Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:<3:ความรู้พื้นฐานทางกฎหมาย :<3: - Coggle Diagram
:<3:ความรู้พื้นฐานทางกฎหมาย :<3:
กฎเกณฑ์ความประพฤติ :forbidden:
เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐถ้าไม่ปฏิบัติต้องถูกลงดทษตามกฎหมายที่บัญญัติไว้
ความหมายกฎหมาย :silhouette:
กฎที่สถาบัน หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือเกิดขึ้นจากจารีตประเพณี เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ บุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับรัฐ.
ลักษณะของกฎหมาย :!:
การใช้ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ออกมาเพื่อบังคับใช้กับประชาชน ภายในรัฐนั้นๆ จะต้องมีลักษณะสำคัญโดยเฉพาะ นั่นก็คือ เป็นกฎหมายที่ออกมาจากผู้มีอำนาจในรัฐ สามารถใช้บังคับกับบุคคลโดยทั่วไปไม่มีข้อยกเว้น ทุกคนต้องปฎิบัติตาม หากฝ่าฝืนย่อมได้รับโทษ
1.กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์
2.เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
3.เป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไปจนกว่าจะยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
4.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
5.กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ประเภทกฎหมาย :pencil2:
รัฐธรรมนูญ
กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้
กฎหมายปกครอง
กำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารราชการ
กฎหมายอาญา
กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด
กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายวิธีสบัญญัติ ที่บัญญัติถึงศาลและผู้พิพากษา ซึ่งเป็นสถาบันหลักที่ใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างประชาชนและ พลเมือง
กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดวิธีการดำเนินคดีทางอาญาต่อผู้ต้องหา
กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีการดำเนินคดี ในทางแพ่ง
ระบบกฎหมาย :recycle:
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี
เป็นระบบกฎหมายที่เกิดขึ้นมาจากคำพิพากษาของศาล กล่าวคือ เมื่อศาลหนึ่งได้พิพากษาคดีหนึ่งแล้ว ค าพิพากษาของศาลไม่ใช่เป็นกฎหมายอันมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีนั้นเท่านั้น แต่ยังมีผลผูกพันถึงศาลอื่นที่จะต้องด าเนินหรือพิพากษาตามในคดีที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เกิดขึ้นในภายหน้าด้วย
ระบบประมวลกฎหมาย
คือ การรวบรวมกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ตราขึ้นใช้บังคับ มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน คล้ายกันหรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มีจำนวนหลายฉบับ จึงได้รวบรวมกฎหมายเหล่านึ้ มาจัดเป็นหมวดหมู่ เป็นเรื่องเดียวกัน มีข้อความหรือบทบัญญัติเกี่ยวเนื่องต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการนำมาศึกษา ค้นคว้า นำมาใช้นำมาปรับปรุงแก้ไข
ลำดับศักดิ์กฎหมาย :silhouettes:
พระราชกำหนด
เป็นกฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี
พระราชกฤษฎีกา
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.
พระราชบัญญัติ
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา.
กฎกระทรวง
บทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ อย่างประมวลกฎหมายพระราชกำหนด
ที่มากฎหมายไทย :star:
มาจากจารีตประเพณี ศาสนา รวมไปถึงพระราชโองการของพระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชศาสตร์” ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยหลักใน “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์”
การตีความกฎหมาย :red_flag:
การค้นหาหรืออธิบายความหมาย ของถ้อยคำที่ปรากฏในตัวบทกฎหมาย โดยอาศัยการใช้เหตุผล และสามัญสำนึกให้มีความหมายที่ชัดเจนขึ้น เพื่อที่จะนำกฎหมายนั้นไปใช้บังคับ แก่กรณีที่มีปัญหาได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม
กฎหมายอาญา :checkered_flag:
กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดนั้นมี 5 ข้อ ได้แก่ ริบทรัพย์สิน ปรับ กักขัง จำคุก และประหารชีวิต.
กฎหมายแพ่ง :lock:
กฎหมายเอกชนที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคล เกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายตั้งแต่เกิดจนตาย เช่นกฎหมายเกี่ยวกับ ทรัพย์ นิติกรรม สัญญาหนี้ ครอบครัว มรดก.