Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเลือดในสตรีตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
โรคเลือดในสตรีตั้งครรภ์
ABO Incompatibility
ความหมาย
ABO เป็นหนึ่งสาเหตุของ hemolytic disease ของทารกแรกเกิด คือเกิดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หมู่เลือด ABO ของมารดาและทารกเข้ากันไม่ได้ ที่พบบ่อยที่สุดคือมารดามีหมู่เลือด O และลูกมีหมู่เลือด A, B หรือ AB ทำให้เกิดความเข้ากันไม่ได้ของหมู่เลือด (incompatibility) เป็นภาวะที่มักจะเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ใดก็ได้ อาการของโรคจะไม่เพิ่มความรุนแรงในครรภ์หลังๆ
สาเหตุ
ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกของทารกที่มีสาเหตุจากหมู่เลือดระบบ ABO ไม่เข้ากับมารดาพบเฉพาะในแถบประเทศตะวันตก ส่วนใหญ่จะพบในทารกหมู่เลือด A หรือ B ที่เกิดจากมารดาหมู่เลือด O แนวโน้มทารกที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในคนผิวดำ (Black)
อาการและอาการแสดง
ในทารกมักจะไม่รุนแรง ส่วนใหญ่พบเพียงอาการตัวเหลืองเท่านั้น และมักจะมีอาการเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ไม่ค่อยพบอาการซีดเนื่องจากการสร้างแอนติเจนในหมู่เลือดระบบ ABO ของทารกนั้นจะยังไม่ดีเท่าในวัยผู้ใหญ่
ภาวะแทรกซ้อน
ทารกแรกเกิดที่ไม่ได้รับการรักษาเสี่ยงต่อการที่สมองถูกทำลายอย่างรุนแรงจากภาวะ kernicterus ทารกที่เกิดภาวะ kernicterus จะเสียชีวิตประมาณ 75 %
-
การรักษา
การรักษาระหว่างตั้งครรภ์ยังไม่จำเป็น หากรุนแรงอาจต้องเปลี่ยนถ่ายเลือดในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่หากอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป การรักษาที่ดีที่สุดคือ การกระตุ้นให้คลอด
การพยาบาล
-
อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม พยาธิสรีรภาพ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป รวมถึงการรักษาและพยาบาล แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว
-
-
ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟ ให้วางทารกไกลแสงไฟพอประมาณ ระวัง burn พลิกตัวทุก 3-4 ชั่วโมง และปิดตาทารกด้วย eye patches
Rh Incompatibility
สาเหตุ
การไม่เข้ากันของกลุ่มเลือด Rh ของมารดาและทารกในครรภ์ Rh เป็น Antigen ตัวหนึ่งที่มีเม็ดเลือดแดง พบในคนผิวขาวร้อยละ 85 และร้อยละ 95 พบในคนผิวดำ
พยาธิสภาพ
Rh Isoimmunization จะเกิดขึ้นเมื่อแม่มี Rh negative และทารกมี Rh positive โดยในขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของมารดา ทำให้เกิดการสร้าง antibodies ในแม่ซึ่ง antibodies นี้จะไหลเวียนกลับเข้าสู่ทารกในครรภ์ และ antibodies เหล่านี้จะไปจับและทำลายเม็ดเลือดแดงของทารก ทำให้ทารกมีภาวะโลหิตจาง
อาการและอาการแสดง
หากทารกมี hemolysis ที่รุนแรงขณะอยู่ในครรภ์ทารกจะซีดมาก อาจเกิดหัวใจวายตัวบวมนํ้าที่เรียกว่า hydrops fetalis และอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้
-
ผลกระทบต่อทารก
มักพบผลกระทบต่อทารกในการตั้งครรภ์ที่ 2 ทำให้ทารกเกิดภาวะ neonatal anemia, hydrops fetalis, ตับและม้ามโต, hyperbilirubinemia, kernicterus, dead fetus in uterus, still birth
การประเมินและวินิจฉัย
-
การตรวจร่างกาย ทารกมีภาวะโลหิตจาง ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อย จนถึงซีดมาก ตัวบวมน้ำ ตับม้ามโต และเหลืองเร็วมาก
-
การพยาบาล
-
-
เจาะเลือดครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ เพื่อตรวจหาหมู่เลือด Rh typing ทุกรายหากหญิงตั้งครรภ์มี Rh negative ควรตรวจ Indirect Coomb’s test
-
-
Thalassemia
ความหมาย
โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดที่พบบ่อยมากที่สุดในประเทศไทย พบได้ร้อยละ 20 ถึง 30 ของประชากรไทยเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย
สาเหตุ
ความผิดปกติทางโครงสร้าง หมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงการเรียงตัวของ amino acid บน polypeptide chain ทำให้เกิด Hb ที่ผิดปกติ
ความผิดปกติทางปริมาณ หมายถึง มีการสร้าง globin สายใดสายหนึ่งลดลงหรือไม่สร้างเลย โดยที่โครงสร้างของ polypeptide chain ยังปกติ
-
พยาธิสภาพ
ผู้ป่วยมีอาการซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับม้ามโต ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงทดแทนตลอดเวลา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะกระดูก เช่น รูปใบหน้าเปลี่ยน กระดูกบางแตกหักง่าย เป็นต้น มีนิ่วใน ถุงน้ำดี ในรายที่ซีดมาก หัวใจจะทำงานหนักเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายทำให้หัวใจโต และหัวใจล้มเหลวได้
อาการและอาการแสดง
อาการรุนแรงมาก คือ homozygous α-thalassemia (Hb Bart’s hydrop fetalis) เป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงที่สุด ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเสียชีวิตไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด ทารกจะมีลักษณะบวมน้ำทั้งตัว ซีด ตับม้ามโต รกมีขนาดใหญ่
อาการรุนแรงปานกลางได้แก่ Hb H, α-thalassemia/Hb CS โดยจะมีอาการซีดปานกลาง ตับและม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลือง มีการเจริญเติบโตเกือบเหมือนคนปกติ
กลุ่มที่ไม่มีอาการ ได้แก่กลุ่มที่เป็นพาหะ และกลุ่ม homozygous Hb E, homozygous Hb CS โดยจะไม่มีอาการแสดง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีโอกาสติดเชื้อเนื่องจากความต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ในรายที่มีภาวะ Hb Bart’s hydrop fetalis มักเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ คลอดยาก เนื่องจากทารกมีท้องบวมโต และอาจตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ผลต่อทารก
เกิดภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ น้ำหนักน้อย หรือขาดออกซิเจนในระยะคลอด และอาจได้รับการถ่ายทอดความผิดปกติของโครโมโซมทำให้เป็นโรคหรือเป็นพาหะ
การประเมินและวินิจฉัย
-
-
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจ CBC จะพบ Hb, Hct และจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ
-
-
-
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย และสามีเข้าใจถึงความจำเป็นในการคัดกรองหาพาหะธาลัสซีเมีย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษา
แนะนำให้ตรวจทั้งสามีและภรรยาไปพร้อมกันเพราะหากตรวจสตรีตั้งครรภ์เพียงคนเดียวก่อนแล้วพบว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียจึงค่อยติดตามสามีมาตรวจภายหลัง จะทำให้เสียเวลามากขึ้น จนทำให้อายุครรภ์มากเกินกว่าที่จะตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดได้
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ลักษณะของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความแตกต่างระหว่างเป็นโรคและเป็นพาหะ อาการและอาการแสดงของโรค ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การรักษาและการพยาบาลที่จะได้รับ
ในกรณีที่ทั้งสตรีตั้งครรภ์และสามีเป็นคู่เสี่ยงของโรคธาลัสซีเมียที่อาการรุนแรง ควรแนะนำเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด
-
ในกรณีที่ดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการป้องกันการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การรับประทานยาตามแผนการรักษา การมาตรวจตามนัด