Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 เครื่องมือในการบำบัด ทางการพยาบาลจิตเวช :<3:, นางสาวภาวิตา…
บทที่ 3 เครื่องมือในการบำบัด
ทางการพยาบาลจิตเวช :<3:
การตระหนักรู้ในตนเอง และการใช้ตนเองเพื่อการบําบัด
การตระหนักรู้ในตนเอง
(Self awareness)
การตระหนักรู้ในตนเอง คือ ภาวะที่เรารู้สึกตัว มีสติในการรับรู้ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของ
ตัวเอง รู้ว่าตนเองเป็นใครและกำลังทำอะไรอยู่
Carl R. Rogers แบ่งตัวตน (Self) ออกเป็น 3 ลักษณะ
1.Perceived Self ตัวตนที่เรารับรู้ตัวเองในปัจจุบัน
2.Real self ตัวตนที่แท้จริง คนอื่นมองเห็นแต่เราอาจมองไม่เห็น
3.Ideal self ตัวตนที่เราอยากเป็น ซึ่งถ้าตัวตนนี้ต่างจาก Real self มากจะทำให้คนเราเกิด low self
มโนมติสำคัญ 8 ประการ
อัตตา (Self) หรือตัวตนของตนเอง คือ ส่วนรวมทั้งหมดของบุคคลที่ตนเองรับรู้ตามสภาพความเป็นจริง รับรู้ความรู้สึกของตนเอง
อัตมโนทัศน์ (Self concept) คือ การรับรู้เกี่ยวกับตนเองในด้านต่างๆ เช่น ลักษณะนิสัย ความสามารถ
อุดมคติแห่งตน (Self Idea/Image) ความคาดหวัง ความปรารถนาในสิ่งที่อยากเป็น ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เราพัฒนาตนเอง
ภาพลักษณ์ทางกายแห่งตน (Body Image) การรับรู้รูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง ความเจ็บป่วยต่างๆของตนเอง
มโนธรรมแห่งตน (Moral Image) ค่านิยม วัฒนธรรมที่เรายึดถือและคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยจะสอดคล้องกับสังคมที่เป็นอยู่
ศักดิ์ศรีแห่งตน (Self esteem) การยอมรับนับถือตนเอง เป็นการประเมินคุณค่าในตนเอง โดยการผสมระหว่างอัตลักษณ์ ภาพลักษณ์ และมโนธรรมเข้าด้วยกัน
เอกลักษณ์เฉพาะตน (Self of identity) เป็นสิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างกัน
การตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง (Self awareness and Self understanding) คือ การเข้าใจถึงการแสดงออกของตน เข้าใจความรู้สึกของตนที่มีต่อบุคคลอื่น
แนวทางการพัฒนาการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
พัฒนาการรับรู้ตนเองโดยหน้าต่างโจฮารี หน้าต่าง 4 บานแต่ละบานหมายถึง
1.จุดเปิดเผย (open self) คือ จุดที่เรารับรู้ คนอื่นก็รับรู้
2.จุดบอด (Blind self) จุดที่คนอื่นรับรู้ แต่เราไม่รู้
3.ความลับ (hidden self) จุดที่เรารู้ คนอื่นไม่รู้
4.อวิชชาหรือสิ่งที่เผลอแสดงออกมาเมื่อไร้สำนึก (unknown self) เป็นจุดที่ไม่มีใครรู้ทั้งเราและผู้อื่น
การพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง ทำได้โดยการเพิ่มหน้าต่างส่วนจุดเปิดเผยให้มากที่สุดแล้วหน้าต่างบานอื่นจะเล็กลง ซึ่งสามารถทำได้โดยการเปิดเผยตนเองมากขึ้นซึ่งจะต้องสอดคล้องกับความสมพันธืและความไว้วางใจ เปิดใจกว้างเพื่อรับฟังผู้อื่นเพื่อรับฟังจุดที่เราไม่รู้เกี่ยวกับตนเอง
Abraham Maslow ได้สรุปลักษณะของคนที่เข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ (self actualization) ไว้ดังนี้
สามารถยอมรับตนเองและยอมรับผู้อื่นได้ตามความเป็นจริง
มีการแสดงออกที่เป็นธรรมชาติ จริงใจ ไม่เสแสร้ง
เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆตามสภาพความเป็นจริง
วิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยปราศจากอคติ
ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข พึ่งผู้อื่นพอสมควร มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิต
มีอิสระทางความคิดแต่ต้องสอดคล้องกับการยอมรับของสังคม
มองโลกในแง่บวก พร้อมเผชิญปัญหาและเรียนรู้สิ่งที่ได้จากปัญหา
ตื่นตัวอย่างมีสติ มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้ชีวิต อารมณ์ขันอย่างมีสติ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น
รู้จักคบเพื่อนที่มีทัศนคติที่ดี ไม่แบ่งชนชั้น
มีค่านิยมที่ถูกต้อง มีศีลธรรมประจำใจ
การใช้ตนเองเพื่อการบําบัด (Therapeutic use of Self)
พยาบาลต้องตระหนักรู้ เข้าใจตนเองให้มากที่สุดก่อนที่จะเข้าใจผู้อื่น เมื่อเข้าใจตนเองก็จะเข้าใจผู้อื่น
