Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การละเล่นพื้นเมือง - Coggle Diagram
การละเล่นพื้นเมือง
การละเล่นพื้นเมืองภาคใต้
ภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง และมีขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคคลิกบางอย่างคล้ายคลีงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจรวดเร็วเด็ดขาด การแต่งกาย เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก
-
๑. มหรสพ คือ การแสดงเป็นเรื่อง เช่น หนังตะลุง มีตัวหนัง มีคนเชิด มีการร้องและเจรจา นอกจากนั้นมี ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา หรือลิเกแขกแดง หรือลิเกแขกเทศ หรือลิเกบก
๒. การแสดงเบ็ดเตล็ด คือ ร่ายรำเป็นชุด เช่น โนรา ร็องเง็ง ซัมเปง ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ รำซัดชาตรี
-
-
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่ รำวง รำเหย่ย เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว รำชาวนา เพลงเรือ เถิดเทิง เพลงฉ่อย รำต้นวรเชษฐ์ เพลงพวงมาลัย
เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ รำแม่ศรี
-
เพลงพื้นเมืองภาคกลาง เช่น เพลงเหย่อย เพลงเทพทอง เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงพิษฐาน เพลงเต้นกำ เพลงรำเคียว เพลงพวงมาลัย เพลงชาวไร่ เพลงระบำ เพลงบ้านนา เพลงปรบไก่ เพลงสวรรค์ เพลงแอ่วซอ
เพลงพื้นเมือง
มีความเรียบง่ายของการใช้คำ สำนวน โวหาร ไม่มีศัพท์แสลงมากนัก อาจจะมีนัยแฝงอยู่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในสังคมท้องถิ่น ถ้าผู้ฟังมีประสบการณ์ร่วมก็จะเข้าใจได้ทันทีความตลกขบขัน การว่ากระทบกระเทียบ เสียดสีสังคมท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ มีให้พบเห็นอยู่โดยทั่วไปในเพลงพื้นเมืองทุกประเภท
การตัดเติมเสริมความมีให้พบเห็นอยู่ทั่วไป เพราะบางทีเป็นการร้องโต้ตอบ (ปฏิพากย์) ระหว่างผู้เล่น 2 ฝ่าย ซึ่งต้องใช้ไหวพริบ (ปฏิภาณ) เพื่อความรวดเร็วไม่ให้การเล่นหยุดชะงัก จึงอาจตัดความหรือเสริมความเข้าใจเข้าไปเพื่อให้พอดีกับจังหวะ เวลา และโอกาส