Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำ และการไหลเวียนเลือด - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำ
และการไหลเวียนเลือด
ภาวะบวมน้ำ
EDEMA
ภาวะที่มีการสะสมของน้ำหรือของเหลว (Fluid) การบวมน้ำหรือการสะสมของเหลวนี้บ่งบอกถึงความผิดปกติของการควบคุมน้ำหรือของเหลว
การจำแนกน้ำหรือของเหลว ได้ 2 ประเภท
1.Transudate เป็นของแบบใส มีโปรตีนในเลือดต่ำ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
2.Exudate ของเหลว ที่มีโปรตีนสูง มีกลิ่นเหม็น
สาเหตุ
Hydrostatic pressure ในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
สตรีมีครรภ์ ขาบวมจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่กดทับ
ผู้ป่วย Congestive heart failure
Oncotic pressure ในหลอดเลือดลดลง
1.ผู้ป่วยโรคไตเสียโปรตีนกับปัสสาวะ
Lymphatic obstruction
พยาธิ filaria จะมี fibrosis ที่หลอดน้ำเหลืองทำให้การระบายสารน้ำกลับทางหลอดน้ำเหลืองไม่สะดวก
เลือดคั่ง HYPEREMIA
และ CONGESTION
ภาวะที่มีเลือดปริมาณมากกว่าปกติคั่งค้างในหลอดเลือด intravascular ของเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆของร่างกาย
เลือดคั่ง HYPEREMIA
Active hyperemia บางครั้งเรียกว่า hyperemia เป็นภาวะที่มีเลือดมาคั่งในหลอดเลือดแดง (artery circulation) มากกว่าปกติ เนื่องจากมีการขยายตัวของหลอดเลือดแดง
มักเกิดในรายที่มีการอักเสบ จำทำให้บริเวณดังกล่าวมีปริมาณเลือดเพิ่มมากขึ้นแล้วเกิดความร้อน และการบวมแดง
เลือดคั่ง CONGESTION
Passive hyperemia นิยมเรียกว่า Congestion
เป็นภาวะที่มีเลือดดำคั่งในหลอดเลือด (venous circulation)
เนื่องจากมีการขัดขวางการไหลเวียนกลับ ของเลือดดำทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านหลอดเลือดได้ตามปกติ
เลือดที่คั่งเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนน้อย ทำให้บริเวณที่เกิดเลือดคั่งแบบนี้มองเห็นเป็นสีเขียวคล้ำ หรือออกม่วง
เรียกว่า cyanosis
เลือดออก HEMORRHAGE
ภาวะที่มีเลือดออกมาจากหลอดเลือดเนื่องจากหลอดเลือดได้รับอันตรายฉีกขาดโดยตรง
ECCHYMOTIC HEMORRHAGE
ปื้นเลือด หรือแต้มเลือดขนาดโตในเนื้อเยื่อ
PURPURA HEMORRHAGE
เป็นจ้ำเลือดขนาดโตในเนื้อเยื่อ ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร มักเกิดร่วมกับความผิดปกติของเกล็ดเลือด
PETECHIAL HEMORRHAGE
เป็นจุดเลือดออกขนาดเล็กในชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุ
สาเหตุเนื่องจากมีความผิดปกติของผนังหลอดเลือด
สาเหตุการเกิดเลือดออก หรือจุดเลือดออก หรือตกเลือด
1.ผนังหลอดเลือดได้รับอันตรายฉีกขาดโดยตรงจากของมีคม
2.ผนังหลอดเลือดได้รับอันตรายโดยตรงจากเชื้อโรคที่ทำลายผนังหลอดเลือด หรือเกิดจากการเสื่อมสภาพ
3.หลอดเลือดได้รับอันตรายจากผลการอักเสบหรือเนื้องอก
4.ความผิดปกติของขบวนการการแข็งตัวของเลือด เช่น การขาดเกล็ดเลือด
อาการเลือดออก แบ่งเป็น 2 ประเภท
External hemorrhage เป็นอาการเลือดออกที่เห็นเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย เช่น บาดเเผลที่ผิวหนังเลือดกำเดา
Internal hemorrhage เป็นอาการเลือดออกที่ไม่เห็นเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย เช่น เลือดออก
ในสมอง (เส้นเลือดในสมองแตก)
SHOCK
ANAPHYLACTIC SHOCK
