์ (interstitial space) หรือภายในช่องของร่างกาย (body cavity) มากกว่าปกติ
สามารถจำแนกน้ำหรือของเหลว ดังนี้
Transudate (ของเหลวแบบใส)
Exudate (ของเหลวแบบขุ่น)
สาเหตุ
Hydrostatic pressure ในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
Oncotic pressure ลดลง
Lymphatic obstruction
เลือดคั่ง (HYPEREMIA และ CONGESTION)
คือภาวะที่มีเลือดปริมาณมากกว่าปกติคั่งค้างในหลอดเลือด (intravascular) หรือ ในช่องว่างไซนูซอยด์ (sinusoid) ของเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
เลือดคั่ง (HYPEREMIA)
เป็นการที่มีเลือดมาคั่งในหลอดเลือดแดง (artery circulation) มากกว่าปกติ เนื่องจากมีการขยายตัวของหลอดเลือดแดง (artery dilatation) ทำให้เลือดแดงไหลเข้ามาสู่บริเวณนั้นมากขึ้น
ส่วนมากเป็นเลือดที่มีออกซิเจนมาก ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีสีแดงหรือชมพูกว่าบริเวณอื่น
มักเกิดในรายที่มีการอักเสบ
อาจเกิดเนื่องจากระบบประสาทซิมพาเธติก (sympathetic) หรือการหลั่งสารที่มีผลต่อหลอดเลือด(vasoactive substance) ทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัว
Active hyperemia บางครั้งเรียกว่า hyperemia
เลือดคั่ง (CONGESTION)
Passive hyperemia นิยมเรียกว่า congestion
เป็นการที่มีเลือดดำคั่งในหลอดเลือด (venous circulation) เนื่องจากมีการขัดขวางการไหลเวียนกลับของเลือดดำ ทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านหลอดเลือดได้ตามปกติ
เลือดที่คั่งเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนน้อย ทำให้บริเวณที่เกิดเลือดคั่ง มีสีเขียว คล้ำ หรือออกม่วง เรียกว่า cyanosis
ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาที่พบเช่นเดียวกับ active hyperemia และมักเกิดร่วมกับการบวมน้ำ (edema)
เลือดออก (HEMORRHAGE)
คือภาวะที่มีเลือดออกมาจากหลอดเลือดเนื่องจากหลอดเลือดได้รับอันตรายฉีกขาดโดยตรง หรือการเสื่อมสภาพของผนังหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดซึมผ่านออกนอกหลอดเลือดโดยวิธี diapedesis ทั้งที่หลอดเลือดไม่ฉีกขาด
อาการเลือดออก แบ่งเป็น 2 ประเภท
External hemorrhage เป็นอาการเลือดออกที่เห็นเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย เช่น บาดแผลที่ผิวหนัง เลือดกำเดา เลือดออกจากการถอนฟัน เป็นต้น
Internal hemorrhage เป็นอาการเลือดออกที่ไม่เห็นเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย เช่น เลือดออกในสมอง (เส้นเลือดในสมองแตก) เลือดออกในช่องท้อง (เช่น ท้องนอกมดลูกแตก)
สาเหตุการเกิดเลือดออก หรือจุดเลือดออก หรือตกเลือด
ผนังหลอดเลือดได้รับอันตรายฉีกขาดโดยตรงจากของมีคม
ผนังหลอดเลือดได้รับอันตรายโดยตรง จากเชื้อโรคที่ทำลายผนังหลอดเลือด หรือเกิดจากการเสื่อมสภาพ หรือได้รับสารพิษ ทำให้เลือดซึมผ่านออกจากหลอดเลือดได้
หลอดเลือดได้รับอันตรายจากผลการอักเสบหรือเนื้องอก หรือหนอนพยาธิที่ทำลายผนังหลอดเลือด
ความผิดปกติของขบวนการการแข็งตัวของเลือด เช่น การขาดเกล็ดเลือด หรือขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (coagulation factor)
PETECHIAL HEMORRHAGE
เป็นจุดเลือดออกขนาดเล็กในชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุ
สาเหตุเนื่องจากมีความผิดปกติของผนังหลอดเลือดหรือความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
PURPURA HEMORRHAGE
จ้ำเลือดขนาดโตในเนื้อเยื่อ ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร
มักเกิดร่วมกับความผิดปกติของเกล็ดเลือด
ECCHYMOTIC HEMORRHAGE
ปื้นเลือด หรือแต้มเลือดขนาดโตในเนื้อเยื่อ ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตรหรือ เรียกว่า “ ecchymosis ”
SHOCK
คือภาวะที่มีความผิดปกติทางสรีรวิทยา ทำให้เกิดความไม่สมดุลของปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในหลอดเลือดกับขนาดของหลอดเลือด
ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดล้มเหลว เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ลดลง มีผลให้ cell ได้รับ O2เพียงพอจนเกิดภาวะเนื้อเยื่อขาด O2เกิดการทำลาย cell และนำไปสู่การตาย
แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.Hypovolemic shock
คือภาวะ shock จากปริมาณไหลเวียนลดลง
เป็นภาวะ shock ที่พบบ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุดังนี้
External fluid loss (การสูญเสียน้ำออกมาภายนอกร่างกาย)
Internal fluid loss (การสูญเสียน้ำภายในร่างกาย)
2.Cardiogenic shock
คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้มีปริมาณเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจใน 1 นาทีลดลง ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลงตามมา cell ขาดออกซิเจน
พบบ่อยที่สุดคือ เกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลวจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
สาเหตุ
1) การสูบฉีดล้มเหลว (pump failure) เกิดจาก กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายความผิดปกติของลิ้นหัวใจตีบและรั่ว
2)การไหลกลับของเลือดมายังหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง
3.Vasogenic shock
3.1 Neurogenic shock
เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย
เกิดจากการสูญเสียหน้าที่ของประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติคและศูนย์ควบคุมหลอดเลือด
สาเหตุ
พยาธิสภาพที่สมอง (cerebral damage) ทำให้กระทบกระเทือนศูนย์ควบคุมที่ medulla
พยาธิสภาพที่ไขสันหลัง (spinal cord injury) ทำให้ศูนย์ควบคุมหลอดเลือดไม่สามารถควบคุม preganglionic vasoconstrictor nerve ได้
3.2 Septic shock
ภาวะ shock จากการติดเชื้อ เป็นภาวะที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งเกิดจากพิษของ“แบคทีเรีย” ทั้ง gram-ve และ gram+ve รวมถึงเชื้อรา เชื้อไวรัส
ส่วนมากเกิดจากแบคทีเรีย gram-ve ซึ่งจะหลั่งสารพิษชนิด Endotoxin ในกระแสเลือด
เกิดจากสาร Endotoxin ที่ปล่อยออกมาทำอันตรายต่อเซลล์ของร่างกาย และร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาการตอบสนอง เพื่อก าจัดเชื้อโรคและเซลล์ร่างกายที่ตาย โดยมีการหลั่งสารจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด Histamine, Serotonin, Kinin และอื่นๆ
มีผลต่อการกำซาบของร่างกายดังนี้
1.หลอดเลือดขยาย
2.กระตุ้นให้เกิดการหลั่ง tissue thromboplastin
กดการทำงานของหัวใจ
ทำลายเซลล์ผนังหลอดเลือด
3.3 Anaphylactic shock
เกิดจากการแพ้สารหรือยาต่างๆ โดยเมื่อร่างกายได้รับสารดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นสารกระตุ้น (antigen) จะกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกัน (antibody) ต่อสารนั้นขึ้นมา
ส่วนใหญ่เป็นพวก IgE
ภาวะ shock จากหลอดเลือด เป็นภาวะที่มีการขยายตัวของหลอดเลือดอย่างมากจนเกิดเลือดคั่งในหลอดเลือด