Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาทางจิตเวช (Psychopharmacology),…
การพยาบาลผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาทางจิตเวช (Psychopharmacology)
1.ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic Drugs/Major Tranquillizers)
เป็นยาที่ใช้รักษาอาการโรคจิต (Psychosis) และรักษากลุ่มอาการทางจิตเวชที่เกิดจากพยาธิสภาพทางกาย สามารถควบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้นช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวได้มากขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้
ข้อบ่งใช้
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
โรคจิตอารมณ์ (Schizoaffective disorder)
โรคจิตจากภาวะทางกาย (Organic psychosis)
โรคจิตที่เกิดในบางช่วงของโรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) ทั้งโรคอารมณ์สองขั้ว ระยะคลุ้มคลั่ง (Bipolar disorder, mania type) และโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder: MDD)
รักษาอาการ Agitation ในผู้ป่วย Alzheimer และ Bipolar disorder
รักษาอาการก้าวร้าวในผู้ป่วยสมองเสื่อมและผู้ป่วย Delirium
ประเภทของยา
2) Atypical antipsychotic drugs หรือ Serotonin-Dopamine Antagonists (SDA)
กลไกการออกฤทธิ์
ยาออกฤทธิ์ปิดการจับของ serotonin และ dopamine จึงเพิ่มประสิทธิภาพ และด้านกระบวนการรู้คิด (Cognitive symptoms) ได้ดีกว่ากลุ่ม DA
ในขณะที่รักษากลุ่มอาการด้านบวก(Positive symptoms) ได้ดีเท่า ๆ กัน แต่กลุ่ม SDA มีผลข้างเคียงน้อยกว่า
มีอาการ EPS ต่ำมาก
ผลข้างเคียงที่สำคัญของยากลุ่ม SDA คือ น้ำหนักขึ้น ยาในกลุ่มนี้สามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
dibenzodiazepine
benzisoxazole
ยาที่ใช้
Dibenzodiazepine
Clozapine : Clozaril,Clopaze
กลไกการออกฤทธิ์
มีประสิทธิภาพสูงกว่ายารักษาโรคจิตกลุ่มเดิม รักษาอาการด้านบวก และอาการด้านลบได้ด๊
มี potency ต่ำ ต้องใช้ยาขนาดสูง
EPS ต่ำมาก ผลข้างเคียงที่พบ คือ ง่วงซึม น้ำลายมาก ตาพร่า เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก น้ำหนักเพิ่ม ความดันโลหิตต่ำ เสี่ยงต่อการชัก อาการที่รุนแรง คือ ความผิดปกติของระบบเลือด agranulocytosis ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจเม็ดเลือดขาว (WBC count) ก่อนให้ยา ถ้าต่ำกว่า 3,500/ลบ.มม. จะให้ยาไม่ได้ และระหว่างให้ยาผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจเม็ดเลือดขาวทุกสัปดาห์ เป็นเวลา 18 สัปดาห์ ต่อจากนั้นตรวจทุกเดือน
การตอบสนองของยาใช้เวลา 4-6 เดือน ซึ่งช้ากว่ายาอื่น แต่เมื่อได้ผลจะเห็นการเปลี่ยนแปลที่ดีขึ้นชัดเจน
ขนาดยา 25 mg, 100 mg
Benzisoxazole
Risperidone : Risperdal
กลไกการออกฤทธิ์
มีประสิทธิภาพสูงกว่ายารักษาโรคจิตกลุ่มเดิม รักษา
อาการด้านบวก และอาการด้านลบได้ดี
มี potency สูง
ออกฤทธิ์เร็วและมีฤทธิ์อยู่นาน 24 ชั่วโมง จึงให้ยา
เพียงวันละ 1-2 ครั้ง แต่ยามีราคาสูง
EPS ต่ำ ที่พบคือ akathisia ได้แก่ กระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่งเคลื่อนไหวตลอดเวลา ผลข้างเคียงอื่นได้แก่ ง่วงนอน เวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ปากแห้ง น้ำลายมาก ความดันโลหิตต่ำเวลา ยืน หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีผื่น ผิวแห้ง ไวต่อแสง น้ำหนักเพิ่ม ขาดประจำเดือน และไม่หลั่งน้ำอสุจ
1.Typical antipsychotic drugs หรือ Dopamine antagonists (DA)
กลไกการออกฤทธิ์
1.ยับยั้งการจับของ Dopamineทำให้ Dopamine ลดลง
2.Dopamineในส่วนของ Mesolimbic และ Mesocortical ถูกยับยั้งทำให้ถูกรักษากลุ่มอาการด้านบวก(Positive-symptoms)และกลุ่มอาการต้านลบ (Negative-symptoms)ของผู้ป่วยได้
3.เมื่อ Dopamine receptor ถูกยับยั้งเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อยู่นิ่งไม่ได้ เคลื่อนไหวตลอดเวลา เดินตัวแข็งทื่อ มือสั่นๆเป็นผลข้างเคียงของยา Extrapyramidal symptoms (EPS) 2 กลุ่ม
Phenothiazine
Butyrophenone
ยาที่ใช้
Phenothiazine
Chlorpromazine
(CPZ) : Largactil
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency ต่ำ ต้องใช้ยาในขนาดสูงยาออกฤทธิ์หลังรับประทาน 30-60 นาที ฤทธิ์ของยาอยู่นาน 2-4 ชั่วโมง มีฤทธิ์ sedative สูง
