Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชา เศรษฐศาสตร์ - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชา เศรษฐศาสตร์
ความหมายและควมสำคัญของเศรษฐศาสตร์
ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด สำหรับผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Key Words 5 คำ
ทางเลือก (Choice)
เลือกเพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุดหรือผลประโยชน์สูงสุด ถ้าไม่มีการเลือกก็ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์
ทรัพยากรการผลิต หรือ ปัจจัยการผลิต (Productive Resourees) 4 ประเภท
ที่ดิน: ค่าเช่า
แรงงาน : ค่าจ้าง
ทุน : ดอกเบี้ย
ผู้ประกอบการ : กำไร
การมีอยู่อย่างจำกัด (Scarcity)
ทรัพยากรทุกอย่างในโลกมีอยู่อย่างจำกัด ปรากฏชัดเจนมากขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งถูกใช้ไปหมดหรือส่วนที่เหลืออยู่มีน้อย
สินค้าและบริการ (Goods and Services)
สินค้าเศรษฐกิจ (economic goods) สินค้าและบริการที่มีราคา มีต้นทุนในการผลิต
สินค้าได้เปล่า (free goods) สินค้าและบริการที่มีราคาเป็นศูนย์ ไม่มีต้นทุนในการผลิต
ความต้องการไม่สิ้นสุด (Unlimited Want)
การที่ได้สิ่งหนึ่งมาแล้ว ก็อยากได้อย่างอื่นอีก อยากได้สิ่งใหม่ต่อไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด
เส้นเป็นไปได้ในการผลิต : PPC
เมื่อผลิตสินค้าชนิดหนึ่งมากขึ้น ต้องลดการผลิตสินค้าอีกชนิดหนึ่งลง
เส้น PPC แสดงถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ในการผลิตสินค้าหลายชนิด ในที่นี้สมมติให้มีสองชนิด คือ สินค้า x และ y
ต้นทุนค่าเสียโอกาศ (Opportunity Cost)
มูลค่าสูงสุดที่เสียไปเพื่อทดแทนสิ่งที่เราเลือก หรือ มูลค่าสูงสุดของสิ่งที่ไม่ได้ถูกเลือก และความจำเป็นที่ต้องเกิดการเลือก
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ผลิตอะไร (What)
ผลิตอย่างไร (How)
ผลิตเพื่อใคร (for whom)
ระบบเศรษฐกิจ
แบบทุนนิยม คือ แบบเสรี/ระบบตลาด เอกชนเป็นเจ้าปัจจัยการผลิต ราคาและกลไกลของการตลาดเป็นเครื่องมือแก้ไขเศรษฐกิจ
แบบสังคมนิยม คือ แบบคอมมิวนิสต์/สังคมนิยม รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกอย่าง รัฐตัดสินปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยตนเองแทนกลไกลตลาด
แบบผสม คือ รัฐและเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนมีเสรีภาพในการทำกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลจะแทรกแซงราคาและกลไกตลาดเพื่อความเรียบร้อย
หน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจ
ภาคครัวเรือน
ภาคธุรกิจ
ภาครัฐ
ภาคต่างประเทศ