Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติทางเพศ (Sexual disorders), นางสาววิภาดา ชื่นใจ เลขที่ 37 รหัส…
ความผิดปกติทางเพศ (Sexual disorders)
paraphilic disorders
นิยาม
หมายถึง ภาวะที่บุคคลเกิดอารมณ์ทางเพศด้วยสิ่งเร้าอื่นๆมากกว่าการกระตุ้นด้วยอวัยวะเพศหรือการเล้าโลมจากบุคคลที่ยินยอมหรือเป็นผู้ใหญ่ หรืออาจเรียกว่า กามวิปริต
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีววิทยา
เชื่อว่าอาจสัมพันธ์กับการที่สมองส่วน frontal หรือ temporal lobe ถูกทำลาย รวมไปถึงอาจเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทในกลุ่ม monoamine เช่น dopamine, norepinephrine และ serotonin
ปัจจัยด้านจิตสังคม
ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์เชื่อว่าเกิดขึ้นจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถมีพัฒนาการทางจิตใจในเรื่องเพศที่สมบูรณ์ได้ ทำให้มีการถดถอยไปสู่พัฒนาการของจิตใจในช่วงแรกของชีวิต
การจำแนกกลุ่ม
Anomalous activity preferences
courtship disorders ลักษณะของกิจกรรมเป็นไปในรูปแบบของการเกี้ยวพาราสี ได้แก่ voyeuristic disorder, exhibitionistic disorder และ frotteuristic disorder
algolagnic disorders ลักษณะของกิจกรรมเป็นไปในรูปแบบของการทำให้เกิดหรือได้รับความเจ็บปวด ได้แก่ sexual masochism disorder และ sexual sadism disorder
Anomalous target preferences
ความผิดปกติเกิดขึ้นที่ลักษณะของเป้าหมายที่มีกิจกรรมทางเพศด้วย ได้แก่ pedophilic disorder, fetishistic disorder และ transvestic disorder
การรักษา
การรักษาด้วยจิตบำบัด
ได้แก่ การทำจิตบำบัดแบบ cognitive behavioral therapy เพื่อหยุดความคิดและพฤติกรรมเดิม และปรับให้เกิดพฤติกรรมใหม่ที่สังคมยอมรับได้
การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด
b. Covert sensitization
ให้ผู้ป่วยจินตนาการถึง paraphilia ที่ชอบ แล้วตามด้วยจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เป็นผลเสียอย่างร้ายแรงที่ผู้ป่วยกลัวในทันที เพื่อทำให้ความกังวลเกิดขึ้น เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ที่ชอบในครั้งต่อไป
c. Masturbatory satiation
ให้ผู้ป่วยสำเร็จความใคร่โดยใช้จินตนาการถึง paraphilia ที่ชอบ เมื่อถึงจุดสุดยอดแล้ว ให้ทำซ้ำโดยใช้จินตนาการนี้ต่อไปอีก 1 ชั่วโมงโดยทันที จนทำให้ไม่มีความสุขเมื่อถึงจุดสุดยอดด้วยจินตนาการนี้
a. Olfactory aversion conditioning
ให้ผู้ป่วยจินตนาการถึง paraphilia ที่ชอบ แล้วให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นเหม็น เช่น แอมโมเนีย
d. Orgasmic reconditioning
ให้ผู้ป่วยสำเร็จความใคร่โดยใช้จินตนาการถึง paraphilia ที่ชอบ เมื่อใกล้ถึงจุดสุดยอดทุกครั้ง ให้เปลี่ยนไปมองสิ่งเร้าที่เหมาะสมจนถึงจุดสุดยอด ต่อมาให้จินตนาการถึงสิ่งเร้าที่เหมาะสมก่อนถึงจุดสุดยอดให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ จนไม่มีจินตนาการถึง paraphilia นั้นอีกเลย
การรักษาด้วยยา
อาจพิจารณาใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (antiandrogens) หรือที่เรียกกันว่า การตอนทางเคมี (chemical castration) เพื่อลดระดับฮอร์โมน testosterone ในเลือด ซึ่งช่วยลดแรงขับทางเพศ อันนำไปสู่การลดพฤติกรรมทางเพศลง เช่น cyproterone acetate และ medroxyprogesterone acetate
Sexual dysfunctions
นิยาม
Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, 5th Edition (DSM-5) หมายถึง กลุ่มโรคที่มีความบกพร่องในการตอบสนองทางเพศหรือการมีความสุขทางเพศ
International Classification of Diseases and Related Health Problem (ICD-10) ยังหมายถึง การที่บุคคลไม่สามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศได้ตามที่ตนคาดหวังไว้ อันเป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านจิตใจ สรีรวิทยา หรือทั้งสองปัจจัยร่วมกัน