เกิดจากการแพ้สารหรือยาต่างๆ โดยเมื่อร่างกายได้รับสารดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นสารกระตุ้น (antigen) จะกระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกัน (antibody) ต่อสารนั้นขึ้นมา
ภาวะที่มีความผิดปกติทางสรีรวิทยา ทำให้เกิดความไม่สมดุลของปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในหลอดเลือดกับขนาดของหลอดเลือด
ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดล้มเหลว เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ลดลง ออกซิเจนไม่เพียงพอเลี้ยงเนื้อเยื่อนำไปสู่การตายได้ในที่สุด
แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.Hypovolemic shock ภาวะ shock จากปริมาณไหลเวียนลดลงเป็นภาวะ shock ที่พบบ่อยที่สุด
โดยมีสาเหตุดังนี้
1.External fluid loss การเสียเลือดการสูญเสียน้ำทางระบบทางเดินอาหาร (อาเจียน , ท้องเสีย)
2.Internal fluid loss
กระดูกหักภายใน อาจทำให้มีเลือดออกได้การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ อวัยวะภายในฉีกขาด
CARDIOGENIC SHOCK
พบบ่อยที่สุดคือ เกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลวจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
สาเหตุ
1.การสูบฉีดล้มเหลว (pump failure) เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อ หัวใจตาย
2.การไหลกลับของเลือดมายังหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง
(ลด Ventricular diastolic filling) ปริมาณเลือดที่เข้าสู่หัวใจในระยะคลายตัวมีผลต่อปริมาณเลือดที่สูบฉีด เช่นภาวะเกิดการบีบรัดหัวใจ (cardiac tamponade)
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลงตามมา cell ขาดออกซิเจน
VASOGENIC SHOCK
ภาวะ shock จากหลอดเลือด เป็นภาวะที่มีการขยายตัวของหลอดเลือดอย่างมากจนเกิดเลือดคั่งในหลอดเลือด
SEPTIC SHOCK
ภาวะ shock จากการติดเชื้อ เป็นภาวะที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งเกิดจากพิษ ของแบคทีเรีย
ทั้ง gram-ve และ gram+ve
รวมถึง เชื้อรา เชื้อไวรัส
มีผลต่อระบบไหลเวียน พบมากในผู้ป่วยอายุน้อย หรือสูงอายุผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร
มีผลต่อการกำซาบของร่างกายดังนี้
1.หลอดเลือดขยาย
2.กระตุ้นให้เกิดการหลั่ง tissue thromboplastin ซึ่งกระตุ้นให้เลือดเเข็งเป็นลิ่มในหลอดเลือดฝอยและหลอดเลือดขนาดเล็กทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการอุดตัน
3.กดการทำงานของหัวใจ จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะ shock จากหัวใจ
4.ทำลายเซลล์ผนังหลอดเลือดปริมาณไหลเวียนลดลง
NEUROGENIC SHOCK
เกิดจากการสูญเสียหน้าที่ของประสาทอัตโนมัติ
ซิมพาเทติก และศูนย์ควบคุมหลอดเลือด
เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นผลให้ปริมาณเลือดกลับเข้าสู่หัวใจลดลง การขนออกซิเจนไปให้เซลล์ลดลงสุดท้าย คือเซลล์ขาดออกซิเจน
สาเหตุ
1.พยาธิสภาพที่สมอง (Cerebral damage) ทำให้กระทบกระเทือนศูนย์ควบคุม medulla เช่น ได้รับบาดเจ็บที่สมอง
2.พยาธิสภาพที่ไขสันหลัง (spinal cord injury) ทำให้ศูนย์ควบคุมหลอดเลือดไม่สามารถควบคุม preganglionic vasoconstictor nerve ได้
เช่น ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง