Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเภทของโขน, นาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็นสามหมวด, ประเภทการละเล่นพื้นเมือง,…
ประเภทของโขน
1โขนกลางแปลง
โขนกลางแปลงคือ การแสดงโขนบนพื้นดิน ไม่มีการสร้างโรง ผู้แสดงเล่นกลางสนาม คล้ายเช่นชักนาค ดึกดำบรรพ์ที่บันทึกไว้ในกฎมณเฑียรบาล การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์เป็นการเล่นตำนานกวนเกษียรสมุทรของพราหมณ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก โขนกลางแปลงส่วนใหญ่เล่นเกี่ยวกับการยกทัพ และการรบระหว่างฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์ ดนตรีที่ใช้ประกอบเป็นวงปี่พาทย์อย่างน้อย 2 วง บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ บทที่เล่นส่วนมาก มีแค่คำพากย์และบทเจรจา
โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว คือ การแสดงโชนที่แสดงบนโรงมีหลังคา มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงสำหรับให้ตัวละครนั่งแทนเตียงซึ่งเพิ่งมีภายหลัง ตัวละครที่จะนั่งราวได้จะต้องเป็นตัวสูงศักดิ์ เช่น พระราม พระลักษณ์ สุครีพ ทศกัณฐ์ ตัวละครฝ่ายหญิง จะมีเตียงให้นั่งต่างหาก ดนตรีประกอบเหมือนโขนกลางแปลง และมีเพียงคำพากย์และบทเจรจาเช่นเดียวกัน
3.โขนหน้าจอ
คือโขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่ ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง ผู้เชิดตัวหนังต้องเต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก ๒ ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ"
4.โขนโรงใน
โขนที่นำศิลปะของละครในเข้ามาผสม โขนโรงในมีปี่พาทย์บรรเลง ๒ วงผลัดกัน การแสดงก็มีทั้งออกท่ารำเต้น ทีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก
5.โขนฉาก
โขนฉาก เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่องจึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก กรมศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา
-
ประเภทการละเล่นพื้นเมือง
-
การเล่นเข้าผี
การเล่นเข้าผี คือการเชิญวิญญาณสิ่งที่ประสงค์จะให้มาเข้าทรงผู้ใดผู้หนึ่ง ให้เป็นสื่อเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ในรูปแบบต่างๆ เล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หญิงและชาย มักเล่นในเทศกาลเข้าพรรษา แต่ละภาคมีการละเล่นต่างๆกัน
-
-
ภาคเหนือ เป็นการฟ้อนเชิญผีเรือน ผีปู่ย่าตายาย มาเซ่นไหว้ตามประเพณี ส่วนการเล่นผีที่เรียกว่า นายเด้ง คือการเล่นแม่ศรีอย่างภาคกลาง
-
ประเภทละคร
- ละครรำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-
-
- ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่ ละครร้อง ละครสังคีต และละครพูด
2.1 ละครร้อง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง ไม่มีท่ารำ ผู้แสดงจะต้องร้องเอง เรื่องที่นิยมแสดงคือ ตุ๊กตายอดรัก สาวเครือฟ้า ขวดแก้วเจียระไน เป็นต้นแบบของละครเพลง
2.2 ละครสังคีต คล้ายละครร้อง ต่างกันที่ละครสังคีตถือบทร้องและบทเจรจาเป็นสำคัญ เท่ากัน จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้ และเป็นต้นแบบของละครอิงประวัติศาสตร์
2.3 ละครพูด ดำเนินเรื่องด้วยการพูด ไม่มีการร้อง ผู้แสดงพูดเอง เป็นต้นแบบของละครวิทยุ ละครเวที และละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน