Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง - Coggle Diagram
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ความหมาย
หมายถึง การที่แต่ละฝ่ายไปด้วยกันไม่ได้ในเรื่องเกี่ยวกับความต้องการ เป็นความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของบุคคลหรือกลุ่มคน ที่มีความคิดเห็น ค่านิยม และเป้าหมายไม่เป็นไปในทางเดียวกัน รวมทั้งการต่อสู้เพื่อทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด หรือการที่ฝ่ายหนึ่งรุกล้ำ หรือขัดขวางการกระทำอีกฝ่ายเพื่อให้เป้าหมายของตนบรรลุผล ความขัดแย้งอาจเกี่ยวกับความไม่สามารถตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นเพราะอยากทำทั้งสองสิ่งในเวลาเดียวกัน
-
ประเภทของความขัดแย้ง
- ความขัดแย้งของบุคคล อาจเป็นความขัดแย้งภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Conflict) เป็นสภาวะที่บุคคลรับรู้ถึงความขัดแย้งในจิตตนเองเมื่อเผชิญเป้าหมาย ค่านิยม ความเชื่อ ความต้องการหลายๆ อย่างที่แตกต่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ตนชอบทั้งคู่หรือต้องเลือกเพียงอย่างเดียว หรือสิ่งที่จะต้องเลือกมีทั้งข้อดีข้อเสียที่ตนเองชอบและข้อเสียที่ตนเองไม่ชอบ ทำให้ตัดสินใจลำบากกว่าจะเลือกหรือไม่เลือก นอกจากนี้อาจเป็นความขัดแย้งในบทบาทของความขัดแย้งภายในบุคคลซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความไม่แน่ใจว่าเขาถูกคาดหมายให้ปฏิบัติงานอะไรหรือถูกคาดหมายให้ปฏิบัติงานเกินความสามารถของตน ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (Interperonal Conflict) ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากบุคลิกภาพค่อนข้างก้าวร้าว ย่อมจะเกิดความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่าย โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีความรู้สึกไวและความขัดแย้งของบุคคลย่อมมีผลต่อความขัดแย้งขององค์การโดยส่วนรวมด้วย เพราะบุคคลเป็นองค์ประกอบขององค์การ
2.ความขัดแย้งขององค์การ เป็นการต่อสู้ดิ้นรนที่แสดงออกจนเป็นที่สังเกตเห็นด้วยกันได้ทั้งสองฝ่ายและความขัดแย้งขององค์การเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมหรือระบบองค์การที่บุคคลต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในการปฏิบัติงาน
วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง
7 การคลี่คลายสถานการณ์ขัดแย้งที่ดูตึงเครียด ด้วยเรื่องตลกหรือขำขัน อาจเป็นวิธีง่ายๆที่ช่วยให้อีกฝ่ายเข้าใจถึงสาเหตุที่คุณไม่เห็นด้วยกับความคิดของเขา อีกทั้งยังช่วยให้บรรยากาศที่มึนตึง ดูผ่อนคลายลง
3 เปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายได้แสดงอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องที่ขัดแย้งอย่างเต็มที่ แต่ต้องเป็นไปด้วยความสงบ และหากฝ่ายหนึ่งไม่อยากพูด ขอให้เขียนจุดสำคัญๆ 2-3 เรื่อง เพื่อให้อีกฝ่ายได้อ่านและเข้าใจความรู้สึกนั้น
5 ระหว่างการเจรจา หากคุณเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งบางเรื่องของคู่กรณีที่มีเหตุผลดี คุณต้องรู้จักยอมรับ ไม่ต้องอายหรือกลัวเสียหน้าเสียศักดิ์ศรีแต่ประการใด
8 เมื่อการพยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกิดบานปลาย มีความรุนแรง ข่มขู่ ด่าทอ หรือใช้กำลังเข้าร่วม โปรดอย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก เช่น หัวหน้างาน หรือตำรวจ เมื่อคุณคิดว่า ตัวเองกำลังตกอยู่ในอันตราย
4 อย่ายึดติดกับความคิดเห็นของตัวเองเป็นใหญ่ ควรมีความยืดหยุ่น รับฟังความคิดของผู้อื่น และยอมรับว่า บางครั้งคุณอาจต้องล้มเลิกแผนการหรือความต้องการเดิมที่วางไว้ เพื่อให้ได้ข้อยุติในการขจัดความขัดแย้งโดยสันติ
2 การเจรจาข้อพิพาทในสถานที่เปิด อาจมีตัวแปรอื่นๆยั่วยุให้เกิดข้อขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ทางที่ดีควรหาสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ที่คู่กรณีสามารถพูดคุยกันได้อย่างเต็มที่
6 หากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีมากเกินกว่าจะคุยกันด้วยเหตุด้วยผลละก็ ขอให้หาเวลานอก แล้วออกจากสถานการณ์ที่ตึงเครียด และเมื่อจิตใจสงบลง ค่อยกลับมาเจรจากันใหม่ในภายหลัง
1 เมื่อคุณมีปัญหาขัดแย้งกับผู้อื่น ควรพูดคุยกันต่อหน้า ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดกันได้เป็นอย่างดี ไม่ควรใช้วิธีส่งข้อความผ่านทางอีเมล จดหมาย โทรศัพท์ หรือพูดผ่านบุคคลที่สาม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันมากยิ่งขึ้น
9 หากไม่มีฝ่ายใดยอมลดราวาศอกให้กัน ควรเจรจาเพื่อหาข้อยุติที่เป็นกลาง ไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้ชนะ และหยุดปัญหาพิพาทไว้ชั่วคราว เพราะบ่อยครั้งที่กาลเวลาสามารถเยียวยาความขัดแย้งได้อย่างเห็นผล
10 การให้คู่พิพาทร่วมกันทำงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างได้ผล โดยเฉพาะในที่ทำงาน ซึ่งเมื่อต่างคนต่างทำตามวิธีของตัวเอง อาจเกิดข้อขัดแย้งและในที่สุดก็ไปไม่ถึงจุดหมาย