Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎี/แนวคิด การจัดการเรียนรู้ ทางการศึกษาปฐมวัย, 64866204 นางสาวพัชรินทร์…
ทฤษฎี/แนวคิด การจัดการเรียนรู้ ทางการศึกษาปฐมวัย
การสอนแบบโครงการ Project Approach
มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ
ส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1
เริ่มต้นโครงการ
ร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้
กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหา และระยะเวลาในการศึกษา
ระยะที่ 2 ดำเนินการ
เรียนรู้จากวิทยากรท้องถิ่น เพื่อให้เด็กได้ทำการสืบค้น สังเกตอย่างใกล้ชิด
การออกภาคสนามหรือไปศึกษานอกสถานที่
การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สำรวจ ทดลอง
ให้โอกาสเด็กค้นคว้า และมีประสบการณ์ใหม่ด้วยการสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ระยะที่ 3 การสรุปโครงการ
นำผลที่ได้จากการดำเนินการมาแสดง ผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การเล่านิทาน การแสดง หรือ การอภิปราย
สรุปผลที่ได้จากการศึกษา
เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจ
เรกจิโอ เอมิเลีย Reggio Emilia
เป็นการจัดกิจกรรมแบบโครงการที่แสดงออกทางความคิดและภาษาด้วยงานศิลปะสร้างสรรค์
ลักษณะการจัดกิจกรรม ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กเป็นหลัก
มีมุมกิจกรรมที่จะให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยใช้ทุกประสาทสัมผัสทุกส่วนไปพร้อมๆ กัน
เด็กทุกคนจะมีส่วนร่วมทางการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด เพื่อช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาในสถานการณ์
เด็กจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจอย่างลุ่มลึกจนเกิดความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว
เด็กมีความกล้าในการตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง
เด็กทุกคนได้ทำงานศิลปะแบบมีส่วนร่วม
รู้จักถึงการแบ่งงาน ช่วยกันทำงานให้จนสำเร็จ มีการพูดคุยในระหว่างการทำงาน
ช่วยให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและชื่นชมในผลงานของตนเองและผู้อื่น
กิจกรรมจะมีการยืดหยุ่นทางด้านเวลาช่วยให้เด็กมีเวลาในการคิด ทบทวน แก้ไขผลงานของตนเอง
มีต้นกำเนิดจากประเทศอิตาลี โดยลอริส มาลากุซซี่ (Loris Malaguzzi)
นีโอฮิวแมนนิส Neo-Humanist Education
ความเป็นคนที่สมบูรณ์นั้น เกิดจากศักยภาพที่สำคัญ 4 ด้าน ร่างกาย (PHYSICAL) จิตใจ (MENTAL) ความมีน้ำใจ (SPIRITUAL) วิชาการ (ACADEMIC)
กิจกรรมที่ทำในโรงเรียนนีโอฮิวแมนนิส
คลื่นสมองต่ำ ก่อนเข้าห้องเรียน เด็กๆได้ฝึกทำโยคะ นั่งสมาธิ จะช่วยให้กล้ามเนื้อและประสาทผ่อนคลาย
การประสานของเซลล์สมอง เรียนรู้จากรูปธรรมง่ายๆไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรมยากๆ แล้วจึงค่อยไปสู่นามธรรม และได้เรียนรู้การใช้จากของจริง
ภาพพจน์ของตัวเอง พฤติกรรมของครูคือบทเรียนที่ดีที่สุดของเด็ก เช่น ถ้าครูไม่กินผัก เด็กก็จะไม่กินผัก ถ้าครูพูดจาไพเราะ เด็กก็จะพูดจาไพเราะ
การให้ความรัก ถ้าความรักของเขามีเพียงค่อนแก้ว เขาย่อมเรียกร้องต้องการการแสดงออกซึ่งความรักแก่เด็กที่จะทำให้เขาได้รับความรักล้นเต็ม
จุดเริ่มของแนวคิดนี้ มาจากชาวอินเดีย P.R.Sarkar เชื่อว่าสิ่งแวดล้อมและการศึกษาในวัยต้น ๆ ของชีวิต มีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่งต่อความเฉลียวฉลาด คุณธรรม และความสุขของคนเรา
วอลดอร์ฟ Waldorf
มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
รงเรียนแนววอลดอร์ฟแห่งแรกตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
มีรากฐานมาจากมนุษยปรัชญา โดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner
บทบาทของครู 3R
1.การทำซ้ำ (Repetition) เพื่อให้เกิดมั่นคงทำกิจกรรมการเรียนการสอนและงานบ้านต่างๆอย่างสม่ำเสมอ
2.จังหวะ (Rhythm) เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยเด็ก
3.เคารพ (Reverence) ด้วยความตระหนักรู้ที่ว่า “มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” ทำให้เราอยู่ในโลกด้วยความรู้สึกกตัญญูและเคารพต่อธรรมชาติ
1.เด็กมีอิสระ พัฒนาตนเต็มศักยภาพที่ตนมี
2.เด็กมีความคิดแยบคาย สดใส มีพลังและสร้างสรรค์
การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีประโยชน์ต่อเด็ก ดังนี้
3.เด็กมีความเมตตา กล้าหาญ ใฝ่รู้ เอื้ออาทร
64866204 นางสาวพัชรินทร์ ชัยเสนา sec 01 การศึกษาปฐมวัย