Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 เครื่องมือในการบําบัดทางการพยาบาลจิตเวช, น.ส.สุภาวรรณ อะโนทัย…
บทที่ 3 เครื่องมือในการบําบัดทางการพยาบาลจิตเวช
3.1 การตระหนักรู้ในตนเอง (Self awareness)
การตระหนักรู้และการเข้าใจในตนเอง
ประกอบด้วยมโนมติสําคัญ 8 ประการ
อัตตา (Self) หรือตัวตนของตนเอง
อัตมโนทัศน์ (Self concept)
อุดมคติแห่งตน (Self Idea/Image) เป็นอุดมคติ ความหวัง ภาพในอนาคตหรือความปรารถนาที่ตนเอง
อยากเป็น
ภาพลักษณ์ทางกายแห่งตน (Body Image) เป็นการรับรู้เกี่ยวกับร่างกายของตน
มโนธรรมแห่งตน (Moral Image) เป็นความคิด ความเชื่อ การตัดสินใจเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรม
ต่าง ๆของตน
ศักดิ์ศรีแห่งตน (Self esteem) เป็นการยอมรับนับถือตนเอง ประเมินตนเองในด้านบวกและลบ
เอกลักษณ์เฉพาะตน (Self of identity) เป็นส่วนประกอบที่สําคัญของความเป็นตัวของตนของบุคคลมี
ความแตกต่างเฉพาะคน
การตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง (Self awareness and Self understanding) ประกอบด้วยการรับรู้
และการเข้าใจตนเองในด้านต่าง ๆ
แนวทางการพัฒนาการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
ขอบเขตการรับรู้ของตนเองขยายกว้างออกดังนี้
การเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง
การประเมินตนเองตามความเป็นจริง ไม่อคติ มองหรือคิดเข้าข้างตนเอง
การพัฒนาจิตใจโดยการศึกษาธรรมะประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนาและคุณธรรมที่ได้กําหนดไว้
Abraham Maslow ได้สรุปลักษณะของบุคคลที่มีความเข้าใจต่อตนเองและโลกอย่างถ่องแท้ (Self
actualization)
สามารถเข้าใจสภาพความเป็นจริง โดยถ่องแท้
ยอมรับตนเองและผู้อื่น
มีความเป็นธรรมชาติปราศจากการแสแสร้ง
วิเคราะห์ปัญหาได้และแก้ไขได้ตรงจุดโดยไม่เข้าข้างตนเอง
มีความสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข
มีอิสระเสรี มีความเป็นตัวของตัวเอง
มองโลกและคนรอบข้างในแง่ดี มองปัญหาในเชิงบวก
มีการตื่นตัวอย่างมีสติ และรู้สึกซาบซึ้งในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี เป็นตัวอย่างที่ดีพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
รู้จักคบเพื่อนที่มีทัศนคติตรงกัน
ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง เป็นประชาธิปไตย
ยึดมั่นในหลักศีลธรรม จรรยา มีธรรมประจําใจ รู้ความถูกต้องดีงาม
มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้แก่ชีวิต ตื่นตัวตลอดเวลา
มีอารมณ์ขันอย่างมีสติ
ประโยชน์ในการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
บุคคลสามารถเข้าใจตนเองในทุกๆด้าน
บุคคลสามารถนาข้อมูลที่ได้จากการรับฟัง
บุคคลสามารถใช้ประสบการณ์ที่เรียนรู้และเช้าใจตนเองเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้และทาความเข้าใจ
บุคคลอื่น
การมีสติระลึกรู้เท่าทันความคิดอารมณ์ความรู้สึกของตนจะช่วยให้เราสามารถควบคุมตนเองและแสดง
พฤติกรรมออกมาอย่างเหมาะสมหรือเรียกว่ามีสติปัญญาทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
3.1 การใช้ตนเองเพื่อการบําบัด (Therapeutic use of Self)
พยาบาลต้องพยายามตระหนักในตนเองที่จะเรียนรู้จักและเข้าใจตนเองให้มากที่สุดเพื่อที่จะเรียนรู้และ
ทาความเข้าใจพฤติกรรมของผู้รับบริการและครอบครัว
ประยุกต์องค์ความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาล และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการพยาบาลแก่บุคคล
ที่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถผสมผสานการใช้สัมพันธภาพเพื่อการบําบัดกับการใช้ตนเองเพื่อการบําบัดในการพยาบาล
บุคคลมีปัญหาสุขภาพจิต
ปัจจัยสนับสนุนให้การใช้ตนเองเพื่อการบําบัดและการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดประสบผลสําเร็จ
คุณลักษณะของพยาบาลต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหา
สุขภาพจิต
การรักษาความลับ : รักษาจรรยาบรรณของวิชาชีพ รักษาความลับเรื่องราวของผู้รับบริการอย่าง
เคร่งครัด
มีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการใช้ตนเองเพื่อการบําบัด
3.2 สัมพันธภาพเพื่อการบําบัด (Therapeutic relationship)
สัมพันธภาพใกล้ชิด (Intimate Relationship)
เป็นสัมพันธภาพที่มีลักษณะใกล้ชิดเป็นส่วนตัวที่เกิดใน
