Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารจัดการด้านการควบคุมคุณภาพ (Controlling), นางสาวพัทธิ์ชญา…
การบริหารจัดการด้านการควบคุมคุณภาพ
(Controlling)
แนวคิดคุณภาพทางการพยาบาล
คุณภาพ (quality) ในการจัดการคุณภาพขององค์กรทางด้านสุขภาพ ซึ่งอ้างอิงนักวิชาการและประกาศจากสภาการพยาบาลเป็นสำคัญ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และต่อยอดความรู้สู่การปฏิบัติเมื่อเข้าสู่พยาบาลวิชาชีพ
คุณภาพของการดูแลทางการแพทย์ จำเป็นต้องพิจารณาหลายๆคุณลักษณะด้วยกัน ให้คุณค่ากับทุกขั้นตอนของการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย ผลสำเร็จตามค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ครอบคลุมทั้งระบบบริการสุขภาพและการบริการสังคม
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
หลักการสำคัญในการควบคุมคุณภาพ คือต้องพยายามติดตามผลการดำเนินงานที่ทำให้เพิ่มประโยชน์หรือความปลอดภัย ให้แก่ผู้รับบริการมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และต้องคอยควบคุม กำกับ ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงต่างๆ และหากเกิดความเสี่ยงต้องสามารถจัดการให้เกิดผลกระทบให้น้อยที่สุด หรืออยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้
คุณภาพการบริหารองค์กรพยาบาล (Quality of Nursing Organization)
เป็นการกำหนดมาตรฐานเชิงโครงสร้าง มิติการบริหารองค์กรพยาบาล โดยกำหนดคุณลักษณะขององค์กรพยาบาล ประเมินตัวชี้วัดคุณภาพ จากรูปแบบ ลักษณะ กระบวนการทางการบริหาร และการจัดการ
คุณภาพบริการพยาบาล (Quality of Nursing Practices)
เป็นมาตรฐานเชิงกระบวนการ วัตถุประสงค์ของการควบคุมเพื่อให้พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่น ลดความรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน ภาวะทุพพภาพจากการเจ็บป่วย สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิต เป็นต้น และส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการพยาบาล
คุณภาพผลลัพธ์การพยาบาล (Quality of Nursing Outcome)
เป็นมาตรฐานเชิงผลลัพธ์ สภาการพยาบาลได้กำหนดให้มีการควบคุมการปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้กระบวนการพยาบาลและผลลัพธ์พยาบาลโดยรวมของบริการพยาบาลและผดุงครรภ์ทั้งหน่วยงาน
รูปแบบการตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล
เป็นการตรวจสอบคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้รับบริการ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประเมินคุณภาพการให้บริการของทีมสุขภาพซึ่งเป็นส่วนส าคัญในการรับรองคุณภาพสถานบริการโรงพยาบาลต่างๆ การรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามระเบียบวิธีการเก็บข้อมูล
(1) การศึกษารวบรวม
ข้อมูลหลังจากจ าหน่ายผู้ป่วย (Method of Retrospective Assessment)
(2) การศึกษารวบรวมข้อมูล
เป็นระยะขณะผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล (Concurrent Care Review)
การประกันคุณภาพ (Quality Assurance)
การประกันคุณภาพการพยาบาล (Quality assurance: QA)
เป็นกระบวนการดำเนินงานอย่างมีแบบแผนและมีกิจกรรมที่เป็นขั้นตอน ต่อเนื่อง เป็นระบบในการวัดและประเมินคุณภาพบริการพยาบาล
การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
(Continuous Quality Improvement: CQI)
เป็นกระบวนการที่กำลังดำเนินการประเมินคุณภาพของงานและการปรับปรุง
เครื่องมือในการประกันคุณภาพการพยาบาล
เป็นระบบการประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance) เป็นรูปแบบการตรวจสอบ (Quality Audit) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) งานพยาบาลโดยหน่วยงานภายในฝ่ายการพยาบาล กำหนดโดยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลและีมบริหาร เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความมั่นใจว่าได้รับการพยาบาล ดูแล ช่วยเหลือ ที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาชีพ ป้องกันการร้องเรียน หรือตรวจสอบหากมีการร้องเรียนหรือฟ้องร้อง
การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance)
การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit)
การประกันคุณภาพภายนอก (External Quality Assurance)
การรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation: HA)
การบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management: TQM)
การควบคุมมาตรฐานการพยาบาล เพื่อกำกับ ติดตามการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ยึดความถูกต้องตามศาสตร์การพยาบาลควบคู่กับความต้องการของผู้ใช้บริการและตัวชี้วัดการประกันคุณภาพของโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลนั้นๆ คงไว้ซึ่งคุณค่าต่อตนเอง คุณค่าต่อวิชาชีพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการ
นางสาวพัทธิ์ชญา หวังสาสุข เลขที่21 ห้อง2 รหัส6117701001041