Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบต่อมไร้ท่อ, ต่อมไทรอยต์, หน้าที่, อ้างอิงhttps://www.pobpad.com/,…
ระบบต่อมไร้ท่อ
เบาหวาน
อาการ โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์
ปัจจัยการเกิดโรครคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
นอกจากโรคเบาหวานทั้ง 3 ประเภทแล้วยังมีโรคเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อยอย่างโรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) อีกทั้งยังมีโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคชนิดอื่นอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ด้วย
การรักษา
การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1
สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานขึ้นที่เท้า แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ป้องกันแผล เช่น รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เฝือก หรือผ้าพันแผล เป็นต้น หากแผลเริ่มมีลักษณะรุนแรงขึ้น แพทย์อาจวางแผนการรักษาตามเหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแผลเบาหวานที่เป็น ทั้งนี้ หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อป้องกันอาการลุกลาม
ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) คือ ก้อนเนื้อเยื่อรูปสามเหลี่ยมบริเวณด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ได้แก่
เนื้อเยื่อชั้นใน (Adrenal Medulla) อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ที่ควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองจากสิ่งเร้าภายนอก โดยทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ อะดรีนาลีน (Adrenalin/Epinephrine Hormone) และนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenlin/Norepinephrine Hormone) ซึ่งกระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
-
-
-
เนื้อเยื่อชั้นนอก (Adrenal Cortex) เจริญมาจากเซลล์มีเซนไคมาส (Mesenchymas) ในชั้นมีโซเดิร์ม (Mesoderm) ของตัวอ่อน ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid) คือ ต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่บริเวณด้านหน้าของลำคอใกล้กับหลอดลม ทำหน้าที่สร้าง “ไทร็อกซิน” (Thyroxin) ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท ควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปร่าง เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่
ต่อมไพเนียล (Pineal Grand) คือ ต่อมไร้ท่อขนาดเล็กที่ผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของต่อมเพศก่อนวัยหนุ่มสาว ควบคุมการนอนหลับ และกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาชีวิตของร่างกาย
ต่อมไทมัส (Thymus Grand) คือ ต่อมไร้ท่อด้านหน้าทรวงอกที่ผลิตสารไทโมซิน (Thymosin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยเป็นต่อมที่เจริญเต็มที่ตั้งแต่อยู่ในวัยทารกจนถึงอายุราว 6 ปี ก่อนจะเสื่อมสภาพ และฝ่อไปในท้ายที่สุด
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid) คือ ต่อมไร้ท่อขนาดเล็กฝังอยู่ด้านหลังเนื้อเยื่อไทรอยด์ ทำหน้าที่ผลิต “พาราทอร์โมน” (Parathormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการสร้างกระดูกและควบคุมสมดุลหรือการสลายแคลเซียมในอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะในกระดูกและฟัน
ต่อมไทรอยต์
-
-
-
-
4.โรคต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ( Thyroid nodule)
คือการที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น แต่การสร้างฮอร์โมนยังปกติ มีทั้งชนิด ต่อมไทรอยด์โตก้อนเดียว(Single thyroid nodule) และ ต่อมไทรอยด์โตหลายก้อน(Multinodular goiter) โดยทั้งสองชนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องตรวจด้วยวิธีการดูดเซลล์จากก้อนเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง หลังจากนั้นจึงพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
6.โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ปรากฏอาการมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ทำงานน้อยเกินไป(Subclinical hypothyroidism) และชนิดที่ทำงานมากเกินไป(Subclinical hyperthyroidism) โดยที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติให้เห็น การวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจเลือดเท่านั้น ซึ่งมักพบเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี
การรักษา
ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทุกราย แต่แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเป็นรายๆไป และมีความจำเป็นต้องตรวจติดตามระดับฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ที่รับการรักษาและไม่ได้รับการรักษา
หน้าที่
-
ต่อมไอส์เลตส์ของตับอ่อน (Islets of Langerhans) คือ กลุ่มเซลล์ขนาดเล็ก (ราวร้อยละ 3) ในตับอ่อน (Pancreas) ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ อินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
-
-
-
-
-
-
-