เกิด EPS แต่ไม่มีอาการ tardive dyskinesia พบอาการง่วงนอนปากแห้งมาก เนื่องจากมี antihistamine effects และ anticholinergic effects สูง
ขนาดยา 25 mg, 50 mg, 100 mg, 200 mg
Thioridazine : Melleril
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency ต่ำ มีฤทธิ์ sedative และ antipsychotic ปานกลาง
EPS ต่ำกว่า chlorpromazine
ขนาดยา 10 mg, 25 mg, 50 mg, 100 mg
Perphenazine :Trilafon
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency ปานกลาง มีฤทธิ์ sedative ต่ำ มีฤทธิ์
antipsychotic สูง
EPS สูงกว่า chlorpromazine
ขนาดยา 2 mg, 4 mg, 8 mg
Trifluoperazine :Stelazine
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency สูง
EPS สูง มีอาการง่วงต่ำ และ anticholinergic effects ต่ำ
ขยาดยา 1 mg, 2 mg, 5 mg, 10 mg
Fluphenazine : Fendec, Proxilin
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency สูง มีฤทธิ์ sedative ต่ำ มีฤทธิ์
antipsychotic สูง
ออกฤทธิ์นาน นิยมฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 1 เดือน ยาจะออกฤทธิ์ในเวลา 1 ชั่วโมงหลังฉีด อาการทางจิตจะสงบลงภายใน 1-2 สัปดาห์ ฤทธิ์ของยาอยู่นาน 2-6 สัปดาห์เป็น long acting
EPS สูงกว่า chlorpromazine มีอาการง่วงนอน
และ anticholinergic effects ต่ำ
ขนาดยา 25 mg/ml
Butyrophenone
Haloperidol : Haldol,Halop
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency สูง มีฤทธิ์ sedative ต่ำ
กลไกการออกฤทธิ์คล้ายกับ phenothiazine แต่มีประสิทธิภาพแรงกว่า chlorpromazine หลังได้ยา 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น
EPS สูงกว่าการใช้ยากลุ่ม phenothiazine ที่พบบ่อย คือ การเคลื่อนไหวซ้ำโดยไม่ตั้งใจ ผู้ป่วยจะแสดงอาการเคี้ยวปาก ดูดริมฝีกปาก เดินตัวเอียง (tardive dyskinesia) ไม่ค่อยทำให้ง่วงนอนเพราะมี anticholinergic effects ต่ำ
ขนาดยา 0.5 mg, 2 mg, 5 mg, 10 mg และ ชนิดฉีด 5 mg/ml
ผลข้างเคียงของยารักษาโรคจิต
1.Extrapyramidal Symptoms (EPS)
Parkinsonism มักพบใน 4 สัปดาห์แรกของการใช้ยา เช่น การเคลื่อนไหวช้า (Akinesia)เดินขาลาก มีอาการสั่น (Tremor) กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Rigidity) สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงความรู้สึกเหมือนใส่หน้ากาก (Mask face) กลืนน้ำลายไม่ลง มีน้ำลายเต็มปาก
การพยาบาล
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการเหล่านี้จะเกิดได้ในระยะแรกที่ได้รับยาเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น จะหายไปได้เมื่อใช้ยาแก้แพ้ (Anticholinergic drugs/Antiparkinson drugs) และร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวได้ อาการ
ดังกล่าวจะไม่มีอันตรายกับผู้ป่วย เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
Acute dystonia มักเกิด 1-5 วันแรก หลังจากการใช้ยา มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle spasm) คอบิด (Torticollis) ไปข้างใดข้างหนึ่งหรือลำตัวบิดไปด้านข้าง กล้ามเนื้อที่หน้ากระตุก ขากรรไกรแข็ง น้ำลายไหล ลิ้นคับปาก พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ตาเหลือกขึ้นข้างบนตลอดเวลาหลังแอ่น
การพยาบาล
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการเหล่านี้จะเกิดได้ในระยะแรกที่ได้รับยาเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น จะหายไปได้เมื่อใช้ยาแก้แพ้ (Anticholinergic drugs/Antiparkinson drugs) และร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวได้ อาการ
ดังกล่าวจะไม่มีอันตรายกับผู้ป่วย เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
Akathisia มักเกิดใน 2-3 สัปดาห์แรกหลังจากการใช้ยา เป็นความรู้สึกกระวนกระวาย กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้ ผุดลุกผุดนั่งต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา มือและแขนสั่น มีอาการ คล้าย agitation
การพยาบาล
ระวังการเกิดอุบัติเหตุ และการรบกวน
ผู้อื่น คอยดูแลการรับประทานอาหาร
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการเหล่านี้จะเกิดได้ในระยะแรกที่ได้รับยาเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น จะหายไปได้เมื่อใช้ยาแก้แพ้ (Anticholinergic drugs/Antiparkinson drugs) และร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวได้ อาการ
