Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Placenta previa (ภาวะรกเกาะต่ำ),…
Placenta previa
(ภาวะรกเกาะต่ำ)
ความหมาย
ภาวะที่รกปิดขวางหรือคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือ ปกคลุมทั้งหมด ซึ่งปกติจะอยู่ด้านบนของมดลูก และห่างจากปากมดลูก
เมื่อถึงเวลาคลอด ปากมดลูกจะเปิดขยายออก ทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและมดลูกฉีดขาด มีเลือดออกมากทั้งก่อนหรือในขณะคลอด เกิดความเสี่ยงต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์
อาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้แพทย์ จึงนิยมให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะต่ำทำการผ่าคลอด (Caesarean Section)
อาการ
ก่อนการคลอด โดยอาการที่พบ คือ มีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากทางช่องคลอด และมักไม่ มีความเจ็บปวดใด ๆ
ช่วงหลังของการตั้งครรภ์เมื่อเลือดหยุดไหล แล้วอาจกลับมาไหลอีกในช่วง 2-3 วันหรือ ในช่วงสัปดาห์ต่อมา บางรายอาจมีอาการปวด เจ็บแปลบ หรือมีการบีบตัวของมดลูกร่วมด้วย
หากเสียเลือดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ผัวซีด หายใจสั่น ชีพจรอ่อนหรือเต้นเร็ว กว่าปกติความดันในเลือดลดต่ำลง โลหิตจาง เป็นต้น
ลักษณะการเกิดภาวะรกเกาะต่ำ
แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
Low-Lying รกจะอยู่บริเวณด้านล่างใกล้กับ ขอบของปากมดลูก จะเกิดขึ้น ในช่วงเริ่มต้นถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์ แต่ยังคลอดทางช่อง คลอดได้ตามปกติ
Marginal รกจะอยู่ที่บริเวณส่วนล่างของมดลูก และจะดันถูกปากมดลูกอาจทำให้เสียเลือด มากขณะคลอด มีโอกาสคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ หรืออาจต้องผ่าคลอด
Partial รกจะปิดขวางหรือคลุมที่บริเวณปากมดลูกบางส่วน มักจะต้องผ่าคลอด
Complete รกจะปิดหรือคลุมที่บริเวณปากมดลูกทั้งหมด เป็นสาเหตให้คลอดทางช่องคลอดตามปกติไม่ได้ จึงต้องผ่าคลอด แต่อาจทำให้เสียเลือดมาก รวมถึงเกิดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิภาวะรกเกาะต่ำ
ตำแหน่งที่ผิดปกติของทารกในครรภ์
การมีแผลที่ผนังมดลูก
การผ่าคลอดในการตั้งครรภ์ในอดีต
การตั้งครรภ์แฝด หรือ มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน
การตั้งครรภ์ตั้งแต่ครรภ์ที่ 2 เป็นต้นไป
มดลูกที่มีขนาดใหญ่ หรือ มีรูปร่างที่ผิดปกติ
หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งงแต่ 35 ปี ขึ้นไป
หญิงตั้งครรภ์ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่
การวินิจฉัย
ภาวะรกเกาะต่ำส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในช่วงสปัดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์โดยแพทย์จะวินิจฉัยด้วยการอลตร้า ซาวด์
มี 2 วิธี
ตรวจทางช่องคลอด แพทย์จะใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อตรวจภายในช่องคลอดและปากมดลูก
ตรวจทางหน้าท้อง โดยแพทย์จะทาเจลที่บริเวณหน้าท้อง จากนั้นจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ตัวแปลงสัญญาณ(Transducer) เพื่อตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และหาตำแหน่งของรก
การรักษา
การรักษาภาวะรกเกาะต่ำจะขึ้นอยู่กับเลือดที่ไหลออกมา จากช่องคลอด หรือ อาจพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น สุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารก ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์