บุคคลสองคนที่มีความใกล้ชิดกันและมีความผูกพันทางอารมณ์ต่อกันมีความเชื่อถือไว้วางใจกัน จนสามารถรับรู้
เรื่องราวเป็นส่วนตัวที่ไม่อาจเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบได้
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
เป็นกระบวนการที่พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยควบคู่กับการใช้เทคนิคการ
สื่อสารเพื่อการบําบัดเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย โดยมุ่งไปที่การดูแลความเจ็บป่วย
สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ (Professional Relationship)
เครื่องมือสําคัญในการปฏิบัติการพยาบาล พยาบาลจึงควรมีความรู้และความเข้าใจแนวคิดทฤษฎีที่
เกี่ยวข้อง สัมพันธภาพเพื่อการบําบัดมีลักษณะที่แตกต่างจากสัมพันธภาพทางสังคมโดยทั่วไป
Goal directed เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่มีจุดประสงค์เฉพาะเพื่อการช่วยเหลือผู้รับบริการให้พัฒนา
ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
Helping เป็นสัมพันธภาพที่พยาบาลมุ่งให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการเป็นสําคัญ คือจะเป็นเพียงผู้ให้แต่
ไม่เป็นผู้รับ และไม่หวังผลตอบแทน
Process dynamic เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน มีการประเมินผลเป็นระยะ หากสัมพันธภาพดําเนิน
ไปไม่ดี หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ พยาบาลต้องปรับปรุงรูปแบบของสัมพันธภาพใหม่
Action-oriented การสร้างสัมพันธภาพจะนําปฏิกิริยาของผู้รับบริการมาเป็นแนววิเคราะห์เพื่อช่วย
เสริมสร้างและพัฒนาความสามารถในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
Satisfaction gain ความพอใจของพยาบาลอยู่ที่ว่าผู้รับบริการได้รับการเรียนรู้และพัฒนาบุคลิกภาพ
และพัฒนาความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นและกลับเข้าสู่สังคมได้
Terminated-relationship เป็นสร้างสัมพันธภาพที่มีการเริ่มต้นและการสิ้นสุด
เป้าหมายในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดมีดังนี้
เพื่อให้โอกาสผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
เพื่อให้ผู้รับบริการรู้จักตนเองอย่างถูกต้อง ยอมรับตนเอง และเพิ่มความเคารพนับถือตนเอง
เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ รู้จักพึ่งตนเอง ในขณะเดียวกันสามารถอยู่
ร่วมกับคนอื่นได้ สามารถที่จะเป็นผู้ให้และผู้รับความรักจากคนอื่นได้
เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจปัญหาของตนเองได้ตรงตามความเป็นจริง
เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติตนที่เหมาะสม
ระยะของสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
ระยะเริ่มต้นสัมพันธภาพ (Orientation/Initiating Phase) เป็นระยะที่ทั้งสองฝ่ายพบเจอกันครั้งแรก และจะประเมินหรือดูท่าทีของกันและกัน
แนะนำตัวเองให้รู้จกว่าเป็นใคร มาจากไหน ทำอะไร
กำหนดข้อตกลง ได้แก่ บอกวัตถุประสงค์ วัน เวลา และสถานที่ในการสนทนาแต่ละครั้ง
ปัญหาและการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพ
พยาบาลอาจวิตกกังวลในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
ด้านผู้ป่วย
ผู้ป่วยทดสอบ testing
ผู้ป่วยต่อต้าน resistance
3. ระยะแก้ไขปัญหา (Working Phase)
พยาบาลและผู้รับบริการ มาพบกันเพื่อการสนทนาอย่างสม่ําเสมอ ตามข้อตกลงที่
บอกไว้กับผู้รับบริการ พยาบาลสามารถแสดงให้ผู้รับบริการเห็นว่าพยาบาลยอมรับ เข้าใจ และรับฟังปัญหาของ
ผู้รับบริการอย่างไม่มีอคติ
ปัญหาและการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพ
พยาบาลเกิด sympythy หรือ เกิด counter transference
ด้านผู้ป่วย
ผู้ป่วยพึ่งพยาบาล dependent
ผู้ป่วยเกิด transference
4. ระยะยุติสัมพันธภาพ (Terminating Phase)
เป็นขั้นตอนสําคัญของสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด สัมพันธภาพมีการเริ่มต้นและสิ้นสุด
เมื่อถึงกําหนดระยะเวลาตามที่ตกลงกันมาถึง ในทางปฏิบัติอาจพบว่ามีเหตุผลอื่นๆ ได้อีก เช่น ปัญหาของ
ผู้รับบริการได้รับการแก้ไขแล้ว
องค์ประกอบของการสนทนาเพื่อการบําบัด
3.3 เทคนิคสนทนาเพื่อการบําบัด
เทคนิคที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการหรือผู้มาขอความช่วยเหลือรู้สึกว่าตนเองมีค่า
