Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 :star: เครื่องมือในการบําบัดทางการพยาบาลจิตเวช, นางสาวนูรีดา…
บทที่ 3 :star:
เครื่องมือในการบําบัดทางการพยาบาลจิตเวช
การตระหนักรู้ในตนเอง และการใช้ตนเองเพื่อการบําบัด
:black_flag:
การตระหนักรู้และการเข้าใจในตนเอง
ประกอบด้วยมโนมติสําคัญ 8 ประการ ดังนี้
ภาพลักษณ์ทางกายแห่งตน
เป็นการรับรู้เกี่ยวกับร่างกายของตน
มโนธรรมแห่งตน
เป็นความคิด ความเชื่อ รู้รับผิดชอบชั่วดี
อุดมคติแห่งตน
เป็นอุดมคติ ความหวัง ความปรารถนาที่ตน
อยากเป็น
ศักดิ์ศรีแห่งตน
เป็นการยอมรับนับถือตนเอง ประเมินตนเองในด้านบวกและลบ
อัตมโนทัศน์
เป็นการรับรู้และตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองในด้านต่างๆ
เอกลักษณ์เฉพาะตน
เป็นส่วนประกอบที่สําคัญของความเป็นตัวของตนของบุคคลมี
ความแตกต่างเฉพาะคน
อัตตา หรือตัวตนของตนเอง
คือ จิตใจ
สังคม พฤติกรรม ค่านิยม ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองตามความเป็นจริง
การตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
ประกอบด้วยการรับรู้
และการเข้าใจตนเองในด้านต่าง ๆ
แนวทางการพัฒนาการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
การเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง
การประเมินตนเองตามความเป็นจริง ไม่อคติ มองหรือคิดเข้าข้างตนเอง
การพัฒนาจิตใจโดยการศึกษาธรรมะประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนาและคุณธรรมที่ได้กําหนดไว้
ประโยชน์ในการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการรับฟัง ความคิดเห็นจากผู้อื่น มาเป็น
แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาจุดด้อยของตนและพัฒนาจุดเด่นให้แข็งแรง
สามารถใช้ประสบการณ์ที่เรียนรู้และเข้าใจตนเองเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้และทำความเข้าใจ
สามารถเข้าใจตนเองในทุกๆด้าน
ความรู้สึกของตนจะช่วยให้เราสามารถควบคุมตนเองและแสดง
พฤติกรรมออกมาอย่างเหมาะสม
การใช้ตนเองเพื่อการบําบัด
พยาบาลต้องพยายามตระหนักในตนเองที่จะเรียนรู้จักและเข้าใจตนเองให้มากที่สุดเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้รับบริการและครอบครัว
ประยุกต์ความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาล มาใช้ในการพยาบาลแก่คน
ที่มีปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถผสมผสานการใช้สัมพันธภาพเเพื่อการบําบัดในการพยาบาล
บุคคลมีปัญหาสุขภาพจิต
ปัจจัยสนับสนุนให้การใช้ตนเองเพื่อการบําบัดและการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดประสบผลสําเร็จ
คุณลักษณะของพยาบาลต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหา
การรักษาความลับ : รักษาจรรยาบรรณของวิชาชีพ รักษาความลับเรื่องราวของผู้รับบริการอย่าง
มีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการใช้ตนเองเพื่อการบําบัด
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
:black_flag:
สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัดระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย พยาบาลมีบทบาทให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย โดยอาศัยสื่อกลางเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน พยาบาลจะต้องตระหนักและเข้าใจตนเองและใช้ตนเองเป็นสื่อใน
การบําบัด
เป้าหมายในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดมีดังนี้
เพื่อให้โอกาสผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
เพื่อให้ผู้รับบริการรู้จักตนเองอย่างถูกต้อง ยอมรับตนเอง และเพิ่มความเคารพนับถือตนเอง
เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ รู้จักพึ่งตนเอง ในขณะเดียวกันสามารถอยู่
เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจปัญหาของตนเองได้ตรงตามความเป็นจริง
เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติตนที่เหมาะสม
ระยะของสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
ขั้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Initiating phase)
ระยะแก้ไขปัญหา (Working Phase)
ระยะยุติสัมพันธภาพ (Terminating Phase)
ขั้นเตรียมการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Pre Initiating phase)
เทคนิคสนทนาเพื่อการบําบัด
: :black_flag:
เทคนิคที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการหรือผู้มาขอความช่วยเหลือรู้สึกว่าตนเองมีค่า
Giving Recognition การให้ความสําคัญ เป็นการแสดงให้เห็นว่า พยาบาลรู้จักผู้รับบริการ พยาบาล
เห็นความสําคัญของผู้รับบริการ
Giving Information การให้ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริงแก่ผู้รับบริการ
Offering - Self การเสนอตนเองเพื่ออยู่เป็นเพื่อนผู้รับบริการยามทุกข์
เทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้รับบริการเป็นฝ่ายนําการสนทนา หรือทําให้การสนทนาดําเนินไป
Reflection การสะท้อนความรู้สึก คือแสดงความรู้สึกหรือความคิดเป็นคําพูด
Restating การทวนความ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า พยาบาลกําลังฟังผู้รับบริการพูด และเป็นการเน้นให้
ผู้รับบริการได้ยินและคิดถึงสิ่งที่ตนเองพูดออกมา
Using General Lead การใช้คํากล่าวนําโดยทั่วไป
ที่ช่วยกระตุ้นและจูงใจให้ผู้รับบริการพูดต่อ
Accepting การยอมรับผู้รับบริการ และสิ่งที่ผู้รับบริการพูด พยาบาลแสดงท่าทีให้เขาเห็นว่า พยาบาล
มีความเข้าใจและยอมรับเขา
Using Broad Opening ใช้คํากล่าวกว้างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเลือกหัวข้อสนทนา
เทคนิคที่ช่วยกระตุ้นผู้รับบริการให้ผู้รับบริการพูดระบายความรู้สึก
Sharing Observation คือ การบอกกล่าวสิ่งที่พยาบาลสังเกตเห็นได้ในตัวผู้รับบริการ
Acknowledge the Patient’s Feeling รับรู้ความรู้สึกของผู้รับบริการ
Questioning การถาม เป็นคําถามโดยตรงที่พูดกับผู้รับบริการ เมื่อใช้คําถามควรจะถามเป็นประโยค
ปลายเปิดมากกว่าปลายปิด
Actively Listening การฟังอย่างตั้งใจ เป็นการฟังโดยไม่มีความคิดโต้แย้ง
Using Silence การเงียบ ไม่มีการตอบสนองหลังจากผู้รับบริการพูดเสร็จ เกิดขึ้นหลังจาก Actively
Listening เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมากในการกระตุ้นให้ผู้รับบริการสื่อสาร
เทคนิคที่ช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจตรงกันกับผู้รับบริการ
Clarifying การให้ความกระจ่าง คือ ความพยายามในการที่จะเข้าใจในคํากล่าวของผู้รับบริการ
Validating คือ การตรวจสอบว่าความเข้าใจของพยาบาลถูกต้องตรงกับความต้องการความรู้สึกของ
ผู้รับบริการหรือไม่
เทคนิคที่กระตุ้นให้ผู้รับบริการคิดไตร่ตรองเรื่องราวของเขาใหม่
Giving Feedback การให้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นการช่วยให้บุคคลตระหนักรู้ว่าพฤติกรรมของเขามี
ผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร
Voicing Doubt การตั้งข้อสงสัย การตั้งข้อสงสัย ใช้ใน
เรื่องราวที่ผู้รับบริการเล่าไม่น่าจะเป็นไปได้
Encouraging Evaluation การกระตุ้นให้ผู้รับบริการได้ประเมินตัวเอง
Giving Suggestion การให้คําแนะนํา เป็นการชี้แนะแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา
Focusing เป็นการมุ่งประเด็นไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในกรณีผู้รับบริการพูดหลายเรื่องปะปนกัน
Presenting Reality การบอกสภาพความเป็นจริงเพื่อให้ผู้รับบริการพิจารณาให้ชัดเจน
Exploring การสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลกระจ่างขึ้น
Summarizing การสรุปข้อความเมื่อผู้รับบริการพูดจบแล้ว
นางสาวนูรีดา โสะประจิน 62122301052
ร่วมกับคนอื่นได้ สามารถที่จะเป็นผู้ให้และผู้รับความรักจากคนอื่นได้