ตำแหน่งของทารกในครรภ์มารดา แพทย์จะรักษาโดย พิจารณาถึง ลักษณะและปริมาณของเลือดที่ไหลออกมา จากช่องคลอดเป็นหลัก
ในกรณีที่ไม่มีเลือด หรือ มีเลือดออกเพียงเล็กน้อย แพทย์อาจแนะนำให้นอนพักอยู่บนเตียงที่บ้าน ลดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ลุกขึ้นหรือนั่งลงได้ในเฉพาะเวลาที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
ในกรณีที่มีเลือดออกมาก แพทย์อาจแนะนำให้นอนพักที่โรงพยาบาล และจำเป็นต้องให้เลือดเพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป แพทย์อาจให้ยาป้องกันการคลอดก่อนกำหนด หรือ มีการเตรียมผ่าคลอด และแพทย์จะมีการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เพื่อเร่งการพัฒนาปอดของทารก
ในกรณีที่มีเลือดออกไม่หยุด รวมถึงเกิดภาวะเครียดของทารกในครรภ์ แพทย์จะผ่าคลอดฉุกเฉิน ถึงแม้ว่าจะยังไม่ ครบกำหนดคลอดก็ตาม
ภาวะรกเกาะต่ำในหญิงตั้งครรภ์ในระยะแรก ๆ ส่วนมากมักจะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรักษา เพราะเมื่อมดลูกโตขึ้นจะดึงให้รกเคลื่อนตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนอยู่ในตำแหน่งที่ปกติ คือ ด้านบนของมดลูก
ภาวะแทรกซ้อน
คลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 2 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะต่ำ
รกที่ฉีกขาด หรือ มีเลือดออก จะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางกับทารก และต้องผ่าคลอด (Cesarean Section) แบบฉุกเฉิน
หากเสียเลือดมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ผิวซีด หายใจสั้น ชีพจรอ่อนหรือเต้นเร็วกว่า ปกติ ความดันในเลือดลดต่ำลง โลหิตจาง เป็นต้น
การป้องกัน
ภาวะรกเกาะต่ำในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถกำหนด หรือ ควบคุมการ ยึดเกาะของรกในมดลูกได้
ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้
การรักษาสุขภาพ
การงดสูบบุหรี่
การพยาบาล
ก่อนคลอด
กรณีสตรีตั้งครรภ์มีเลือดออกก่อนคลอด โดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ร่วมด้วย พยาบาลผดุงครรภ์ควรรีบประเมินหา สาเหตุและระลึกถึงภาวะรกเกาะต่ำร่วมด้วยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรกเกาะต่ำ
หลังคลอด
สังเกตลักษณะ สี และปริมาณของน้ำคาวปลา (lochia) เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ
ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ประเมินภาวะซีดและปริมาณเลือดทิออก ทั้งจากบริเวณ ตำแหน่งผ้าปิดแผลทางหน้าท้อง และทางช่องคลอด (bleeding per vagina)
ดูแลให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกเช่น ออกซิโตซิน (oxytocin) ตามแผนการรักษา เพื่อช่วยให้ มดลูกหดรัดตัวดี ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ช่วยเหลือให้มีการปรับตัวในระยะหลังคลอดอย่างเหมาะสม
ประเมินชีพจร การหายใจ ความดันโลหิตการหดรัดตัวของมดลูก และเลือดที่ออกทางช่องคลอดทุก 15 นาที จำนวน 4 ครั้ง ทุก 30 นาที จำนวน 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าจะปกติ จากนั้นประเมิน ทุก 4 ชั่วโมง
ช่วยเหลือในการดูแลบุตรเพื่อลดความเครียด และความวิตกกังวล และส่งเสริมการพักผ่อนให้เพียงพอ
ดูแลและแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน
แนะนำการรักษาความสะอาดร่างกายทั่วไปและการทำความ สะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคุมกำเนิดและการเว้น ระยะการมีบุตรอย่างน้อย 1-2 ปี
ศิริกานดา แซ่หาง รหัส 63019972