Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน - Coggle Diagram
ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน
-
ทฤษฎีระบบ
เดวิด อิสตัน (David Easton) โทมัส ดาย (ThomasDye) เจมส์ทอมป์สัน (James Thompson)โนเบิร์ต วีเนอร์(Norbert Winer)และ ลุดวิก ฟอน เบอร์ทัลแลนฟ์ไฟ (Ludwig von Bertalanffy)
เสนอว่า องค์การเป็นระบบสังคมที่หน่วยต่างๆมีความสัมพันธ์กัน ในระบบใหญ่ย่อมประกอบด้วยระบบย่อยหลายระบบหากมีการเปลี่ยนแปลงระบบย่อยใด ย่อมส่งผลกระทบไปถึงหน่วยย่อยอื่น ดังนั้นองค์การจึงเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต และภายในระบบนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ระบบประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการ คือ
1.ปัจจัยนําเข้า (Input)เป็นสิ่งที่ถูกป้อนเข้าในระบบหรือกระบวนการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลใน
การทํางาน และนําไปสู่ผลผลิตที่คาดหวังเช่น ปัจจัยการผลิต ทรัพยากร ข้อเรียกร้อง ข้อสนับสนับสนุน
2.กระบวนการ (Process)เป็นขั้นตอนในการนําปัจจัยนําเข้า (Input) หรือปัจจัยการผลิต เข้าสู่กิจกรรมการแปรสภาพ ออกเป็นมาเป็นผลผลิต เช่น กิจกรรมการทํางานของพนักงาน กิจกรรมบริหารจัดการ กิจกรรมการผลิต ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน
3.ผลผลิต (Output)เป็นสิ่งที่ได้กระบวนแปรสภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของข้อเรียกร้องของภาค ประชาชน หรือตลาด โดยผลผลิตที่ได้เกิดจากกระบวนการทํางานทุกระดับ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การเช่น นโยบาย ผลิตภัณฑ์และบริการ กําไรและการขาดทุน ผลลัพธ์การดําเนินงาน เป็นต้น
4.ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและผลลัพธ์ที่กิจกรรมขององค์การและระบบ เพื่อปรับปรุงปัจจัยนําเข้า และกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ที่พึงพอใจมากขึ้น เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า ผลการแก้ไขปัญหาแก่ประชาชน เป็นต้น
5.สภาพแวดล้อมขององค์การ (Environment)สิ่งแวดล้อมขององค์การที่ส่งผลกระทบต่อระบบขององค์การ แบ่งออกเป็น
-
-
-
ทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงสถานการณ์ นักคิด โจน วูดเวิร์ด (Joan Woodward) พอล ลอว์เรนซ์ (Paul Lawrence) และ เจย์รอชย์(Jay Lorsch)
เสนอการปรับปรุงพฤติกรรมการบริหารจัดการตามสถานการณ์เฉพาะอย่างขององค์การซึ่งประกอบไปด้วย เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การ และบุคลากรในองค์การเทคนิคการบริหารจัดการต่างๆ สามารถถูกนํามาเลือกใช้กับเงื่อนไขที่องค์การเผชิญอยู่ได้ ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงเป็นการผสมผสานทฤษฎีองค์การดั้งเดิม ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ และทฤษฎีระบบทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน
-