Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์, 62102975 ณัฐธิดา แก้ววิจิตต์ -…
บทที่ 3
การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
ระบบเศรษฐกิจ
ผู้ผลิต
ความหมาย
ผู้ที่ทำการผลิตสินค้าและให้บริการ เป็นผู้รวบรวมทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตต่างๆ จากเจ้าของปัจจัยการผลิต เพื่อมาผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุดและด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด
ผู้บริโภค
ความหมาย
ผู้ที่ใช้หรือผู้ซื้อสินค้าและรับบริการ เป็นผู้ที่ใช้ทรัพยากรตามความจำเป็น คุ้มค่า และประหยัดที่สุด
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ความหมาย
การกระทำต่างๆ เพื่อมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์
การผลิต: สร้างสิ่งของหรือบริการมาบำบัดความต้องการ
การบริโภค: กินหรือใช้เพื่อสนองความต้องการ
การแลกเปลี่ยน: เอาสินค้าที่ผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนสินค้าอื่นที่ผลิตไม่ได้หรือผลิตได้ไม่ดี เพื่อมาตอบสนองความต้องการ
การกระจาย: จำแนกแจกจ่ายสินค้าไปยังผู้ที่ต้องการ (ผู้บริโภค) และนำรายได้มาแบ่งสันปันส่วนให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตที่มีส่วนร่วมในการผลิต
ทรัพยากรการผลิต
หมายถึง ทรัพยากรที่นำมาเพื่อผลิตสินค้าและบริการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปัจจัยการผลิต”
ปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์
แรงงาน
การใช้พลังงานของมนุษย์เพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการทั้งด้านกำลังกายและกำลังความคิด เพื่อแสวงหารายได้มาดำรงชีพ
ผลตอบแทนของแรงงาน คือ ค่าจ้าง (Wage)
ทุน
สิ่งที่จะนำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เช่น เครื่องจักรเครื่องมือ โรงงาน เป็นต้น การลงทุนคือการจ่ายเงินเพื่อหาทุนในการผลิต (เงินเป็นเพียงสื่อกลาง)
ผลตอบแทนของแรงงาน คือ ค่าจ้าง (Wage)
ผู้ประกอบการ
ผู้จัดตั้งองค์กรผลิตโดยนำเอาปัจจัยการผลิต คือที่ดิน ทุน แรงงาน มาดำเนินการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตมากที่สุด
ผลตอบแทน คือ กำไร (Profit)
ที่ดิน
รวมทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ สัตว์น้ำ ความสมบูรณ์ของดินและทิวทัศน์ตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น
ผลตอบแทนของที่ดิน คือ ค่าเช่า (Rent)
หน่วยเศรษฐกิจ
หน่วยธุรกิจ
ผู้ผลิตและผู้ขาย ทำหน้าที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ขาย หรือทำหน้าที่เพียงอย่างเดียว
หน่วยรัฐบาล
เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และเจ้าของปัจจัยการผลิต
อำนวยความสะดวกในด้านปัจจัยพื้นฐาน เช่น บริการด้านสาธารณูปโภค (บริการไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ฯลฯ) และสาธารณูปการ (การซ่อม สร้าง บำรุงถนน ฯลฯ) ให้แก่ประชาชน
จัดหารายได้โดยการเก็บภาษีจากประชาชน เพื่อไว้ใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาประเทศ
รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ระงับและตัดสินข้อพิพาทและป้องกันประเทศ
หน่วยครัวเรือน
บทบาทเจ้าของปัจจัยการผลิต
บทบาทผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของเป้าหมายของผู้บริโภค
รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
(แบบเสรี/ระบบตลาด)
เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกชนิด
มีกำไรเป็นแรงจูงใจในการผลิต
รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ราคาหรือกลไกของตลาดเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
มีเสรีภาพที่จะดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสมัครใจ
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (แบบคอมมิวนิสต์/สังคมนิยม)
รัฐตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจด้วยตนเองแทนที่จะใช้กลไกตลาด
รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกชนิด
มีอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรและสินค้า
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงราคาหรือกลไกตลาด
รัฐและเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกชนิด
เอกชนมีเสรีภาพในการทำกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ
ตลาด
ตลาดปัจจัยการผลิต
ความต้องการขาย(อุปทาน)เป็นของครัวเรือน
1.ความต้องการซื้อ(อุปสงค์)เป็นของภาคธุรกิจ
ตลาดผลผลิต
ความต้องการซื้อ(อุปสงค์) เป็นของภาคครัวเรือน
ความต้องการขาย(อุปทาน)เป็นของภาคธุรกิจ
62102975 ณัฐธิดา แก้ววิจิตต์