Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม -…
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกของทารกที่มีสาเหตุจากหมู่เลือดระบบ ABO ไม่เข้ากับมารดาส่วนใหญ่จะพบที่ทารกหมู่เลือด A หรือ B ที่เกิดจากมารดาหมู่เลือด O แนวโน้มทารกที่มีอาการรุนรงมักจะเกิดในคนผิดดำ
พยาธิสรีรภาพ
มารดาหมู่เลือด O จะมี anti-A และ anti-B ชนิด IgG บ่อยกว่ามารดาหมู่เลือด A หรือ B มีรายงาน anti-B ในมารดาที่มีหมู่เลือด A เป็นสาเหตุให้ทารกหมู่เลือด B เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ ทารกหมู่เลือด A1B มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกอย่างรุนแรงหลังคอลดจากมารดาหมู่เลือด B โดยทั่วไป anti-A มักจะเป็นสาเหตุของภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกเกิดได้บ่อยกว่า anti-B1 ชนิดของ IgG นั้นมีความสำคัญต่อการเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารก IgG1 หรือ IgG3 เท่านั้นที่สามารถจับกับ Fc-receptor ของเซลล์ฟาโกไซต์แล้วกระตุ้นการทำลายเม็ดเลือดแดงได้ มักเกิดกับมารดาหมู่เลือด O และทารกหมู่เลือด A หรือ B ซึ่งหาก antibody มากและส่วนใหญ่จะเป็น IgG ซึ่งสามารถผ่านรกเข้าสู่กระแสเลือดของทารก แล้วทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ทารกแรกเกิดมีภาวะซีด บวม และตัวเหลือง จนเสียชีวิตหลังคลอดได้
อาการและอาการแสดง
ในทารกมักจะไม่รุนแรง ส่วนใหญ่พบเพียงอาการตัวเหลืองเท่านั้น และมักจะมีอาการภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ไม่ค่อยพบอาการซีด เนื่องจากการสร้างแอนติเจนในหมู่เลือดระบบ ABO ของทารกนั้นจะยังไม่ดีเท่าในวัยผู้ใหญ่
ภาวะแทรกซ้อน
เสี่ยงต่อการที่สมองถูกทำลายอย่างรุนแรง จากภาวะkernicterus จะเสียชีวิตประมาณ 75% ส่วนคนที่รอดมักเกิด mental retal หรือ develop paralysis or nerve deafness
การพยาบาล
1.ประเมินความเสี่ยงของคู่มารดาและทารกจากการซักประวัติ ประวัติการตั้งครรภ์และคลอดที่ผ่านมา
2.อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม พยาธิสภาพ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
3.ติดตามภาวะ jaundice ด้วยการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด ภายใน 24 ชม.หลังคลอด
5.ทารกแรกที่ได้รับการส่องไฟ ให้วางทารกไกลแสงไฟพอประมาณ ระวัง burn พลิกตัวทุก 3-4 ชม. และปิดตาทารกด้วย eye patches
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือด Rh
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การไม่เข้ากันของกลุ่มเลือด Rh ของมารดาและทารกในครรภ์ Rh เป็น Antigen ตัวหนึ่งที่มีเม็ดเลือดแดง พบในคนผิดขาวร้อยละ 85 และร้อยละ 95 พบในคนผิวดำ อินเดียนแดง และภาคตะวันออกของอเมริกา
พยาธิสรีรภาพ
Rh Isoimmunization จะเกิดขึ้นเมื่อมแ่มี Rh negative และทารกมี Rh positive โดยในขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของมารดา ทำให้เกิดการสร้าง antibodies ในแม่ซึ่งจะไหลเวียนกลับเข้าสู่ทารกในครรภ์ และจะไปจับและทำลายเม็ดเลือดแดงของทารก ทำให้ทารกมีภาวะโลหิตจาง อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือถ้ามีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิด Hydrops fetalis ทารกจะมีภาวะบวมน้ำและมีการไหลเวียนล้มเหลว
อาการและอาการแสดง
หากทารกมี hemolysis ที่รุนแรงขณะอยู่ในครรภ์ทารกจะซีดมาก อาจเกิดหัวใจวาย ตัวบวมน้ำที่เรียกว่า hydrops fetalis และอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้ ในรายที่ไม่ตายคลอดก็จะมีปัญหาซีดมากหรือเหลืองมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
- ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่ค่อยพบผลกระทบ
- ผลกระทบต่อทารก
มักมีผลต่อทารกในครรภ์ที่ 2 ทำให้ทารกเกิดภาวะ neonatal anemia, hydrops fetalis, ตับและม้ามโต
แนวทางการรักษาและการพยาบาล
1.ป้องกันการเกิด Isoimmunization จะเกิดขึ้นเมื่อหญิงตั้งครรภ์มี Rh negative และทารกมี Rh positive โดยในขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของมารดาทำให้เกิดการสร้าง antibodies
