Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ระบบสุริยะ เลขที่ 2 8 10 11 12, image, image, image,…
บทที่ 3 ระบบสุริยะ เลขที่ 2 8 10 11 12
กำเนิดระบบสุริยะ
เกิดจากกลุ่มฝุ่นและแก๊สในอวกาศซึ่งเรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) รวมตัวกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว (นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวงอาทิตย์) เมื่อสสารมากขึ้นแรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มฝุ่นและแก๊สยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ดังภาพที่ 1 แรงโน้มถ่วงที่เพิ่มขึ้นสร้างแรงกดดันที่ใจกลางจนอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม ดวงอาทิตย์กำเนิดเป็นดาวฤกษ์
ปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์
Sun halo หรือ ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด
มีลักษณะเหมือนดวงอาทิตย์ซ้อนกันอยู่หลายๆ ดวง และมีรัศมีสีรุ้งอยู่รอบๆ ในวงกลมตรงกึ่งกลางจะมีสีสว่างสดใสที่สุด
Sun dog หรือ ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ 3 ดวง
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากการหักเหของแสงอาทิตย์ผ่านผลึกน้ำแข็งของก้อนเมฆที่อยู่ในชั้นบรรยากาศที่สูง
Light Pillars หรือ ปรากฏการณ์เสาแสง
ปรากฏการณ์นี้เกิดจากผลึกน้ำแข็งสะท้อนกับแสงแดดที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ Atmosphere จะเห็นเป็นเหมือนกับลำแสงสีแดงพุ่งลงมาสู่พื้นดิน
Brocken spectre หรือ ปรากฏการณ์รุ้งหมอก
ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการสะท้อนของแสง ซึ่งเกิดได้ทั้งจากแสงอาทิตย์ และแสงที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ตรงกลางจะเกิดเป็นภาพเงาขนาดใหญ่ปรากฏบนกลุ่มหมอก
Northern lights หรือ ปรากฏการณ์แสงเหนือ
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดเป็นสีสันต่างๆ สวยงาม ส่วนใหญ่จะเป็นแสงสีขาว หรือเขียว ส่วนสีอื่นๆ ที่พบจะเป็น สีน้ำเงิน เหลือง ม่วง หรือแดง เป็นต้น
Green flash
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้ยากมาก จะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน และสภาพแวดล้อมทุกอย่างเหมาะสมเท่านั้น
Fire rainbow หรือ ปรากฏการณ์รุ้งไฟ
ปรากฏการณ์นี้เกิดจากแสงของดวงอาทิตย์ที่หักเหออกจากผลึกน้ำแข็งจากเมฆเซอร์รัสในแนวราบ
Solar Eclipse หรือ ปรากฏการณ์สุริยุปราคา
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โดจรมาเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ระหว่างกลางนั่นเอง
โครงสร้างของดวงอาทิตย์
ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์
โฟโตสเฟียร์
พื้นผิวของดวงอาทิตย์
โครโมสเฟียร์
บริเวณที่อยู่เหนือขึ้นมาจากชั้นโฟโตสเฟียร์ มีอุณหภูมิสูงประมาณ 10,000 เคลวิน
คอโรนา
บรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ซึ่งแผ่ออกไปในอวกาศ มีอุณหภูมิสูงมากกว่า 1 ล้านเคลวิน
โครงสร้างภายในดวงอาทิตย์
แก่น
มีอุณหภูมิสูงกว่า 15 ล้านเคลวิน
เขตการแผ่รังสี
ส่วนที่พลังงานความร้อนถ่ายทอดออกสู่ส่วนนอก
เขตการพาความร้อน
พลังงานความร้อนถูกถ่ายทอดสู่ส่วนนอก
โดยการเคลื่อนที่ของก๊าซ
เขตบริวารรอบดวงอาทิตย์
ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ ตามลักษณะของการเกิด และลักษณะขององค์ประกอบ ออกเป็น 4 เขตคือระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ ตามลักษณะของการเกิด และลักษณะขององค์ประกอบ ออกเป็น 4 เขตคือ
แถบดาวเคราะห์น้อย อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี เป็นเศษของดาวเคราะห์หิน แต่ไม่สามารถจับตัวกันเป็นขนาดใหญ่ได้
เขตดาวเคราะห์ชั้นนอก อยู่ถัดจากแถบดาวเคราะห์น้อยออกไป ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน มีขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจนกับฮีเลียม จึงเรียกว่า ดาวเคราะห์แก๊ส
เขตดาวเคราะห์ชั้นใน อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับแถบดาวเคราะห์น้อย ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร มีแก่นเป็นโลหะ จึงเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน
เขตดาวหาง อยู่ตั้งแต่วงโคจรของดาวเนปจูนไกลออกไป เช่น ดาวเคราะห์แคระ ดาวพลูโต ดาวอีริส ดาวหาง สะเก็ดดาว