การรักษา
หลักการรักษาเบื้องต้น
ใช้การเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อลดความวิตกกังวลขณะมีกิจกรรมทางเพศ เช่น การเปิดเพลงประกอบ
เพิ่มการกระตุ้นทางเพศ เช่น ใช้สื่อช่วยกระตุ้น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัยช่วย
แนะนำให้พูดคุยสื่อสารกันในขณะมีกิจกรรมทางเพศ
ให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องและแก้ไขความเชื่อที่ผิดในเรื่องเพศ
การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยามีประโยชน์ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็น male erectile disorder โดยนิยมใช้ยาในกลุ่ม phosphodiesterase-5 inhibitors ซึ่งออกฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังองคชาต เพื่อทำให้เกิดการแข็งตัว ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ sildenafil, vardenafil และ tadalafil
พฤติกรรมบำบัด
systematic desensitization คือ การให้ผู้ป่วยค่อยๆเผชิญกับสิ่งที่กลัวจากน้อยไปจนถึงมาก จนผู้ป่วยเลิกกลัว
assertiveness training เพื่อช่วยฝึกให้ผู้ป่วยบอกความต้องการเรื่องเพศอย่างเหมาะสมและสามารถปฏิเสธได้เมื่อไม่ต้องการ
Specific techniques and exercises
Gender dysphoria
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
บทบาททางเพศ (gender role) หมายถึง ความเข้าใจของสังคมเกี่ยวกับสิ่งที่บุคคลรู้สึก คิด พูดหรือกระทำ ว่าบุคคลนั้นเป็นหญิงหรือชาย กล่าวคือ เป็นวิธีการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศนั่นเอง
การแสดงออกทางเพศ (gender expression) หมายถึง สิ่งที่บุคคลแสดงออกเพื่อบอกว่าตนเป็นชายหรือหญิง เช่น การแต่งกาย ท่าทางการพูด
อัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity) หมายถึง ความรู้สึกว่าตนเองเป็นชายหรือหญิง หรือเพศอื่นๆ โดยอาจสอดคล้องกับเพศตอนแรกเกิดหรือไม่ก็ได้ และส่วนใหญ่มักเกิดตั้งแต่อายุ 2-3 ปี
สนิยมทางเพศ เพศวิถี (sexual orientation) หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์หรือความสนใจทางเพศต่อบุคคลหนึ่ง ซึ่งบุคคลนั้นอาจเป็นเพศเดียวกัน (homosexuality) เพศตรงกันข้าม (heterosexuality) ทั้งสองเพศ (bisexuality) หรือไม่ฝักใจทางเพศ (asexuality) ก็ได้
การกำหนดเพศ (gender assignment) หมายถึง การกำหนดเพศสภาพหรือเพศทางสังคมในตอนแรกเกิด
คนข้ามเพศ (transgender) หมายถึง การที่บุคคลมีเพศสภาพต่างจากเพศโดยกำเนิด
เพศสภาพ เพศทางสังคม (gender) หมายถึง ความเป็นชายหรือหญิงที่มาจากความรู้สึกส่วนตัว ซึ่งได้รับผลมาจากปัจจัยทางสังคม ดังนั้นอาจไม่จำเป็นต้องตรงกับเพศทางชีววิทยา และอาจเปลี่ยนแปลงได้
ความทุกข์ใจในเพศสภาพ (gender dysphoria) หมายถึง ความทุกข์ทรมานใจจากการที่บุคคลมีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศโดยกำเนิดของตน
เพศ (sex) หมายถึง ความเป็นเพศชายหรือเพศหญิงทางชีววิทยา โดยอาจพิจารณาได้จากโครโมโซมเพศ ต่อมเพศ อวัยวะสืบพันธุ์ภายในหรือภายนอก
การรักษา
ในวัยรุ่น
ใช้ยาในกลุ่ม puberty-blocking ซึ่งได้แก่ gonadotropin-releasing hormone (GnRH) agonist เพื่อหยุดการหลั่งฮอร์โมนที่จะนำไปสู่การเกิด secondary sex characteristics ชั่วคราว
ในวัยผู้ใหญ่
ให้การรักษาเบื้องต้นทางจิตใจและสังคม เช่น ส่งเสริมพัฒนาการทางเพศตามปกติ ทดลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามเพศของตน ระหว่างนี้ผู้ป่วยจะได้รับฮอร์โมนเพศไปด้วยจากอายุรแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อ
ในเด็ก
หลักการรักษาที่สำคัญ คือ ช่วยให้เด็กสามารถค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริงของตน โดยอาศัยความร่วมมือจากจากตัวของเด็กเอง ครอบครัว โรงเรียน และทีมผู้รักษาพยาบาล
นางสาววิภาดา ชื่นใจ เลขที่ 37 รหัส 621001402174