Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การละเล่นพื้นเมือง - Coggle Diagram
การละเล่นพื้นเมือง
การละเล่นภาคะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนอกจากชาวไทยแล้วยังมีชาวพื้นเมืองที่มีเชื้อสายเขมร เชื้อสายภูไท หรือผู้ไทย ลาว กุย แสก โซ่ง ฯลฯ การละเล่นพื้นเมืองจึงมีหลาย
โปงลาง
โปงลางเป็นเครื่องดนตรีของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ วิวัฒนาการมาจากเกราะหรือขอลอ ตีเพื่อให้เกิดเสียงดัง โปง หมายถึง เสียงของโปง ลาง หมายถึงสัญญาณบอกลางดีหรือลางแห่งความรื่นเริง โปงลาง จึงหมายถึง เครื่องดนตรีที่มีเสียงแห่งลางดี ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เรียงร้อยกัน 12 ท่อน ใช้แขวนเวลาตี การบรรเลงใช้คน 2 คน ตีเข้าจังหวะเร็ว รุกเร้าด้วยความสนุกสนาน มักจะเล่นเข้าวงกัน
การละเล่นกลองเส็ง กลองสองหน้า
การละเล่นกลองเส็ง,กลองสองหน้า เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบางจังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ หนองคาย เลย และเพชรบูรณ์ บางแห่งเรียก “แข่งกลอง” ซึ่งเป็นการแข่งขันการตีกลองคู่ด้วยไม้ค้อนสองมือ กลองลูกหนึ่งจะหนักมาก ใช้คนหาม 2 คน สนามแข่งขันส่วนใหญ่อยู่ในวัด ตัดสินโดยการฟังเสียงกังวานที่ดังก้องสลับกัน ประกอบด้วยท่าตีที่สวยงาม เจ้าของกลองมักจะเป็นวัดในแต่ละหมู่บ้านที่สร้างกลองชนิดนี้ไว้ นิยมเล่นในเทศกาลเดือนหก จนถึงเข้าพรรษา
เซิ้ง
เซิ้งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการร่ายรำหมู่ ทั้งหมู่หญิงล้วน ชายล้วน และผสมทั้งชายหญิง เซิ้งเป็นคู่ ตั้งแต่ 3-5 คู่ เครื่องดนตรีประกอบการเล่นได้แก่ แกร๊ป โหม่ง กลองแตะ และกลองยาว ลีลาของการเซิ้งต้องกระฉับกระเฉง แคล่วคล่องว่องไว ทั้งนี้เพื่อมุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการตรากตรำทำงาน
-
การละเล่นพื้นเมืองของภาคกลางและภาคตะวันออก การเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับการทำนา การเล่นในเทศกาลงานบุญ ตรุษ สงกรานต์ และการเล่นในฤดูน้ำหลาก มักเรียกการละเล่นพื้นเมืองนี้ว่าเป็น การเล่นเพลง การเล่นเพลงที่เกี่ยวเนื่องจากการทำนาก็เป็นการเล่นตามขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงนา เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงรำเคียว เพลงชักกระดาน เพลงพาดควาย เมื่อหมดฤดูทำนาก้มักจะเล่นเพลงปฏิพากย์ ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงชาวไร่ หรือระบำชาวไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงอีแซว เพลงลำตัด เพลงเหย่อย เพลงเทพทอง เพลงไก่ป่า และยังมีอีกมากแต่ปัจจุบันได้ล้าสมัยและสูญหายไปเป็นส่วนใหญ่
เถิดเทิงหรือการละเล่นเทิ้งบ้องกลองยาวประเพณีการเล่นเถิดเทิงหรือการละเล่นเทิ้งบ้องกลองยาว สันนิษฐานว่าเป็นของพม่าเล่นมาก่อน ตั้งแต่ครั้งทำสงครามสมัยกรุงธนบุรี เครื่องประกอบการเล่นคือ กลองยาว กรับ ฉาบ และโหม่ง ผู้เล่นแต่งตัวเลียนแบบเครื่องแต่งกายพม่า หรือจะให้สวยงามตามความพอใจก็ได้ ใส่เสื้อแขนกว้างและยาวถึงข้อมือ นุ่งโสร่งตา มีผ้าโพกศีรษะ ผู้ตีกลองยาวบางพวกตีหกหัวหกก้น แลบลิ้นปลิ้นตา กลอกหน้า ยักคิ้วยักคอไปพลาง ผุ้ตีกลองจะต้องแสดงความสามารถในการตีกลองด้วยท่าทางต่างๆ เช่น ถองหน้ากลองด้วยสอก โขกด้วยคาง กระทุ้งด้วยเข่า
กระบี่กระบอง
เป็นการละเล่นที่นำเอาอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้ของนักรบไทยสมัยโบราณมาใช้ มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จากประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้น ชาวบ้านต้องเผชิญกับภัยสงครามอย่างโชกโชนถึงกับเสียเมือง ซึ่งอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้ประหัตประหารกัน ได้แก่ ดาบ หอก ทวน แหลน หลาว และเครื่องป้องกัน 2 อย่าง คือ กระบี่ กระบอง
-
-
ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวว่า “ ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน ” และในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละครครั้ง กรุงเก่า ได้กล่าวถึงการละเล่นนั้นบทละครนั้น ได้แก่ ลิงชิงหลัก และปลาลงอวน ประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงาน ทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล