Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO (ABO Incompatibility), image,…
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO
(ABO Incompatibility)
ความหมาย
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO เป็นหนึ่งสาเหตุของ hemolytic disease ของทารกแรกเกิด คือเกิดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หมู่เลือด ABO ของมารดาและทารกเข้ากันไม่ได้ ที่พบบ่อยที่สุดคือมารดามีหมู่เลือด O และลูกมีหมู่เลือด A, B หรือ AB ทำให้เกิดความเข้ากันไม่ได้ของหมู่เลือด (incompatibility) อาการของโรคจะไม่เพิ่มความรุนแรงในครรภ์หลังๆ ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องให้การรักษาทารกขณะอยู่ในครรภ์ ทารกแรกเกิดมักมีอาการของโรคอยู่ในระดับปานกลาง ไม่มีอาการรุนแรง
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกของทารกที่มีสาเหตุจากหมู่เลือดระบบ ABO ไม่เข้ากับมารดาพบเฉพาะในแถบประเทศตะวันตก ส่วนใหญ่จะพบในทารกหมู่เลือด A หรือ B ที่เกิดจากมารดาหมู่เลือด O แนวโน้มทารกที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในคนผิวดำ (Black) เนื่องจาก anti-A และ anti-B จะมีความแรงมากกว่าคนเอเชีย (Asian) และคนผิวขาว (Caucasian)
พยาธิสรีรภาพ
โดยทั่วไป anti-A มักจะเป็นสาเหตุของภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกเกิดได้บ่อยกว่า anti-B1 ชนิดของ IgG นั้นมีความสำคัญต่อการเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารก เฉพาะ IgG1 และ IgG3 เท่านั้นที่สามารถจับกับ Fc-receptor ของเซลล์ฟาโกไซต์แล้วกระตุ้นการทำลายเม็ดเลือดแดงได้ ภาวะนี้มักเกิดกับมารดาที่มีกลุ่มเลือด O และทารกหมู่เลือด A หรือ B ระหว่างการตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงของทารกจะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดของมารดา ซึ่งหากเป็นหมู่เลือด A จะมี antigen A บนเม็ดเลือดแดงของลูก ไปกระตุ้นให้มารดาสร้าง antibody ทำให้มี antibody มากและส่วนใหญ่จะเป็น IgG ซึ่งสามารถผ่านรกเข้าสู่กระแสเลือดของทารก จากนั้นจะทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ทารกแรกเกิดมีภาวะซีด บวม และตัวเหลือง จนอาจเสียชีวิตได้ภายหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
อาการตัวเหลืองเท่านั้น และมักจะมีอาการเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ไม่ค่อยพบอาการซีดเนื่องจากการสร้างแอนติเจนในหมู่เลือดระบบ ABO ของทารกนั้นจะยังไม่ดีเท่าในวัยผู้ใหญ่
อาจพบตับโต หากไม่ได้รับการรักษาเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ kernicterus
ภาวะแทรกซ้อน
เสี่ยงต่อการที่สมองถูกทำลายอย่างรุนแรงจากภาวะkernicterus ทารกที่เกิดภาวะ kernicterus จะเสียชีวิตประมาณ 75 %
คนที่รอดชีวิตมักเกิด mental retard หรือ develop paralysis or nerve deafness
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ทารกที่มีจุดเลือดออกตามตัว ตับ ม้าม พบว่าเกิดจากการติดเชื้อ
ภายในครรภ์ อาการซีดอาจเกิดจากการแตกทําลายของเม็ดเลือด และ
การเจริญเติบโตช้า ความพิการแต่กำเนิด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจนับเม็ดเลือด นับจํานวน reticulocytes
ตรวจหมู่เลือด ของมารดาและทารกแรกเกิด หากแม่มีเลือดกรุ๊ป O ลูกทารกเป็น A หรือฺ B และตัวเหลืองลูกก็อาจเป็น AO หรือ BO incompatibility
ระดับบิลิรูบินใน serum นิยมตรวจค่า Total bilirubin
Direct Coomb’s test เพื่อตรวจหา maternal antibodies Rh and ABO typing
การซักประวัติการตรวจกลุ่มเลือด และประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดที่ผ่านมา
แนวทางการรักษา
การรักษาระหว่างตั้งครรภ์ยังไม่จำเป็น หากรุนแรงอาจต้องเปลี่ยนถ่ายเลือดในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่หากอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป การรักษาที่ดีที่สุดคือ การกระตุ้นให้คลอด
หลังจากคลอดทารกที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง มักได้รับการส่องไฟ (phototherapy) เพื่อลดระดับ บินลิรูบิน
ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องให้การรักษาทารกขณะอยู่ในครรภ์อาการของทารกแรกเกิดมักอยู่ในระดับปานกลาง จะไม่มีอาการรุนแรง
ส่วนทารกที่มีอาการรุนแรง จะต้องได้รับการดูแลในแผนกทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit: NICU) และมักได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด (exchange transfusion) อย่างทันทีหลังคลอด
การพยาบาล
ติดตามภาวะ jaundice ด้วยการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงต่อ hemolytic disease
ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด หากตรวจพบภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อเฝ้าระวังและประเมินภาวะ pathologic jaundice
อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม พยาธิสรีรภาพ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป รวมถึงการรักษาและพยาบาล แก่มารดาหลังคลอด
ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟ ให้วางทารกไกลแสงไฟพอประมาณ ระวัง burn พลิกตัวทุก 3-4 ชั่วโมง และปิดตาทารกด้วย eye patches เพื่อป้องกันตาเกิดการระคายเคือง
ประเมินความเสี่ยงของคู่มารดาและทารกจากการซักประวัติ ประวัติการตั้งครรภ์และคลอดที่ผ่านมา