พยาบาลต้องสามารถประยุกต์ศาสตร์ทั้งทางการพยาบาลและศาสตร์สาขาอื่นๆมาบำบัดผู้มีปัญหาทางจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่สำคัญคือการมีสัมพันธภาพที่ดี ให้การพยาบาลด้วยท่าทางที่เป็นมิตร อบอุ่น และการรักษาความลับคือหัวใจสำคัญของการพยาบาลจิตเวชและพยาบาลต้องมีทัศนคติทางบอกต่อผู้ป่วยโดยมองว่าผู้ป่วยคือมนุษย์คนหนึ่งที่ควรได้รับการดูแล
พยาบาลต้องเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีปัญหาทางจิต
ใช้ความเป็นตนเอง ค่านิยมต่างๆ เป็นสื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้พฤติกรรมที่ปกติจากเรา เมื่อเกิดการเรียนรู้
ผู้ป่วยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลับสู่สภาพความเป็นจริงตามปกติ
กิจกรรมที่สำคัญ
สร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทางที่อบอุ่น เป็นมิตร มีความน่าไว้วางใจ ให้ข้อมูล ให้กำลังใจ ให้การดูแลและให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความเข้มแข็งทางจิตใจกล้าที่จะพัฒนาตนเอง โดยพยาบาลต้องมีการตระหนักรู้ในตนเองอยู่เสมอ
องค์ประกอบที่สำคัญ
1.ความรักในเพื่อมนุษย์ ให้การพยาบาลด้วยความเอื้ออาทรเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่า
2.เข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย (empathy)เข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของผู้ป่วยแต่ต้องไม่เอาตนเองเข้าไปเป็น
บุคคลนั้น
3.เข้าใจและยอมรับ (understanding and accept) เข้าใจในความแตกต่างของบุคคลและยอมรับในความเป็นบุคคลของเขา
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัด (Therapeutic relationship)
สัมพันธภาพ คือ การที่บุคคล 2 คนทำการสื่อสารกันจนเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวกัน
แบ่งได้ 2 แบบ
1.สัมพันธภาพเชิงสังคม
คือ สัมพันธภาพทั่วๆไป ไม่มีการกำหนด
จุดมุ่งหมายของการสร้างสัมพันธ์ ไม่มีระยะเวลาที่แน่ชัดว่าความสัมพันธ์จะจบลงเมื่อไร ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของคน 2 ฝ่าย ซึ่งต้องมีอัตราส่วนของการให้และรับในระดับที่ใกล้เคียงกัน
2.สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ
คือ สัมพันธภาพระหว่างผู้รับบริการกับผู้ประกอบวิชาชีพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการช่วยเหลือ มีระยะเวลาของการยุติความสัมพันธ์และเป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนมีกระบวนการที่ชัดเจน ทำงานภายใต้ความรู้ความสามารถและกฏหมาย
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด คือ การทำให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ตนเองและหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยพยาบาลจะใช้ตนเองและเทคนิคการสื่อสารในการบำบัด
ระยะของสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
ระยะเริ่มต้นสัมพันธภาพ (Orientation/Initiating Phase)
เป็นระยะที่พบเจอกันครั้งแรก จะมีการประเมินท่าทีของกันและกัน เริ่มด้วยการแนะนำตนเองว่าเป็นใคร มาจากที่ไหนและมาทำอะไร กำหนดข้อตกลงว่าเราจะมีการแก้ปัญหาร่วมกันและแจ้งระยะเวลาที่ชัดเจน มีการระบุสถานที่ วันเวลาของการพบเจอพูดคุย ต้องแสดงความจริงใจและความสม่ำเสมอให้ผู้ป่วยได้เห็น และที่สำคัญคือ การเก็บรักษาความลับ
ระยะแก้ไขปัญหา (Working Phase)
ระยะของการค้นหาสาเหตุของปัญหาและร่วมกันหาออกร่วมกัน หาวิธีแก้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจปัญหาและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ ผู้ป่วยอาจพึ่งพาพยาบาลมากจนเกินไป จนไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง พยาบาลจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ป่วย ว่าเขาจะสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ อาจเกิดปัญหา transference เกิดขึ้น พยาบาลอาจรู้สึก sympathy เข้าไปเป็นบุคคลที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเองจนส่งผลกระทบต่อจิตใจ หรือ ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าพยาบาลคือ บุคคลสำคัญในชีวิต แก้ได้ด้วยการที่พยาบาลต้องทวนจุดมุ่งหมายให้ผู้ป่วยฟังบ่อยๆและพยาบาลต้องตระหนักรู้ในตนเองอยู่เสมอว่าตนเป็นใคร
