Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 สตรีตั้งครรภ์ G3P2-0-0-2 last 2 ปี GA 38 สัปดาห์ - Coggle…
กรณีศึกษาที่ 2 สตรีตั้งครรภ์ G3P2-0-0-2 last 2 ปี GA 38 สัปดาห์
ผู้ป่วยรายนี้มีภาวะสายสะดือพลัดต่ำ หรือภาวะสายสะดือย้อย (prolapsed cord) และทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Fetal distress เนื่องจากเกิดการกดทับของสายสะดือจากภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
สาเหตุหรือปัจจัย
Malpresentation หรือ Malposition พบบ่อยในเด็กท่าขวาง (Transverse lie, Shoulder presentation) เด็กท่าก้นชนิด Footling breech presentation แต่พบน้อยในเด็กท่าก้นชนิด Frank breech presentation
Prematurity ทำให้ไม่พอดีกับช่องทางคลอด
Twins Pregnancy เกิดจากส่วนนำไม่พอดีกับโพรงมดลูกส่วนล่าง หรือถุงน้ำแตกก่อนกำหนด
Polyhydramnios มีปริมาณน้ำคร่ำมากเกินไป จนส่วนนำไม่พอดีกับโพรงมดลูกส่วนล่าง
Long cord สายสะดือยาวกว่าปกติ (> 75 cms.) ถ้า < 35 cms. ไม่มีโอกาสเกิด
Placenta previa marginalist หรือ Low insertion of placenta ร่วมกับการมี Marginal insertion of the Cord (Battledore placenta) ทำให้สายสะดืออยู่ใกล้กับปากมดลูก
Head float เมื่อถุงน้ำทูนหัวแตกหรือเจาะถุงน้ำทูนหัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นครรภ์หลัง
Operative obstetric สูติศาสตร์หัตถการต่าง ๆ เช่น การหมุนเปลี่ยนท่าเด็ก
Contracted pelvis ทำให้ศีรษะเด็กไม่สามารถผ่านลงในช่องเชิงกรานได้ Cephalopelvic disproportion หรือเด็กตัวโตกว่าปกติ
อาการและอาการแสดง
เสียงหัวใจทารกเปลี่ยนไปเนื่องจากการขาดออกซิเจน หัวใจทารกเต้นช้าลง มักพบในรายที่เป็น Occult prolapsed of cord หรือ Fore lying Cord
เสียงหัวใจทารกเปลี่ยนทันทีภายหลังถุงน้ำคร่ำแตก พบในราย Occult prolapsed of cord หรือ
Fore lying Cord
ถ้าสายสะดือพลัดต่ำชนิด Occult prolapsed of cord และตรวจไม่พบส่วนของสายสะดือโผล่ออกมาหรือคลําไม่พบจากการตรวจทางช่องคลอด แต่จะพบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ(variable deceleration) หรืออัตราการเต้นของหัวใจทารกลดลง (Bradycardia) โดยอ่านจากเครื่อง Monitor ซึ่งแสดงว่าสายสะดือถูกกด
กรณีที่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก หรือในราย Fore lying insertion of the umbilical cord อาจพบว่า
เสียงหัวใจทารกเต้นช้าลง เมื่อมดลูกหดรัดตัว แล้วกลับขึ้นเป็นปกติเมื่อมดลูกคลายตัว
กรณีที่ถุงน้ำคร่ำแตก เกิด prolapsed cord คลำได้สายสะดือชัดเจน หรือมองเห็นถ้าสาย
สะดือโผล่ออกมานอกช่องคลอด
เสียงหัวใจทารกในครรภ์เปลี่ยนทันที ในระหว่างดึงศีรษะเด็กด้วยคีม มักพบในราย Occult prolapsed of cord
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 1 ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Fetal distress เนื่องจากเกิดการกดทับของสายสะดือจากภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน
S : None