ดังกล่าวจะไม่มีอันตรายกับผู้ป่วย เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
Tardive dyskinesia เกิดจากการใช้ยาในขนาดสูงเป็นระยะนานติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือนมีอาการของการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวหรือควบคุมไม่ได้ เช่น ดูดปาก แลบลิ้น เลียริมฝีปาก เคี้ยวปาก แสยะใบหน้า กลืนลำบาก
การพยาบาล
คอยสังเกตอาการ ถ้าพบควรให้อาหารที่มีแคลอรี่สูง อาหารอ่อน ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ แนะนำผู้ป่วยให้พูดช้าๆ ให้ผู้ป่วยพูดถึงความรู้สึกเขาออกมา
2.Neuroleptic malignant syndrome (NMS)
เป็นอาการที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก อาการสำคัญ คือ มีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็งอย่างรุนแรงไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ปัสสาวะออกน้อย ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ ระดับการรู้สึกตัวลดลง การทำงานของระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้ มักเกิดในสัปดาห์แรกของการรักษาหรือหลังเพิ่มขนาดยา
การพยาบาล : คอสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าพบรีบรายงานแพทย์ทราบเพื่อให้การช่วยเหลือ
3.Anticholinergic side effects จะทำให้มีผล
ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ เกิดจากการใช้ยา thioridazine เป็นส่วนใหญ่ โดยมีอาการดังนี้
ผลข้างเคียง/การพยาบาล
ปากแห้ง : ให้อมน้ำแข็งหรือจิบน้ำบ่อยๆ
ตาพร่ามัว : ให้ความมั่นใจว่าอาการจะหายไปได้ ไม่ควรขับรถจนกว่าอาการตาพร่าจะดีขึ้น ระวังการพลัดตกหกล้มจากการมองเห็นไม่ชัด
ปัสสาวะลำบาก : จดบันทึกน้ าดื่มและปัสสาวะเพื่อดูความสมดุลของน้ำที่ได้รับและการขับถ่ายออกไป หาิธีที่จะทeให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้เอง
ท้องผูก : แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกาก
ใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ ดื่มน้ำเพิ่มขึ้นถ้าไม่มีข้อห้าม และกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย
4.Adrenergic side effects มีความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ (Orthostatic hypotension) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะและหน้ามืด
การพยาบาล : . แนะนำผู้ป่วยให้ลุกขึ้นอย่างช้า ๆ จากท่านอนเป็นท่านั่ง หรือท่านั่งเป็นท่ายืน วัดความดัน
Endocrine effects ยารักษาโรคจิต มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายหลายชนิดที่พบบ่อย คือ ผู้หญิงมีการเพิ่มระดับ prolactin ซึ่งเป็นผลให้เต้านมคัด บางรายมีการหลั่งน้ำนม (Lactation) ประจำเดือนผิดปกติความต้องการทางเพศลดลง สำหรับผู้ชายอาจมีเต้านมโตขึ้น การหลั่งอสุจิลดลง มักเกิดจากยา thioridazine
การพยาบาล : อธิบายให้ผู้ป่วยฟังว่าอาการเหล่านี้จะเกิดชั่วคราวเท่านั้นและจะเป็นปกติได้ แนะนำเรื่ออาหารและการออกกำลังกาย
6.Skin reaction เกิดภายใน 1-5 สัปดาห์ หลังจากเริ่มใช้ยา อาจมีลมพิษหรือผิวหนังอักเสบเนื่องจากผิวหนังไวต่อแสงแดดมักเกิดจากการใช้ยา chlorpromazine
การพยาบาล :อาจหยุดยาชั่วคราว หรือให้ยาแก้แพ้และแนะนำผู้ป่วยให้ระวัง โดยใส่เสื้อแขนยาวหรือกางร่ม หรือใช้ยาทาผิวกันแสงแดดเมื่อจะออกไปข้างนอก
7.Hepatic effects ทำให้เกิดดีซ่านได้ จากยา
chlorpromazine ใน 1-2 เดือนแรกของการใช้ยา
การพยาบาล :สังเกตอาการดีซ่าน เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง
8.Hematologic effects ทำให้มีจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ (Agranulocytosis) ผู้ป่วยจะมีอาการติดเชื้อง่าย (เจ็บคอ มีไข้) พบได้จากยาchlorpromazine
การพยาบาล : สังเกตอาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอ มีไข้ รายงานให้แพทย์ทราบ
9.Effect on seizure threshold ผู้ป่วยจะมี
อาการชักง่ายขึ้น ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลมชัก
การพยาบาล :คอยสังเกตอาการชักของผู้ป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นได้
10.Ocular effects มีการเปลี่ยนสีที่เลนส์ลูกตาและที่ retina ท าให้ตาพร่ามองเห็นไม่ชัด พบในรายที่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานเป็นผลจาก thioridazine ขนาดสูง (800 mg/day)