2.เฝ้าระวังและตรวจหา antibodies ในหญิงตั้งครรภ์ และการดูแลสุขภาพของทารกในครรภ์ ดังนี้
2.1การเจาะเลือดครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ เพื่อตรวจหาหมู่เลือด Rh typing ทุกรายหากหญิงตั้งครรภ์มี Rh negative ควรตรวจ Indirect Coomb's test เพื่อหา antibodies ในมารดา
2.2ควรตรวจ Indirect Coomb's test อีกครั้ง เมื่อ GA 28 wk. หากไม่พบว่ามี antibodies ควรให้ RhoGAM เพื่อป้องกันการสร้าง antibodies
2.3ควรให้คำแนะนำเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจถึงแผนการรักษา จะช่วยลดความกลัวและความวิตกกังวลได้
โรคโลหิตจางจากโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
สาเหตุ
เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้มีความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบิน ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นมามีความผิดปกติ ถูกทำลายง่ายและมีอายุสั้น
พยาธิสรีรภาพ
คนปกติร่างกายจะมี α-globin และ β-globin อยู่ในสัดส่วนที่สมดุลกัน เมื่อมีความผิดปกติของยีนทำให้การสังเคราะห์ α-globin และ β-globin ลดน้อยลงหรือไม่สร้างเลย จะทำให้ globin ที่เหลืออยุ่รวมตัวกันเอง แล้วตกตะกอนอยู่ในเม็ดเลือด ทำให้เลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ ขาดความยืดหยุ่น ผนังของเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย มีอายุสั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับม้ามโต ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงทดแทนตลอดเวลา ทำให้เกิดการเปลี่นแปลงของลักษณะกระดูก เช่น รูปใบหน้าเปลี่ยน กระดูกบางแตกหักง่าย เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
1.อาการรุนแรงมาก (thalassemia major) คือ α-thalassemia เป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงที่สุด ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเสียชีวิตไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด ทารกจะมีลักษณะบวมน้ำทั้งตัว ซีด ตับม้ามโต รกมีขนาดใหญ่ รองลงมา β-thalassemia จะมีอาการรุนแรงภายใน 2-3 เดือนหลังคลอด ระดับ Hb 2.3-6.7 gm% มีการเจริญเติบโตช้า และมักเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก
2.อาการรุนแรงปานกลาง (thalassemia intermediate) จะมีอาการซีดปานกลาง ตับและม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลือง มีการเจริญเติบโตช้า แต่ในรายที่เป็น Hb H จะมีลักษณะเฉพาะ ในภาวะปกติจะไม่มีอาการ แต่เมื่อมีไข้ติดเชื้อจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
3.กลุ่มที่ไม่มีอาการ ได้แก่ กลุ่มที่เป็นพาหะ และกลุ่ม homozygous HbE, homezygous Hb CS โดยจะไม่มีอาการแสดง แต่ฮีโมโกลบินต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
- ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีโอกาสติดเชื้อ เนื่องจากความต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ในรายที่มีภาว Hb Bart's hydrpo fetalis มักเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ คลอดยาก
- ผลกระทบต่อทารก
เกิดภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง ส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ น้ำหนักน้อย หรือขาดออกซิเจนในระยะคลอด
การพยาบาล
1.อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย และสามีเข้าใจถึงความจำเป็นในการคัดกรองหาพาหะ
2.อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ลักษณะของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความแตกต่างระหว่างเป็นโรคและเป็นพาหะ การรักษาและการพยาบาลที่จะได้รับ
3.ในกรณีที่ทั้งสตรีตั้งครภ์และสามีเป็นคู่เสี่ยงที่อาการรุนแรง ควรแนะนำเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด
4.ในกรณีที่ดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการป้องกันการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ การรับประทานอาหาร การพักผ่อนเพียงพอ การมาตรวจตามนัด