O : - ผู้คลอด G3P2-0-0-2 last 2 ปี GA 38 สัปดาห์ - Induction of labour ด้วย 5% D/NSS/2 1000 cc + syntocin on 10 unit IV drip 3-30 drop/min ปรับตามหดรัดตัวของมดลูกปรับ syntocin on 40 cc/hr - UC D=50” I=2’ intensity strong FHS 120 ครั้ง/นาที -แพทย์ Set ARM พบ Amniotic fluid thick meconium - คลําพบลักษณะของหลอดเลือดเต้นที่ปลายนิ้วมืออัตราการเต้นเท่ากับ FHS
กิจกรรมการพยาบาล
2.1 หากตรวจทางช่องคลอดพบภาวะสายสะดือพลัดต่ำ ให้ลดการกดของสายสะดือและดูแลให้
สิ้นสุดการตั้งครรภ์อย่างรีบด่วน
ใช้มือข้างที่ตรวจภายในดันศีรษะทารกขึ้น เพื่อลดการกดบนสายสะดือ และดันศีรษะทารกตลอดเวลาที่เตรียมการผ่าตัด เมื่อมีการคลอดสิ้นสุดจึงถอนมือออกมา
หลีกเลี่ยงการจับ คลํา กระตุ้นหรือผลักให้สายสะดือกลับเข้าไปในช่องคลอด เพราะการคลําหรือจับจะกระตุ้นทําให้สายสะดือหดรัดตัว (spasm) ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงทารกได้
ยกปลายเตียงให้สูงขึ้น หรือปรับท่าของผู้คลอดให้อยู่ในท่าที่ก้นสูงกว่าไหล่ เช่น นอนหงาย ยกก้นสูง (Trendelenburg’s position) นอนตะแคงยกก้นสูง (Elevated Sim’s position) นอนในท่าโก้งโค้ง (Knee chest position) ในกรณีที่ต้องการเคลื่อนย้ายผู้คลอดเพื่อส่งต่อในระยะไกลๆ เพื่อรักษาต่อควรให้นอน ในท่า Elevated Sim’s position ซึ่งท่าต่างๆ ที่ช่วยลดการกดของส่วนนําต่อสายสะดือ
5 ถ้าสายสะดือมีแนวโน้มจะโผล่ออกมานอกช่องคลอดควรพยายามให้อยู่ในช่องคลอด หากสายสะดือยื่นออกมานอกหนทางคลอดใช้ผ้าก๊อซชุบ NSS อุ่นห่อไว้ลด vasospasm ได้
2 ลดการกดดัน (Decompression) โดยการสอดมือเข้าไปในช่องคลอดและดันส่วนนําไว้ไม่ให้เคลื่อนต่ำลงมากดสายสะดือ ห้ามกด ห้ามดันหรือผลักสายสะดือเข้าไปในโพรงมดลูกเพราะจะทําให้เกิดอันตรายต่อมารกมากขึ้นจากการหดเกร็งของเส้นเลือดของสายสะดือ
3 ให้ออกซิเจนเพื่อให้ระดับออกซิเจนมารดาสูงขึ้น จะทําให้ทารกได้รับออกซิเจนมากขึ้น เพื่อลดภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนประมาณ 10-12 ลิตร/นาที จนการคลอดสิ้นสุด
4 เตรียมการช่วยเหลือการคลอดแบบฉุกเฉิน ถ้าทารกยังมีชีวิตอยู่และปากมดลูกเปิดไม่หมดให้เตรียมผ่าตัดฉุกเฉิน แต่ถ้าปากมดลูกเปิดหมดให้ใช้สูติศาสตร์หัตถกการ เช่น คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด
6 ทําให้กระเพาะปัสสาวะเต็มโดยการใส่น้ำเกลือ 500 - 700 มิลลิลิตรทางสายสวนปัสสาวะเพราะเชื่อว่ากระเพาะปัสสาวะจะช่วยดันส่วนนําของทารก และลดความรุนแรงจากการหดรัดตัวของมดลูกเรียกว่า bladder filling
7 ถ้าผู้คลอดได้รับยาส่งเสริมการหดรัดตัวของมดลูก ให้หยุดการให้สารละลายออกซิโตซิน
8 ดูแลภาวะจิตใจของผู้คลอด โดยอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และกิจกรรมที่ได้ให้กับผู้คลอด ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย รวมทั้งทําความเข้าใจกับสมาชิกในครอบครัว
9 กรณีที่ทารกในครรภ์เสียชีวิต อธิบายให้ผู้คลอดและครอบครัวเข้าใจ ดูแลการคลอดให้เป็นไปตามปกติ ยกเว้นการประเมินเสียงหัวใจทารก ถ้าคลอดล่าช้าควรดูแลให้ผู้คลอดได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก