Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน - Coggle Diagram
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน
การจัดการเรียนรู้
ความหมาย
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
องค์ประกอบ
ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ
เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย
การเรียนรู้
ลักษณะ
2.จิตพิสัย
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางจิตใจ ซึ่งรวมถึงความสนใจ อารมณ์ เจตคติ ค่านิยมและคุณธรรม
3.ทักษะพิสัยเป็นจดประสงค์ ที่เกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหว และใช้อวัยวะต่างๆของร่างกาย
1.พุทธิพิสัย
เป็นจุดประสงค์ทางการศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา คือความรู้ ความเข้าใจ การใช้ความคิด
ความหมาย
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
องค์ประกอบ
1.แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
2.สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา
3.การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4.การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น.
ปัจจัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้
1.กระบวนการเรียนรู้
2.สื่อการเรียนรู้
3.บรรยากาศการจัดการเรียนรู้
4.ผู้จัดกระบวนเรียนรู้
5.ผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
การเรียนรู้ในศตวรรษที่21
การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ในวิชานี้ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ ในการเลือกประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ค้นคว้า การแสวงหาความรู้ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และฝึกทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ให้กับตนเองได้
การสอน
ความหมาย
ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบและการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หลักการสอนหลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการสอนได้
องค์ประกอบ
การสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน กระบวนการ และ ผลผลิต
การเรียนการสอน
ความหมาย
การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่าหรือความพึงพอใจที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ด้วยวิธีการถ่ายทอดหรือวิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน
องค์ประกอบ
การเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน กระบวนการ และ ผลผลิต
ตัวป้อน ได้แก่ ครู หรือ ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์
กระบวนการ ได้แก่ การดำเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ
ผลผลิต ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่เกิดแก่ผู้เรียน ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนด
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการเรียนรู้ เเละหลักการสอน
หลักการเรียนรู้
กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือพิษยาต่าง ๆ หรืออุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
ผู้สอนเข้าใจหลักการเรียนรู้ก็จะจัดการสอนให้สอดคล้องสัมพันธ์กันได้การสอนที่คานึงถึงหลักจิตวิทยาในการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สะดวกง่ายดายขึ้น และเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียน
หลักการสอน
การสอน เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามความหมายของการศึกษา คือ การส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาและพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม การสอนมีความ หมายที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปรัชญาหรือจุดมุ่งหมายที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน