Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนางานพยาบาลเพื่อสร้างเสริม สุขภาพบุคคล ครอบครัว และชุมชน - Coggle…
การพัฒนางานพยาบาลเพื่อสร้างเสริม
สุขภาพบุคคล ครอบครัว และชุมชน
การพัฒนา นวัตกรรมบริการสุขภาพและการดูแลต่อเนื่อง
ความหมายของนวัตกรรม
การบริการสุขภาพ
นวัตกรรมการบริการสุขภาพ (health service innovation) หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ ที่เป็นแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการ พัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในการบริการสุขภาพให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มทุนสำหรับการใช้การบริการสุขภาพ
ประเภทของนวัตกรรม บริการสุขภาพ
นวัตกรรมกระบวนการ (process innovation) คือ นวัตกรรมที่เป็นการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนงาน
นวัตกรรมผลผลิต (product innovation) คือ นวัตกรรมที่เป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แต่เดิมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นหรือ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในระบบการบริการสุขภาพ เช่น ยารักษาโรค วัคซีน เวชภัณฑ์
นวัตกรรมการบริการ (service model innovation) คือ นวัตกรรมที่พัฒนาระบบการบริการสุขภาพให้มีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว
นüัตกรรมการพยาบาล
คือ การสรุปความรู้และวิธีการบนฐานของความรู้ เพื่อสร้างและพัฒนา ให้เกิดสิ่งใหม่ในกระบวนการดูแลประชาชนให้มีความแตกต่างจากเดิม และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการ
รูปแบบการบริการแบบใหม่ เป็นรูปแบบบริการทางสุขภาพที่เป็นสิ่งใหม่และได้มาตรฐานที่ใช้งานได้จริงมีความคุ้มทุน ประหยัดและ ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีผลลัพธ์ที่ดี
รูปแบบการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์ก่อนและหลังการ พัฒนานวัตกรรมใหม่
การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยในการให้บริการสุขภาพ
ความคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการสุขภาพ
กิจกรรมการบริการเดิมที่มีอยู่แล้วและนํามาพัฒนาต่อยอดจากของเดิม
ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม บริการสุขภาพ
การพัฒนานวัตกรรมบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและประสบความสําเร็จใน การดําเนินการทําโดยการบูรณาการ องค์ความรู้ของระเบียบวิจัยทางการ พยาบาลร่วมกับการดําเนินการวิจัยขณะปฏิบัติงานประจํา
วิเคราะห์ความต้องการใช้นวัตกรรมบริการสุขภาพของ กลุ่มเป้าหมาย (need analysis) 2. กําหนดชื่อเรื่องนวัตกรรมหรือประเด็นหรือหัวข้อที่ต้องการพัฒนา 3. ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) 4. สังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมที่มีคุณภาพ 5. ออกแบบนวัตกรรมบริการสุขภาพเพื่อพัฒนางานด้านการปฏิบัติพยาบาล 6. สร้างเครื่องมือวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนวัตกรรม บริการสุขภาพ 7. สร้างคู่มือวิธีการใช้นวัตกรรมบริการสุขภาพในการทดลองให้ผู้ที่นําไปทดลองใช้ 8. ทดลองใช้นวัตกรรมบริการสุขภาพกับกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้ ตั้งแต่ตอนต้น 9. วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนวัตกรรมบริการสสุขภาพทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบและผลลัพธ์ 10. เขียนรายงานสรุปผลการใช้นวัตกรรมบริการสุขภาพ
บทบาทของพยาบาลกับนวัตกรรมบริการสุขภาพ
บทบาทด้านการบริการนวัตกรรมบริการสุขภาพ
บทบาทด้านการเป็นผู้ใช้นวัตกรรมบริการสุขภาพ
บทบาทด้านการประเมินผลการใช้นวัตกรรมบริการสุขภาพ
ประโยชน์ของการพัฒนานวัตกรรม
บริการสุขภาพ
กลุ่มเป้าหมายและผู้ใช้บริการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยใช้นวัตกรรมบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอันจะส่งผ ลให้ผู้ใช้บริการมีสุขภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่องลดความทุกข์ทรมาน และภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่มีความจําเป็น คุ้มค่า คุ้มทุน
แนวทางการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมบริการในพยาบาล
1) ควรมีการตีพิมพ์ เผยแพร่ผลงาน นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อประโยชน์ในการนํานวัตกรรมไปประยุกต์ใช้
2) ควรมีการประเมินผล เพื่อการต่อยอดนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพหรือเพื่อการทบทวนในการพัฒนาต่อไป
3) ควรจัดทําเป็นฐานข้อมูลนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อเป็น สื่อในการเรียนรู้และสามารถใช้ในการอ้างอิง
4) ควรมีการสนับสนุนส่งเสริม พยาบาลให้มีการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพครอบคลุมยุทธศาสตร์ต่างๆ