การพยาบาล : คอยสังเกตอาการของผู้ป่วยและถ้าพบ
แนะน าให้ผู้ป่วยระวังการเคลื่อนไหว เพราะอาจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาโรคจิต
1) อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงความจำเป็นที่ต้องรับประทานยา
2) สังเกตและประเมินผลภายหลังการใช้ยา โดยพยาบาลต้องมีความรู้ เพื่อจะช่วยเหลือได้ทันท่วงที
3) ตรวจสอบทุกครั้งที่ให้ยาว่าได้รับยาครบถ้วนตามแผนการรักษา ในกรณีคำสั่งการให้ยากำหนดไว้ครั้งเดียวในหนึ่งวัน ควรจัดยาให้ผู้ป่วยช่วง 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน
4) การเตรียมยาฉีด ผู้เตรียมต้องหลีกเลี่ยงการแตะต้องยา เพราะระคายเคืองต่อผิวที่สัมผัส และไม่ควรน ายาแต่ละชนิดมาผสมรวมฉีดในกระบอกฉีดเดียวกัน การฉีดต้องฉีดอย่างช้าๆ เข้ากล้ามเนื้อมัดใหญ่ และเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดทุกครั้ง
5) ก่อนให้ยา chlorpromazine ทุกครั้ง ควรวัดความดันโลหิต และหลังให้ควรวัดซ้ าจนกว่าความดันโลหิตจะคงที่และอยู่ในเกณฑ์ปกติหากผิดปกติให้รายงานแพทย์
6) ยารักษาโรคจิตอาจท าให้ผู้ป่วยมีโอกาสชักได้ง่าย ในรายที่เป็นโรคลมชักพยาบาลต้องคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การช่วยเหลือ
7) ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดกรด 2 ชั่วโมงก่อนรับประทานยารักษาโรคจิต หรือให้ยาลดกรดหลังจากได้รับยารักษาโรคจิต 1 ชั่วโมง
8) ผู้ป่วยที่มีอาการง่วงนอน ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัดและประเมินด้วยว่านอนหลับเวลากลางคืนได้ดีหรือไม
9) ติดตามประเมินผล การบ าบัดรักษาทางจิต เช่น อาการประสาทหลอน
อาการผุดลุกผุดนั่งดีขึ้น การเข้าสังคมดีขึ้น และผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น
10) ถ้าเกิดอาการ anticholinergic effects หรือปัญหาที่สามารถช่วยเหลือได้ให้การพยาบาลตามปัญหาเพื่อลดอาการให้น้อยลง
11) หากพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ให้รีบรายงานแพทย์ทราบทันที พร้อมทั้งติดตามและให้การช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
12) ควรให้ค าแนะนำผู้ป่วยและญาติ
3.ยาคลายกังวล (Antianxiety Drugs/Anxiolytic Drugs/Minor Tranquillizers) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคทางจิตเวช ที่มีอาการวิตกกังวลเป็นสำคัญ มีฤทธิ์ทำให้ประสาทสงบ ลดความวิตกกังวลความกระวนกระวาย อาการตื่นเต้น หรือคลายเครียด ยากลุ่มนี้อาจเสพติดได้ถ้าใช้ยาเป็นเวลานาน ไม่ควรใช้ร่วมกับบาร์บิทูเรท และแอลกอฮอล์
ข้อบ่งใช้
1) โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder)
2) โรคประสาทวิตกกังวลรุนแรง (Panic disorder)
3) อาการกลัวการเข้าสังคม (Social phobia)
4) อาการวิตกกังวลจากสถานการณ์ (Situational anxiety)
5) อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) โดยใช้ยาในระยะเวลาสั้นๆ
6) อาการชัก (Anticonvulsants) ท าให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
7) อาการเพ้อและสั่น (Delirium tremens)
8) อาการถอนยาจากการงดดื่มสุรา หรือขาดสารเสพติดต่างๆ (Withdrawal symptoms)
ยาที่ใช้
Diazepam :Valium
Alprazolam :Xanax
Lorazepam :Ativan
Midazolam :Dormicum
กลไกการออกฤทธิ์
ยากลุ่ม benzodiazepines จะไปออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง โดยยับยั้งและปิดกั้น GABA บริเวณ limbic system และ subcortical ทำให้สมองส่วนที่รับความรู้สึกถูกกด การเคลื่อนไหวช้าลง ง่วงนอน
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาคลายกังวล
1) ถ้าเป็นผู้ป่วยใน สังเกตอาการข้างเคียงของยา เช่น ง่วงซึม เวียนศีรษะ สับสน มึนงง เดินเซ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
2) สังเกตผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้น เช่น อาการง่วงนอนมาก ความดันโลหิตต่ำ ปวดตรงตำแหน่งที่ฉีดยา ผิวหนังเป็นผื่น และอาการ paradoxical excitement เช่น ท่าทีไม่เป็นมิตร สับสน มีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ
3) ถ้าให้ยาคลายความวิตกกังวลวันละครั้ง ควรจัดให้ผู้ป่วยรับประทานก่อนนอนเพื่อส่งเสริมการนอนของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
4) ถ้าให้เป็นยาฉีด ควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อให้ลึก และค่อยๆ เดินยาอย่างช้าๆ เพราะยาอาจจะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อและทำให้เกิดอาการปวดตรงต าแหน่งที่ฉีดยา