Giving Recognition การให้ความสําคัญ
Giving Information การให้ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริงแก่ผู้รับบริการ
Offering - Self การเสนอตนเองเพื่ออยู่เป็นเพื่อนผู้รับบริการยามทุกข์ การเสนอตนเองเพื่อการรับฟัง
ปัญหาของผู้รับบริการ
เทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้รับบริการเป็นฝ่ายนําการสนทนา หรือทําให้การสนทนาดําเนินไป
Using Broad Opening ใช้คํากล่าวกว้างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเลือกหัวข้อสนทนา เลือกพูด
ถึงสิ่งที่อยู่ในความคิด หรือสิ่งที่กังวลและครุ่นคิดอยู่
Using General Lead การใช้คํากล่าวนําโดยทั่วไป เป็นคํากล่าวนําที่ช่วยกระตุ้นและจูงใจให้
ผู้รับบริการพูดต่อ
Reflection การสะท้อนความรู้สึก คือแสดงความรู้สึกหรือความคิดเป็นคําพูด
Restating การทวนความ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า พยาบาลกําลังฟังผู้รับบริการพูด และเป็นการเน้นให้
ผู้รับบริการได้ยินและคิดถึงสิ่งที่ตนเองพูดออกมา
Accepting การยอมรับผู้รับบริการ และสิ่งที่ผู้รับบริการพูด พยาบาลแสดงท่าทีให้เขาเห็นว่า พยาบาล
มีความเข้าใจและยอมรับเขา จะโดยการพยักหน้ารับ
เทคนิคที่ช่วยกระตุ้นผู้รับบริการให้ผู้รับบริการพูดระบายความรู้สึก
Sharing Observation คือ การบอกกล่าวสิ่งที่พยาบาลสังเกตเห็นได้ในตัวผู้รับบริการ
Acknowledge the Patient’s Feeling รับรู้ความรู้สึกของผู้รับบริการ เป็นการรับรู้ความรู้สึกของ
ผู้รับบริการ และยอมรับว่าผู้รับบริการมีความรู้สึกเช่นนี้
Questioning การถาม เป็นคําถามโดยตรงที่พูดกับผู้รับบริการ เมื่อใช้คําถามควรจะถามเป็นประโยค
ปลายเปิดมากกว่าปลายปิด (Open – Ended Question)
Actively Listening การฟังอย่างตั้งใจ เป็นการฟังโดยไม่มีความคิดโต้แย้ง ในสิ่งที่ผู้รับบริการพูดหรือ
ทํา ให้ความใส่ใจซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการฟัง
Using Silence การเงียบ ไม่มีการตอบสนองหลังจากผู้รับบริการพูดเสร็จ เกิดขึ้นหลังจาก Actively
Listening เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมากในการกระตุ้นให้ผู้รับบริการสื่อสาร
เทคนิคที่ช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจตรงกันกับผู้รับบริการ
Clarifying การให้ความกระจ่าง คือ ความพยายามในการที่จะเข้าใจในคํากล่าวของผู้รับบริการ
Validating คือ การตรวจสอบว่าความเข้าใจของพยาบาลถูกต้องตรงกับความต้องการความรู้สึกของ
ผู้รับบริการหรือไม่
เทคนิคที่กระตุ้นให้ผู้รับบริการคิดไตร่ตรองเรื่องราวของเขาใหม่
Exploring การสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลกระจ่างขึ้น การสอบถามให้ลึกและกว้างขึ้นนั้น จะช่วยทําให้
ผู้รับบริการได้คิด ได้ไตร่ตรองเรื่องราวของเขาใหม่
Focusing เป็นการมุ่งประเด็นไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในกรณีผู้รับบริการพูดหลายเรื่องปะปนกัน เพื่อ
เป็นการสํารวจปัญหาให้แคบลง
Encouraging Evaluation การกระตุ้นให้ผู้รับบริการได้ประเมินตัวเอง ให้ผู้รับบริการได้พิจารณา
เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ผ่านมา
Giving Feedback การให้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นการช่วยให้บุคคลตระหนักรู้ว่าพฤติกรรมของเขามี
ผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร ผู้อื่นรับรู้การกระทําของเขาอย่างไร พยาบาลช่วยสื่อสารให้ผู้รับบริการตระหนัก
ผลกระทบต่อคนอื่น
Voicing Doubt การตั้งข้อสงสัย การตั้งข้อสงสัย หรือแสดงความสงสัยในสิ่งที่ผู้รับบริการเล่า
Giving Suggestion การให้คําแนะนํา เป็นการชี้แนะแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาให้แก่
ผู้รับบริการ แต่อย่างไรก็ตามผู้รับบริการมีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้
Presenting Reality การบอกสภาพความเป็นจริงเพื่อให้ผู้รับบริการพิจารณาให้ชัดเจน
Summarizing การสรุปข้อความเมื่อผู้รับบริการพูดจบแล้ว เป็นการกล่าวสรุปเพื่อให้ผู้รับบริการได้ยิน
สิ่งที่เขาเล่ามาทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง เป็นการตรวจสอบกับผู้รับบริการว่าเรื่องที่เขาเล่านั้น พยาบาลเข้าใจถูกต้อง
หรือไม่
น.ส.สุภาวรรณ อะโนทัย เลขที่ 91