Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking), article-systems-thinking-3, article…
ความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)
มีเป้าหมายจุดประสงค์ที่เฉพาะที่ชัดเจน
มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน มีระยะเวลาที่แน่นอน
เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความถูกต้อง
ช่วยป้องกันการผัดวันประกันพรุ่งและการไม่รับผิดชอบของผู้มีส่วนร่วม
ให้จุดมุ่งหมายและทิศทางสำหรับอนาคต
กระตุ้นความกระตือรือร้น (Enthusiasm) ในการดำเนินงาน
มีปฏิสัมพันธ์
เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาโดยการขยายกรอบความคิด
การทํางานที่มีแนวคิด
ตัดงานที่ไม่จำเป็นทิ้ง
ลำดับความสำคัญของงาน
สร้างแผนผังการทำงาน
มีความสัมพันธืที่เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่
Systems Thinking คือ ความคิดเชิงระบบ ที่มุ่งเน้นการมองภาพรวม มองให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะมองแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มองให้เห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะมองเฉพาะจุด
ตัวอย่างระบบที่เราสามารถมองเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ระบบร่างกาย (Body Systems) ประกอบด้วยระบบย่อย ๆ ได้แก่ ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์ ระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร
ตัวอย่างของระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ระบบรถยนต์ (Vehicle Systems) ประกอบด้วยระบบย่อย ๆ ได้แก่ ระบบเครื่องยนต์ ระบบเชื้อเพลิง ระบบเบรก ระบบระบายความร้อน ระบบช่วงล่าง
ประเภทของการคิดเชิงระบบ
การคิดเชิงระบบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การคิดระบบโดยทางตรง มุ่งกระทำโดยตรงมีเป้าหมายกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่จำแนก รูปแบบการคิดตามพื้นฐานของมนุษย์ แต่แยกรูปแบบการคิดโดยมุ่งที่เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ โดยจำแนกออกเป็น 3 แบบ
1.การคิดเพื่อรู้และเข้าใจหน่วยงาน
2.การคิดเพื่อวิเคราะห์และประเมินหน่วยของระบบ
3.การคิดเพื่อออกแบบและก่อตั้งหน่วยระบบ
การคิดระบบโดยทางอ้อม คือ การคิดเชิงระบบโดยอาศัยพื้นฐานแห่งการคิด เช่น การวิเคราะห์ การอุปมา อุปมัย การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การประเมินค่า ฯลฯ
เทคนิคการคิดเชิงระบบ
เข้าใจธรรมชาติของระบบ และทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นระบบสัมพันธ์กัน
ฝึกการมองภาพรวมแทนสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยมองย้อยกลับ
มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อระบบ
ยอมรับตนเองและเปลี่ยนใจตนเองให้ได้ว่าตนคือส่วนประกอบที่สำคัญที่เชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ
เปิดอิสระในเรื่องการคิด ไม่ตีกรอบ ครอบงำความคิดคนอื่น
มองเห็นวัฏจักรของเหตุปัจจัย (Circles of Causality ) และการส่งผลย้อนกลับ
ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนเกิดแรงร่วมในการสร้างความสัมพันธ์
ฝึกการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุแท้ โดยแก้ที่อาการที่ทำให้เกิดปัญหา
ยึดหลักการเรียนรู้ในองค์กรเป็นส่วนประกอบ คือ การเป็นนายตนเอง ลบความเชื่อฝังใจแต่อดีต สร้างความใฝ่ฝันถึงอนาคตร่วมกัน (Shared Vision ) และฝึกการเรียนรู้ของทีม
ควรเริ่มต้นใช้การคิดเชิงระบบอย่างไร? / Where Should We Start?
เมื่อเริ่มต้นกำหนดประเด็นในการคุย ให้หลีกเลี่ยงการตำหนิใด ๆ แต่เปลี่ยนความสนใจที่สิ่งที่แต่ละคนพยายามจะอธิบายและพยายามกระตุ้นให้เกิดความสงสัย, อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับปัญหาผ่านการตั้งคำถาม ในระหว่างการหารือกัน พยายามตั้งคำถามในใจว่า “มีสิ่งใดบ้างเกี่ยวกับปัญหาที่เรายังไม่รู้?
ในการตั้งกลุ่มหารือ พยายามอธิบายปัญหาใน 3 มุมมอง ทั้ง 3 ระดับ คือ เหตุการณ์ (Events), รูปแบบ (Patterns) และโครงสร้าง (Structure) ** ทำความเข้าใจเกี่ยวกับลำดับขั้นของมุมมองได้ด้านล่าง
ทำให้ทุกคนมองเห็นภาพในอดีตที่ผ่านมาเหมือนๆ กันหรือมีข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาพอๆ กัน และได้จากการชักชวนคนจากหลากหลายแผนกหรือฟังก์ชั่นการทำงานมาคุยกัน จะทำให้เห็นมุมมองที่หลากหลาย (และอาจจะประหลาดใจเมื่อได้เห็นความต่างของสิ่งที่อยู่ในใจ
ประโยชน์ของการนำความคิดเชิงระบบมาใช้ในชีวิตประจำวัน,การทำงาน
ประสานงานร่วมกับบุคคลอื่นให้เป็นไปตามกระบวนการ และระบบการบริหารงานภายใน
สามารถแก้ปัญหา ตัดสินใจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับระบบภายในองค์กร ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบโดยการ เชื่อมโยงติดต่อกัน และสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยให้เกิดความคิดเพื่อพัฒนาองค์กรในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