5) ถ้าลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ ไม่ควรรับประทานยาเป็น 2 เท่า ในแต่ละมื้อ
6) แนะนำหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ ยาแก้แพ้หรือแก้หวัด และยาระงับประสาทต่าง ๆ เพราะจะเสริมฤทธิ์ยาคลายกังวล
7) แนะนำหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมาก เพราะว่าจะทำให้ไปลดฤทธิ์ของยาที่ทำให้นอนหลับ
8) แนะนำรับประทานผัก ผลไม้ ดื่มน้ าให้เพียงพอ วันละ 2.5-3.0 ลิตร และออกกำลังกาย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
9) แนะน าผู้ป่วยที่ติดยาเนื่องจากใช้เป็นเวลานานและปริมาณสูง (ได้รับยาต่อเนื่องนานเกิน 4 เดือน) ไม่ให้หยุดยาเองทันที เพื่อป้องกันอาการขาดยา ควรให้แพทย์เป็นผู้ลดยาเอง
6.ยารักษาอาการชัก
(Anticonvulsant Drug)
ยาที่ใช้
1.Valproic Acid (Depakene) Capsule 250 mg
Syrup 250 mg/5 ml
2.Phenytoin (Dilantin) Suspension 30 mg/5 ml, 125 mg/5 ml
Chewable tablets 50 mg Capsule 30 mg, 100 mg
Injection 50 mg/ml
3.Clonazepam (Klonopin) Tablets 0.5 mg, 1 mg, 2 mg
4.Primidone (Mysoline) Tablets 50 mg, 250 mg
Carbamazepine (Tegretol) Tablets 200 mg
ผลข้างเคียงของยา
อาจมีอาการเหงือกบวม คลื่นไส้ ผื่นแดง ง่วง มึนงง ซึม ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ยาที่ใช้รักษาและป้องกันอาการชักแบบ ต่างๆทั้งจากโรคลมชักเอง หรือจากภาวะอื่นๆเช่น ในผู้ที่มีอาการถอนสุรา (ถอนยา), เสียสมดุล เกลือแร่
4.ยาควบคุมอารมณ์ (Mood Stabilizing Drugs/Antimanic Drugs)
เป็นยาที่ใช้รักษา bipolar disorder โดยเฉพาะในระยะ mania และมีคุณสมบัติป้องกันการกลับเป็นซ้ าของโรค (Recurrence)
Lithium carbonate เป็นสารประกอบของเกลือธรรมชาติ สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายภายใน 1-3 ชั่วโมง และขับออกทางไต lithium จะออกฤทธิ์ควบคุมอาการคุ้มคลั่ง ต้องได้รับยา 1-2 สัปดาห์ จึงให้ผลในการรักษา เนื่องจาก lithium ออกฤทธิ์ช้า จึงมีฤทธิ์การป้องกันการททำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่น
ข้อบ่งใช้
1) โรคอารมณ์สองขั้ว ระยะคลุ้มคลั่ง (Bipolar disorder, mania type)
2) โรคจิตอารมณ์ (Schizoaffective disorder)
3) อาการก้าวร้าวรุนแรง (Chronic aggressive)
4) พฤติกรรมต่อต้านสังคม (Antisocial behavior)
5) อาการย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive compulsive disorder)
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ไปปรับเปลี่ยนสารสื่อประสาทบางชนิด ได้แก่ serotonin,
dopamine, norepinephrine และ acetylcholine ให้เกิดความสมดุล ทำให้อารมณ์คงที่มากขึ้น อาการสงบลง lithium มีผลต่อการท างานหรือการเผาผลาญของสารกลุ่ม sodium ใน nerve cells และ muscle cells ซึ่งมีผลให้ผู้ป่วยสงบลง
ผลข้างเคียงของยาควบคุมอารมณ์ Early
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย
กล้ามเนื้ออ่อนแรงและอ่อนเพลีย
มือสั่น โดยเฉพาะเวลาเขียนหนังสือ
ปากแห้ง กระหายน้ า ปัสสาวะบ่อย
ผลข้างเคียงของยาควบคุมอารมณ์ Late
1.1 อาการมือสั่นยังคงมีอยู่
1.2 กระหายน้ าและปัสสาวะบ่อยมากกว่า
1.3 บวมและมีน้ าหนักตัวเพิ่มมากขึ้น
1.4 อ า จ มีภ า ว ะ แ ท ร ก ซ้ อ น ข อ งhypothyroidism หรือ goiter
1.5 Leukocytosis
1.6 หัวใจเต้นผิดจังหวะ
1.7 ไตผิดปกติ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา lithium
1) ซักประวัติผู้ป่วยถึงการเป็นโรคประจ าตัวต่างๆ และการตรวจร่างกายของผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะเริ่มให้ยา lithium carbonate การตรวจร่างกายนี้รวมทั้งการวัดความดันโลหิต ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ หัวใจ และไต เพราะต้องระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต และ hypothyroidism
2) ติดตามระดับ serum lithium ผู้ป่วยจะต้องตรวจสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ใน 4 สัปดาห์แรก หรือจนกว่ายาคงที่ หลังจากนั้นตรวจทุก 1-2 เดือน ในครึ่งปีแรก และทุก 3-6 เดือน ตลอดการใช้ยาการเจาะเลือดวัดระดับยาควรท าเมื่อได้ยามื้อสุดท้ายก่อนเจาะเลือด 12 ชั่วโมง ระดับยาที่
เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 1.0-1.5 mEq/L
3) ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติว่า การรับประทานยา lithium ต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ยาจึงออกฤทธิ์ถึงระดับการรักษา ผู้ป่วยจึงอาการสงบลง และควรมารับการตรวจเลือดทุกครั้ง
4) ให้ผู้ป่วยรับประทานยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที เพราะยาทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
5) อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ถ้าลืมให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าลืมนานกว่า 3 ชั่วโมงหลังอาหาร ให้งดยาเม็ดที่ลืม แล้วรับประทานยามื้อถัดไปเวลาเดิม ห้ามรับประทานยาเป็น 2 เท่า
6) ผู้ป่วยที่มีอาการปากแห้ง คอแห้ง ให้จิบน้ าบ่อยๆ อมน้ าแข็ง หรือลูกกวาด และดูแลความสะอาดของปากและฟัน
7) ผู้ป่วยที่มีอาการง่วงซึม เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ควรจัดให้ผู้ป่วยพักผ่อน และไม่ควรนำเข้ากลุ่มกิจกรรมที่เป็นการกระตุ้นความคลุ้มคลั่ง
8) ให้ผู้ป่วยรักษาภาวะสมดุลของน้ าและเกลือแร่ (Fluid and electrolyte balance)เพราะอาจเกิดภาวะ hypernatremia การทำให้ร่างกายมีภาวะสมดุลของน้ าและเกลือแร
9) สังเกตอาการ mania และอารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ ของผู้ป่วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรตลอดจนผลของยาและอาการพิษที่อาจเกิดขึ้นได
10) ให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามปกติ แม้จะรู้สึกว่ามีอาการดีขึ้น ไม่ควรเพิ่มหรือลดยาเอง และยา lithium ต้องใช้เวลา 3-5 สัปดาห์ จึงเห็นผลในการรักษา
11) ให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการขับรถหรือท างานเกี่ยวกับเครื่องจักรที่เป็นอันตรายในระยะแรกที่ได้รับการบ าบัดด้วยยา จนกว่าระดับ serum lithium จะคงที่
12) แนะน าอาการข้างเคียงอาการเป็นพิษของยาให้ผู้ป่วยและญาติทราบเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง และญาติสังเกตอาการข้างเคียงของผู้ป่วยได้
Carbamazepine (Tegretol)เป็นยากันชัก น ามาใช้รักษาโรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) ทั้งในโรคอารมณ์สองขั้วระยะคลุ้มคลั่ง (Bipolar disorder, mania type) และโรคซึมเศร้า (Major depressivedisorder) ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยาเท่าๆ กับ lithium และ valproate
ข้อบ่งใช้
1) Acute mania ที่ไม่ตอบสนองต่อ lithium หรือ valproate
2) Acute mania ที่มีอาการ severe mania, mixed mania, rapid cycling (มีอาการมากกว่า 4 ครั้ง/ปี)
3) ป้องกันระยะยาวในผู้ป่วย bipolar disorder
4) ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการควบคุม impulse
กลไกการออกฤทธิ์ Carbamazepine ออกฤทธิ์ต่อหลายระบบ เช่น ช่วยเสริมการท างานของ serotoninเสริมการท างานของ GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ยับยั้งการท างานของเซลล์ประสาท ทำให้รู้สึกสงบ คลายความกังวล
ข้อควรระวัง
1) ควรระวังในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต และโรคไขกระดูก
2) ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และมารดาในระยะให้นมบุตร
ผลข้างเคียงของยา carbamazepine
1) คลื่นไส้อาเจียนในช่วงแรก กระหายน้ า ปวดท้อง ท้องเสีย
2) ง่วงซึม เดินเซ แขนขาไม่มีแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น พูดไม่ชัด
3) ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน
4) มีเสียงกริ่งหรือเสียงหึ่งในหู
5) ปวดเมื่อยตามตัว ปัสสาวะแสบขัด
6) มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ มีแผลแสบร้อนในปาก กลืนอาหารไม่ได้
7) อาจมีผื่นคัน ถ้ารุนแรงอาจเป็น Steven Johnson syndrome
การพยาบาลผู้ป ่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา carbamazepine
1) สังเกตและประเมินอาการของผู้ป่วย ตรวจสอบบันทึกสัญญาณชีพ
2) ให้ผู้ป่วยรับประทานยาพร้อมอาหารเพื่อลดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
3) ติดตามระดับเม็ดเลือดขาว ถ้าต่ ากว่า 4,000/ลบ.ซม. ต้องรายงานแพทย์เพื่อหยุดยา
4) ให้การดูแลใกล้ชิด ป้องกันอุบัติเหตุ
5) ป้องกันการติดเชื้อ โดยให้ผู้ป่วยรักษาความสะอาดร่างกาย ช่องปาก เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน
6) แนะน าว่าถ้ามีอาการไข้สูง เจ็บคอ มีแผลในปาก ให้รีบปรึกษาแพทย์
5.ยาลดอาการข้างเคียงของยาทางจิตเวช (Anticholinergic Drugs/Antiparkinson Drugs)
อาการ parkinsonism เป็นกลุ่มอาการที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวผิดปกติ คือกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Rigidity) ไม่มีแรงเคลื่อนไหว (Akinesia) และมือสั่น (Tremor) การเคลื่อนไหวช้าแขนขาสั่น พบในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาโรคจิต มักเกิดใน 4 สัปดาห์แรกของการรักษา
ข้อบ่งใช้
ใช้ยานี้เพื่อป้องกันและลดอาการข้างเคียงโดยเฉพาะอาการ EPS ที่เกิดจากการใช้ยารักษาโรคจิต
ยาที่ใช้
Trihexyphenidyl : Aca, Artane,Benz, Benzhexol
Benztropine :Cogentin
Diphenhydramine :Benadryl
กลไกการออกฤทธิ์
เนื่องจากยารักษาโรคจิตออกฤทธิ์ยับยั้ง/ปิดกั้น dopamine receptor ใน
สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ท าให้ปริมาณ dopamine neurotransmitter และacetylcholine neurotransmitter ไม่สมดุล คือ มี acetylcholine และขาด dopamine ยาในกลุ่มนี้จะไปลดปริมาณ acetylcholine และเพิ่มปริมาณ dopamine เพื่อให้เกิดความสมดุลเมื่อสารทั้งสองนี้อยู่ในภาวะสมดุลก็จะท าให้อาการ parkinson ทุเลาลง
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วย gluacoma, myasthenia gravis และ ผู้ป่วย prostatic hypertrophy
ผลข้างเคียงของยาลดอาการข้างเคียงของยารักษาโรคจิต
Anticholinergic effects เช่น ปากแห้ง
ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะล าบากในผู้สูงอาย
คลื่นไส้ปั่นป่วนในท้อง
Sedation, Drowsiness, Dizziness
Orthostatic hypotension
. Anticholinergic delirium อาการส าคัญ คือ
สับสน ไม่รู้วัน เวลา สถานที่
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดอาการข้างเคียงของยารักษาโรคจิต
1) ให้ผู้ป่วยรับประทานยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเพื่อป้องกันการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
2) ให้ดื่มน้ า จิบน้ าบ่อยๆ อมลูกกวาด อมน้ าแข็ง เพื่อลดอาการปากแห้ง
3) ให้รับประทานอาหารที่มีกากใย และเพิ่มกิจกรรมในรายที่มีอาการท้องผูก
4) ตรวจและบันทึกสัญญาณชีพและความสมดุลของน้ า
5) ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ าเสมอ และแนะน าให้เปลี่ยนอิริยาบถจากนอนเป็นนั่ง หรือนั่งเป็นยืนอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด
6) อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการต่างๆ เป็นผลข้างเคียงของยาไม่เป็นอันตรายเพื่อให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล
7) ถ้าลืมรับประทานยา แนะน าให้รับประทานยาทันทีเมื่อนึกได้ แต่ให้ห่างจากมื้อต่อไป 2 ชั่วโมง ไม่รับประทานยาเป็น 2 เท่าในมื้อเดียว
8) ระวังอุบัติเหตุ ให้ผู้ป่วยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสายตาในรายที่มีอาการและง่วงซึม อ่อนเพลีย แนะน าไม่ให้ขับรถยนต์หรือใช้ของมีคม
2.ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant Drugs)
เป็นยารักษาอาการซึมเศร้าเนื่องจากสาเหตุต่างๆ และได้ผลดีมากในโรคซึมเศร้า
ข้อบ่งใช้
โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)
โรคอารมณ์สองขั้ว ระยะซึมเศร้า
(Bipolar disorder, depressed type)
โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) เช่น Panic disorder, Obsessive compulsive disorder: OCD, Social phobia
โรควิตกกังวลที่เกิดภายหลังการเผชิญเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต (Post Traumatic Stress Disorder: PTSD)
โรคบูลิเมีย (Bulimia nervosa)
อาการปวดทางกายที่มีสาเหตุจากปัญหาด้านจิตใจ (Pain disorder)
โดยเฉพาะ อาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain)
อาการซึมเศร้าที่พบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นๆ
ประเภทของยา
1) Monoamine Oxidase Inhibitors (MAOIs) กลไกการออกฤทธิ์ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ monoamine oxidase ที่ใช้เผาผลาญ amine neurotransmitters ท าให้ปริมาณ monoamine เพิ่มขึ้น ระดับ serotonin,norepinephrine และ dopamine ในสมองสูงขึ้น
ผลข้างเคียงของยา
Cardiovascular effects อาการ postural hypotension การพยาบาล : ก่อนใช้ยาต้องตรวจหัวใจอย่างถี่ถ้วน และระหว่างใช้ยาต้องตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ
Sexual side effects พบในผู้ป่วยที่ได้รับยาในปริมาณสูง อาจมี impotence และanorgasmia การพยาบาล : รายงานแพทย์เพื่อเปลี่ยนยา
Sedative and weight gain อาการง่วงนอนและน้ำหนักเพิ่ม การพยาบาล :รายงานแพทย์เพื่อลดปริมาณยาและควบคุมน้ำหนัก
Hypertensive crisis เกิดความดันโลหิตสูงมากอย่างกะทันหัน การพยาบาล :ควบคุมอาหารที่มี tyramine อย่างเคร่งครัดซึ่งพบมากใน ชีส เนยแข็ง ตับไก่ ไวน์
Precipitation of mania ยาอาจกระตุ้นให้เกิดอาการ mania ในผู้ป่วย bipolar disorder การพยาบาล: ประเมินสภาพอารมณ์ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
2)Tricyclic Antidepressants (TCAs) ออกฤทธิ์ยับยั้งการเก็บกลับคืนของ serotonin และ norepinephrine (Serotonin norepinephrine reuptake inhibitors) เข้าไปในปลายประสาท หลังจากหลั่งสารสื่อประสาทนี้ในระบบประสาทส่วนกลาง ทeให้ serotonin และ norepinephrineเพิ่มขึ้น จึงยกระดับอารมณ์ให้ดีขึ้น
ยาที่ใช้
Amitriptyline : Tryptanol
Imipramine : Tofranil
Nortriptyline : Nortrilen
ผลข้างเคียงของยารักษาอาการซึมเศร้ากลุ่ม TCAs
ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า เวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก ท้องผูก การพยาบาล : ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าอาการจะหายไปหลังจากได้รับยา 2-3 สัปดาห์ ให้การช่วยเหลือ
มือสั่น หงุดหงิด กระสับกระส่าย ผุดลุกผุดนั่ง กล้ามเนื้อกระตุก การพยาบาล:. ระมัดระวังอุบัติเหตุ เช่น ตกเตียง หกล้ม
เพราะผู้ป่วยมีการทรงตัวไม่ดี โดยเฉพาะผู้สูงอาย
เกิดภาวะ orthostatic hypertension หัวใจเต้นผิดปกติ :. แนะนำผู้ป่วยให้ลุกขึ้นอย่างช้าๆ จากท่านอนเป็นท่านั่ง หรือท่านั่งเป็นท่ายืน วัดความดันโลหิตท่านอน
3) Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) ออกฤทธิ์ยับยั้งการเก็บกลับคืนเฉพาะ serotonin (Selective serotoninreuptake inhibitors) ทำให้ serotonin เพิ่มขึ้นยกระดับอารมณ์ให้ดีขึ้น
ยาที่ใช้
Fluoxetine : Prozac, Flulox
Paroxetine : Paxil, Seroxat
Sertraline : Zoloft
ผลข้างเคียงของยารักษาอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs
ผลต่อสมอง มึนงง ง่วงนอน นอนไม่หลับ ยา
บางตัวทำให้ง่วงนอน เช่น sertraline paroxetine
ปวดศรีษะ น้ำหนักลด
ความต้องการทางเพศลดลง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
4) New Generation เป็นยารักษาอาการซึมเศร้ากลุ่มใหม่
ยาที่ใช้
Mianserin :Tolvon
Tianeptine : Stablon 12.5 mg
Trazodone :Desirel
Mirtazapine : Remeron3
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาอาการซึมเศร้า
1) อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ยาจะให้ผลในการรักษาหลังจากับประทานไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความมั่นใจในการรักษา และผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
2)อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบอาการข้างเคียงของยา และวิธีการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการข้างเคียงของยา เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องและลดความกังวล
3) อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าแพทย์จะแบ่งยาให้รับประทานเป็นหลายมื้อเพื่อลดอาการข้างเคียงของยา
4) ตรวจสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินภาวะความดันโลหิตต่ำและให้เคลื่อนไหวช้าๆ ในรายที่มี orthostatic hypotension
5) ให้หลีกเลี่ยงการใช้สายตาเมื่อมีอาการตาพร่ามัว
6) ให้จิบน้ำบ่อยๆ ดื่มน้ำ เคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล เมื่อปากคอแห้ง และแนะนำให้ดูแลสุขภาพช่องปาก
7) ให้รับประทานอาหารที่มีกากใย และดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันท้องผูก
8) ให้หลีกเลี่ยงการท างานกับเครื่องจักรกล การขับรถ และการใช้ของมีคมเมื่อมีอาการง่วงซึมหรืออ่อนล้า
9) ให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ ไวน์เนื่องจากแอลกอฮอล์ท าให้ฤทธิ์ของยามีประสิทธิภาพลดลง
10) ให้ความรู้เรื่องการควบคุมน้ าหนักและชั่งน้ าหนักผู้ป่วย เพราะยาทำให้เจริญอาหารและน้ าหนักเพิ่ม เช่น mirtazapine
นางสาวสุรีรัตน์ เผ่าหอม เลขที่ 69B นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3รุ่นที่ 26