Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะโภชนาการ และความต้องการสารอาหารของ บุคคลในภาวะเจ็บป่วย,…
การประเมินภาวะโภชนาการ และความต้องการสารอาหารของ บุคคลในภาวะเจ็บป่วย
การประเมินภาวะโภชนาการ
การประเมินโดยตรง
1.1การวัดสัดส่วนต่างๆของร่างกาย (Antropometric assessment) ได้แก่
การวัดน้ำหนักตามอายุ การวัดส่วนสูงหรือความยาวตามอายุ การเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักกับส่วนสูง การวัดเส้นรอบศีรษะ การวัดเส้นรอบวงกึ่งกลางต้นแขน การเปรียบเทียบระหว่างเส้นรอบวงอกกับเส้นรอบศีรษะ การวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง การวัดเส้นรอบอก การหาดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) ส่วนสูง (เมตร) ค่าปกติ = 18.5-24.9 kg / n
1.2 การตรวจอาการแสดงของภาวะทุพโพโภชนาการ
1.3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการก. การตรวจทางชีวเคมีข. การตรวจทางรังสีวิทยาค. การตรวจ Physical fuction
การประเมินโดยทางอ้อม
2.1 การซักประวัติ: ประวัติอาหารประวัติการเจ็บป่วย
2.2 การสำรวจอาหารที่รับประทาน (Dietary Survey) การซักถามย้อนหลังว่าผู้ป่วยรับประทานอะไรบ้างใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา Twenty-Four-Hour Recall)
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโภชนาการที่ไม่ดี
1.สาเหตุที่เกิดจากอาหารคือ สาเหตุที่เกิดจากอาหารนี้อาจมาจากนิสัยการบริโภคอาหารไม่ดีหรือมาจากปัจจัยอื่น ๆ ทางสังคมและวัฒนธรรมเช่นความยากจนมีความเชื่อผิด ๆ ในเรื่องการบริโภคอาหารการขาดความรู้
สาเหตุที่เกิดจากร่างกายคือ รับประทานอาหารครบถ้วนเพียงพอ แต่สภาพแวดล้อมและสภาพร่างกายผิดปกติ สภาพร่างกายที่ผิดปกตินี้อาจเกิดจากความผิดปกติเช่น การกลืนการย่อยการดูดซึมการขนส่งอาหารการใช้ประโยชน์การเก็บสะสมการขับถ่าย
ระยะในการเกิดภาวะโภชนาการที่ไม่ดีแบ่งออกเป็น
ระยะที่เซลล์และเนื้อเยื่อมีสารอาหารนั้นลดต่ำกว่าปกติ แต่ยังไม่แสดงอาการผิดปกติอย่างอื่นยังทำงานได้โดยไม่บกพร่องการเปลี่ยนแปลงขั้นนี้ทดสอบได้ยาก
ระยะที่ปริมาณสารอาหารในเลือดหรือปัสสาวะลดต่ำกว่าปกติขั้นที่สองนี้อาจทดสอบได้
ระยะที่การทำงานของอวัยวะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่นการขาดวิตามินบีหนึ่งนานพอสมควรระทำให้คลื่นหัวใจเปลี่ยน แต่ยังไม่แสดงอาการของโรคเหน็บชาหรือนัยน์ตามองเห็นในที่มืดได้ช้ากว่าคนปกติ
ระยะที่มีอาการแสดงซึ่งบ่งถึงโรคขาดอาหารเห็นได้ชัดเจนและอาจรุนแรงถึงเสียชีวิ
อันตรายและความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากโภชนาการไม่ดี
การได้รับพลังงานจากอาหารน้อย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเหนื่อยง่ายน้ำหนักตัวลดตัวเล็กผอมซีดไม่แข็งแรง
การได้รับพลังงานจากอาหารมาก ทำให้ร่างกายเก็บสะสมไว้ในสภาพของไขมันทำให้อ้วนและเกิดโรคได้ง่ายเช่น หัวใจเบาหวานความดันเลือดสูง
การได้รับสารอาหารบางอย่างน้อย แต่ไม่ถึงกับขาดในระยะเวลานาน ทำให้ร่างกายเจริญช้ากว่าปกติมีความบกพร่องทางร่างกายจิตใจและอารมณ์
การได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินไปหรือขาดสารอาหารบางชนิดเป็นเวลานานทำให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆเกิดความพิการได้เช่น โรคเก๊าท์จากการที่มีกรดยูริคมาก โรคเหน็บชาจากการขาดวิตามินบีหนึ่งหรือโรคเลือดจางจากการขาดเหล็ก