กำลังทำอะไร
ระยะยุติความสัมพันธ์ (Terminating phase)
ยุติเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง พยาบาลต้องคอยส่งเสริมความเชื่อมั่นในการปรับตัวว่าเขาสามารถทำได้ โดยระยะนี้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ ผู้ป่วยจะไม่ยอมยุติความสัมพันธ์ เกิด Separate anxiety หรือความวิตกกังวลจากการแยกจาก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดพฤติกรรมถดถอย เกิดอาการก้าวร้าวได้ วิธีการแก้ไข คือ พยาบาลต้องคอยทบทวนถึงระยะเวลายุติความสัมพันธ์เป็นระยะๆและบอกถึงแหล่งช่วยเหลืออื่นๆให้ผู้ป่วย
องค์ประกอบของการสนทนาเพื่อการบําบัด
สถานที่ (setting)
มีความเป็นส่วนตัวเพราะสถานที่ที่คนพลุกพล่านจะทำให้ผู้รับบริการไม่เปิดเผยความรู้สึกข้างในออกมาและอาจขาดสมาธิในการสนทนา สถานที่ควรมีความเป็นส่วนตัวแต่ต้องปลอดภัย
ระยะเวลา (times)
เวลาประมาณ 30 - 60 นาที เวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้เรื่องราวถึงแม้ผู้รับบริการจะยังไม่พร้อมเล่า
พยาบาลก็ควรแสดงความจริงใจถึงการที่พร้อมจะช่วยเหลือ
ท่านั่ง (seating)
นั่งทำมุม 90 องศา ไม่เผชิญหน้า หากจำเป็นต้องมีโต๊ะกั้น การนั่งควรนั่งในระนาบเดียวกันเพื่อไม่ให้ใครรู้สึกมีอำนาจมากกว่ากัน และการนั่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยเสมอ
ระยะห่างระหว่างบุคคล (personal space)
ระยะห่างเหมาะสมไม่ใกล้ชิดกันจนเกินไปหรือห่างกันจนต้องตะโกน
เทคนิคสนทนาเพื่อการบําบัด
เทคนิคกระตุ้นให้เกิดการสนทนา (encourage conversation)
เป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการสนทนา
Using Broad Opening เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเลือกประเด็นในการสนทนา เพราะเรื่องเหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่อยู่ภายในใจของผู้รับบริการ เช่น วันนี้คุณรู้สึกอย่างไรบ้างคะ
Using General Lead เป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการเล่าต่อ เช่น คะ อย่างไรต่อคะ
Reflection สะท้อนคำพูดของผู้รับบริการออกมาเป็นความรู้สึก จะทำให้ผู้รับบริการรู้ว่าเราเข้าใจความรู้สึกเขา
Restating ทวนความ เป็นการเน้นสิ่งที่ผู้รับบริการพูดเพื่อให้ผู้รับบริการได้ทบทวนสิ่งที่ตนเองพูดออกมา
Accepting การยอมรับสิ่งที่ผู้รับบริการพูดออกมา โดยการพยักหน้าหรือรับฟังเฉยๆโดยไม่โต้แย้ง
เทคนิคที่ช่วยกระตุ้นผู้รับบริการให้ผู้รับบริการพูดระบายความรู้สึก
Sharing Observation พูดในสิ่งที่เราสังเกตเห็น ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าพยาบาลใส่ใจ
Questioning มีทั้งคำถามปลายปิดที่ต้องการขอบเขตชัดเจน เพื่อให้ผู้รับบริการตอบใช่หรือไม่ใช่ คำถามปลายเปิดเป็นการถามที่ต้องการคำถามอธิบาย
Actively Listening ฟังอย่างตั้งใจ
4.Using Silence ใช้ความเงียบเพื่อให้ผู้รับบริการได้ทบทวนความรู้สึกของตนเอง
เทคนิคที่ช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจตรงกันกับผู้รับบริการ
Clarifying การให้ความกระจ่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
เทคนิคที่กระตุ้นให้ผู้รับบริการคิดไตร่ตรองเรื่องราวของเขาใหม่
Exploring เป็นการสอบถามเพื่อให้ข้อมูลมีความชัดมากขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก
Focusing สนทนาโดยมุ่งเน้นแค่ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
Encouraging Evaluation กระตุ้นให้ผู้รับบริการทวนความรู้สึกของตนต่อสถานการณ์ต่างๆ
Giving Feedback ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ว่าพฤติกรรมของพวกเขามีผลต่อบุคคลอื่นอย่างไร
Voicing Doubt เป็นการตั้งข้อสงสัยในคำของผู้รับบริการ ควรหลีกเลี่ยงหากความสัมพันธ์ไม่ดีพอ
Giving Suggestion ให้คำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา โดยผู้รับบริการจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่ทำ
7.Summarizing สรุปแต่ละครั้งก่อนจบการสนทนาถึงเรื่องที่พูดคุยกันไป
นางสาวภาวิตา ทิพย์ญาณ
รหัสนักศึกษา 62122301062