ลักษณะที่แสดงภาวะโภชนาการส่วนบุคคล
การเติบโตของร่างกายบุคคลควรมีน้ำหนักและส่วนสูงได้สัดส่วนกันสำหรับเด็กเกิดใหม่ควรมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัมและเมื่ออายุ 5 เดือน
โครงร่างและกล้ามเนื้อร่างกายควรเติบโตได้ขนาดไม่พิการกล้ามเนื้อแน่นมีรูปทรงดีเนื้อไม่เหลวเที่ยวหรือผิดรูปร่างกระดูกแซนขาตรงไม่มีอาการบวมตามร่างกาย
ผิวหนังและสารไขมันใต้ผิวหนัง
3.1 สี (เหล็ก) ผิวหนังควรมีสีชมพูอ่อนแจ่มใสไม่ซีดเซียว 3.2 ลักษณะ (วิตามินเอบีรวมและกรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย) ผิวหนังเกลี้ยงไม่ย่นไม่มีอุ่มพื้นจุดไม่แตกหรือหยาบแห้งมีลักษณะเรียบ
3.3 การฟกช้ำ (วิตามินซี) ไม่ซ้ำง่ายเมื่อเกิดแผลเลือดหยุดไหลง่าย
3.4 สารไขมันใต้ผิวหนัง (แคลอรี) มีพอควรไม่มากหรือน้อยเกินไป
เส้นผม (โปรตีนวิตามินเอบีรวมหรือไอโอดีน) เส้นผมเป็นมันไม่แห้งหยาบหรือแตกปลายเรียบขนาดเสมอกันตลอดเส้นผมมีสีตามธรรมชาติเช่นดำหรือสีน้ำตาล
นัยน์ตา (วิตามินเอและปีสอง) ความแจ่มใสฟื้นตาเกลี้ยงไม่มีจุตเส้นเลือดไม่พองอักเสบไม่เคืองตาหรือน้ำตาไหลง่ายมองเห็นได้เร็วในที่มืด
ริมฝีปากเยื่อริมฝีปากและเยื่อในปาก (เหล็กวิตามินบีและโปรตีน) ควรเป็นสีชมพูอ่อนไม่อักเสบเปื่อยเป็นแผลบวมหรือเป็นตุ่มไม่มีแผลที่มุมปากหรือปากนกกระจอก
ลิ้น (วิตามินบีรวม) ควรมีสีชมพูอ่อนไม่มีตุ่มหรือสากไม่บวกหรือเป็นแผลเปื่อย
เหงือก (วิตามินซี) ควรมีสีชมพูอ่อนไม่บวมเป็นแผลหนองอักเสบเลือดไม่ออกตามไรฟันง่าย
ต่อมธัยรอยต์ (ไอโอดีน) ไม่ควรบวมโตหรือไม่เป็นโรคคอพอก
ลักษณะอาการทั่วไป (วิตามินและโปรตีน) สุขภาพทั่วไปไม่ป่วยบ่อยหรือมีความต้านทานโรคต่ำไม่เป็นหวัดบ่อยอ่อนเพลียเหนื่อยง่ายและน้ำหนักลด ความอยากอาหารดีไม่เบื่ออาหารระบบทางเดินอาหารทำงานปกติ
สรุปสภาพร่างกายที่แสดงให้ทราบถึงภาวะทุพโภชนาการ
ตำแหน่งในร่างกาย/สภาพปกติ/สภาพที่แสดงถึงภาวะทุพโภชนาการ
ผม/มีความมันในตัว ไม่หลุด-ร่วงง่าย/ขาดความมันตามธรรมชาติ
ผมแห้ง กระด้างบาง และมีเป็นหย่อมๆ
ใบหน้า/มีสิวสม่ำเสมอ นุ่ม มีสีชมพู ไม่บวม/ ผิวหน้าไม่มีสี มีสีดำบริเวณแก้ม ใต้ตาเป็นก้อนนูน มีรอยแตกของผิวหนังของจมูกและปาก หน้าบวม
ตา/สะอาด มีแวว ไม่มีแผลที่มุมตา เยื่อบุมีสีชมพูและชุ่มชื้นไม่มีเส้นเลือด / เยื่อบุตาซีด แดง มุมตาสีแดง เยื่อบุตาแห้ง จุดขาวที่ตาดำ ตาดำไม่มีแวว
ฟัน/ ใส มัน ไม่มีรู ไม่ปวด/มีไม่ครบหรือขึ้นไม่ดี ผิดปกติ มีสีเทา หรือจุดดำ ริมฝีปาก/อ่อนนุ่ม ไม่แตก ไม่บวม/
-ริมฝีปากแตก บวมแดงโดยเฉพาะมุมปาก
ลิ้น/ สีแดงเข้ม ไม่บวมหรือนุ่ม/ บวม สีอมม่วง นุ่ม มีแผล มีฝ้าขาว
ฟัน/ ใส มัน ไม่มีรู ไม่ปวด/มีไม่ครบหรือขึ้นไม่ดี ผิดปกติ มีสีเทา หรือจุดดำ ฟัน/ ใส มัน ไม่มีรู ไม่ปวด/มีไม่ครบหรือขึ้นไม่ดี ผิดปกติ มีสีเทา หรือจุดดำ
ความสำคัญของโภชนบำบัด
“ แพทย์ที่ดีที่สุดในโลกก็คืออาหารความสงบเงียบและความมีอารมณ์แจ่มใสร่าเริง” เพราะโรคหลายโรครวมทั้งอุบัติเหตุ การเผาผลาญของร่างกายล้วนมีผลถึงภาวะโภชนาการการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการจะช่วยบำรุงรักษาเซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกายรวมทั้งช่วยให้โครงสร้างทำงานได้ตามปกติดังนั้นการดัดแปลงอาหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการรักษาทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยพ้นจากโรคภัยไข้และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากการบริโภคอาหารไม่เต็มที่
วัตถุประสงค์ของการให้โภชนบำบัด
เพื่อรักษาไว้หรือทำให้เกิดภาวะโภชนาการที่ดี
เพื่อแก้ไขความบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหรือป้องกันร่างกายไม่ให้ทรุดโทรมในระหว่างเจ็บป่วยหรือพักฟื้น
ช่วยให้ร่างกายทั้งหมดหรืออวัยวะบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคได้พักผ่อนหรือไม่ถูกรบกวน
เพื่อให้อาหารที่บริโภคนั้นเหมาะสมกับความสามารถของร่างกายที่จะใช้อาหารหรือสารอาหารนั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์ได้เต็มที่
เพื่อดำรงเพิ่มหรือลดน้ำหนักของบุคคลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
เพื่อแก้ไขหรือรักษาภาวะขาดสารอาหาร
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับโภชนบำบัด
สรีรวิทยา - การทำหน้าที่ของร่างกายของผู้ป่วยไม่ปกติ การให้โภชนบำบัดต้องเหมาะสมกับการทำหน้าที่ของร่างกาย เช่น การเคี้ยว การย่อย
จิตวิทยา - ในการเจ็บป่วย ผู้ป่วยจะต้องแยกกับครอบครัว ทำให้เกิดความเครียดหรือความเศร้า ผู้ป่วยจึงต้องการความช่วยเหลือในการปรับตัวเข้ากับอาหารโภชนบำบัดวัฒนธรรม - ค่านิยมและทัศนคติของผู้ป่วยเกี่ยวกับอาหารขึ้นิยู่กับวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนาทีรผู้ป่วยนับถือ
สังคม - ผู้ป่วยต้องจากบ้านมารักษาตัวที่โรงพยาบาล ชีวิตประจำวันจะเปลี่ยนไป ดังนั้นครอบครัวเเละเพื่อนควรสนับสนุนการปรับตัว
เศรษฐกิจ - เมื่อเกิดการเจ็บป่วย ผู้ป่วยจะต้องหยุดงาน มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาค่าพยาบาล ซึ่งก่อให้เกิดความวิตกกังวล
ภาวะโภชนาการ
ภาวะโภชนาการที่ดี (Good nutritional status) หมายถึง สภาพของร่างกายที่ได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการหรือมีสารอาหารครบถ้วนและมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี (Bad nutritional status) หรือภาวะทุพโภชนาการหมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายภาวะผิดปกติขึ้นภาวะโภชนาการที่ไม่ดีแบ่งเป็น
2.1 ภาวะโภชนาการ (Undernutrition) คือสภาพของร่างกายที่เกิดจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับสารอาหารไม่ครบหรือมีปริมาณต่ำกว่าที่ร่างกายต้องการทำให้เกิดโรคขึ้นเช่น โรคขาดโปรตีนขาดพลังงานหรือขาดวิตามินเกลือแร่
2.2 ภาวะโภชนาการเกิน (Overrutrition) คือสภาพของร่างกายที่ได้รับสารอาหารบางอย่างเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจนเกิดโทษแก่ร่างกายเช่นโรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคมีวิตามินเอ
กระบวนการของโภชนาการบำบัด
1.ขั้นตอนการวิเคราะห์ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย ประกอบด้วยการซักประวัติร่างกายการวัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนัก การวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง
2.ขั้นวางแผนโภชนบำบัดกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาโภชนาการของผู้ป่วยโดยการอาศัยข้อมูลการวิเคราะห์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยหายจากโรคหรืออาการของโรคมีให้กำเริบ
3.ขั้นการดำเนินการโภชนบำบัดเป็นขั้นที่วางแผนโภชนบำบัดมาดำเนินการให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่ต้องการรวมทั้งให้คำปรึกษา
4.ขั้นการประเมินผลโภชนบำบัดเพื่อดูความก้าวหน้าของผู้ป่วยประสิทธิภาพของแผนโภชนบำบัดดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามผลที่ประเมินได้
ผลกระทบของการเจ็บป่วยต่อปริมาณอาหารที่ผู้ป่วยเคยรับประทาน
1.1 ขณะที่ร่างกายไม่สบาย มีอาหารคลื่นไส้ อาเจียนมีไข้และมีความเจ็บปวดจากอาการของโรคที่เป็นอยู่หรือผลจากการใช้ยาในการรักษาโรคบางโรคและวิธีการรักษาเช่นผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งบางรายอาจจะต้องรักษาด้วยการฉายแสง
1.2 ภาวะจิตใจของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลย่อมจะมีปัญหาและความวิตกังวลในเรื่องต่าง ๆ เช่นค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว
1.3 การที่ต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ในรายที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจะต้องกินอาหารตามที่โรงพยาบาลจัดให้ซึ่งลักษณะและรสชาติของอาหารอาจจะแตกต่างจากที่เคยกิน และเวลาอาหารที่โรงพยาบาลกำหนดให้กับผู้ป่วยแต่ละมื้อก็อาจจะเร็วเกินไปซึ่งยังไม่ทันที่จะรู้สึกหิว
ผลกระทบของการเจ็บป่วยต่อการย่อยและการดูดซึมสารอาหารต่างๆ
บางโรคมีผลต่อการย่อยและการดูดซึมอาหารผู้ที่ป่วยอยู่ในภาวะการติดเชื้อโดยเฉพาะโรคติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารพบว่าการดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ลดลงเช่นผู้ที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงการย่อยและการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ เป็นไปได้ไม่ดีพบว่ามีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปกับอุจจาระที่ถ่ายออกมาผู้ป่วยจะมีผิวหนังแห้งจากการขาดน้ำน้ำหนักตัวลดลงและพบมีอาการของโรคขาดสารอาหาร
ผลกระทบของการเจ็บป่วยต่อการเผาผลาญและการใช้ประโยชน์ของสารอาหาร
หมายถึง คนที่มีความร้อนของร่างกายสูงกว่าปกติคือสูงกว่า 37 องศาเซลเซียพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญสารอาหารของร่างกายความต้องการแรงงานสำหรับการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายจะสูงขึ้นร้อยละ 13 ทุก ๆ 1 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้นหรือร้อยละ 7 ทุกๆ 1 องศาฟาเรนไฮต์ที่เพิ่มขึ้นดังนั้นในรายที่ได้อาหารไม่เพียงพอจะมีผลกระทบต่อสารอาหารต่างๆเหล่านี้คือ
ปริมาณไกโคลเจน (glycogn) ที่สะสมจะลดลงจากการถูกนำมาใช้
มีการขาดโปรตีนเนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นใช้หรือโรคติดเชื้อพบว่ามีการขับถ่ายของสารไนโตรเจนในปัสสาวะสูง
การดัดแปลงลักษณะอาหาร
อาหารสำหรับผู้ป่วยทั้ง 2 ประเภทอาจมีความต้องการดัดแปลงลักษณะให้เหมาะแก่ความสามารถของผู้ป่วยที่จะบริโภคได้และไม่ทำให้เกิดความระคายใดแก่ผู้ป่วยดังนี้ 1. ดัดแปลงเนื้ออาหารให้มีลักษณะอ่อนนุ่มเปื่อยยุ่ยเป็นของเหลวข้นหรือเป็นน้ำใสเป็นต้น
ดัดแปลงรสชาติและควบคุมอุณหภูมิอาหารผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นอาหารรสไม่จัดไม่เผ็ดอุณหภูมิพอเหมาะไม่ร้อนจัดหรือเป็นจัด
630093 ดาหวัน โกมารัมย์