Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
บทที่ 3 เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด (Therapeutic relationship)
ลักษณะของสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ขอบเขตสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยในเชิงบำบัด
การรักษาความลับ: ยกเว้นการส่งเวร
หลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายผู้ป่วย เช่น การกอด การสัมผัสต้นขาด้านใน
1.การกำหนดแนวทางในการสร้างสัมพันธภาพ
การรับสิ่งตอบแทน:ไม่ควรรับสิ่ง ของตอบแทนเพราะอาจเกิดสัมพันธภาพเชิงสังคม
การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของพยาบาล:ตอบตามความเป็นจริงเท่าที่จำเป็น
ไม่ควรการพบกันในลักษณะของสัมพันธภาพทางสังคม
ข้อควรคำนึงในการสนทนากับผู้ป่วย
ระยะห่างระหว่างบุคคล:ควรจัดให้เหมาะสม ไม่ใกล้จนเกินไป
สถานที่(setting): มีสัดส่วนเป็นส่วนตัวจะช่วยทำให้ผู้รับบริการมีความสะดวกใจในการเปิดเผยตนเอง
บรรยากาศ:เงียบ สงบมีความเป็นส่วนตัว ไม่มีเสียงดังรบกวน
การจัดท่านั่ง(seating arrangement): ไม่นั่งใกล้ชิดเกินไปอาจทำให้เกิดความอึดอัดนั่งในลักษณะเป็นมุม 90 องศา
เวลา(Time):ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง
6.บุคลิกภาพของพยาบาล: ผ่อนคลายมากที่สุด ใช้คำถามปลายเปิด ไม่มีการจดบันทึกข้อมูล ไม่หลบตาไปมา ใช้เวลาให้เหมาะสมเต็มที่
กระบวนการ/ขั้นตอนในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ขั้นดำเนินการแก้ไข(working phase)
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินปัญหา พิจารณาปัญหาหลักและปัญหารอง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยคิด แล้วแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกและปัญหา
เสริมสร้างให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองอย่างถูกต้อง
เตือนย้ำระยะเวลาที่เหลืออยู่
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ความรู้สึกพึ่งพาของผู้ป่วย(dependency)
ความวิตกกังวลเห็นใจที่พบในพยาบาล(Sympathy)
ขั้นสิ้นสุดสัมพันธภาพ(termination phase)
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างความรู้สึกให้ยอมรับความจริงในการพรากจาก
ประเมินความรู้สึกพฤติกรรมการพรากจาก
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกและแสดงปฏิกิริยาว่าถูกทอดทิ้ง เสียใจ ไม่เป็นมิตร
ขั้นเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพ (orientation phase)
กิจกรรมการพยาบาล
ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน
ลดความวิตกกังวล
ความเชื่อถือไว้วางใจในตัวพยาบาล
วางแผนสิ้นสุดสัมพันธภาพ
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ทดสอบความจริงใจ
การปฏิเสธการสนทนา
ความวิตกกังวลทั้งตัวผู้ป่วยและพยาบาล
เทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัด
เทคนิคที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยระบายความคิดและความรู้สึก
Making observation or sharing observation การบอกในสิ่งที่พยาบาลสังเกตุเห็นเกี่ยวกับตัวผู้รับบริการให้ผู้รับบริการทราบ เพื่อแสดงว่าพยาบาลใส่ใจ/สนใจเขาและช่วยให้ผู้รับบริการสำรวจตนเองเข้าใจตนเองมากขึ้นทั้งยังช่วยให้ผู้รับบริการพูดถึงความรู้สึกที่แท้จริงของเขา เช่น "คุณกำมือแน่นเมื่อพูดถึงเรื่องราวคุณพ่อของคุณ" "ท่าทางของคุณดูเครียดๆ"
Using silence เป็นการใช้ความเงียบ คือ การนั่งฟังโดยไม่แสดงความคิดเห็น โต้ตอบถ้าใช้ได้อย่างถูกจังหวะ และอย่างมีความหมายจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการพูดระบายความรู้สึกและความคิดออกมาได้ ความเงียบที่ใช้อย่างถูกต้องจะมีประโยชน์มากกว่าคำพูดปลอบใจที่ไร้ความหมาย
Exploring เป็นการสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลปัญหารายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับบริการและเรื่องราวของเขามากขึ้น เพื่อที่จะทำความเข้าใจในเรื่องราวของเขามากขึ้น เช่น "คุณมาโรงพยาบาลด้วยอาการอะไร" "ที่คุณว่านอนไม่หลับนั้นมันเป็นอย่างไรช่วยอธิบายอีกสักนิด"
Active listening เป็นการฟังอย่างตั้งใจทักษะอย่างหนึ่งในการฟังที่ผู้ฟังจะทำความเข้าใจในความรู้สึกของผู้พูดโดยตีความหมายจากคำพูดและอากัปกิริยาของผู้พูดและผู้ฟังสื่อสารด้วยคำพูดของผู้ฟังเองให้ผู้พูดทราบว่าผู้ฟังเข้าใจคำพูดและความรู้สึกของผู้พูดอย่างไร
Restating เป็นการพูดทวนเนื้อหาหรือใจความสำคัญในสิ่งที่ผู้รับบริการพูด อาจจะทวนซ้ำทั้งหมดหรือเฉพาะข้อความสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยได้ทบทวนทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดอีกครั้งหนึ่ง ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการได้เล่าเรื่องราวของเขาต่อไป เช่น ผู้รับบริการ"แม่ไม่สนใจฉันเลย" พยาบาล"คุณบอกว่าแม่ไม่สนใจคุณ"
Open ended question เป็นคำถามปลายเปิดที่มีคำตอบได้หลากหลายมักใช้ในการสอบถามเบื้องต้นในระยะแรกแรกของการสัมภาษณ์ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะตอบอย่างไร เช่น "ขณะนี้มีอะไรที่รบกวนจิตใจบ้าง" "หลังจากเหตุการณ์นี้เห็นตัวเองเปลี่ยนไปอย่างไร" "อยากให้หมอช่วยเรื่องอะไรเรื่องอะไรที่ทำให้ไม่สบายใจ"
เทคนิคที่จะช่วยให้พยาบาลและผู้ป่วยเข้าใจตรงกัน
Clarifying or seeking clarification เป็นการขอความกระจ่าง คือ การขอคำอธิบายเพิ่มเติมในกรณีที่ผู้รับบริการพูดคลุมเครือ/มีความหมายไม่ชัดเจนเพื่อที่จะสามารถเข้าใจเรื่องราวของผู้รับบริการได้อย่างถูกต้อง ทั้งยังช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจตนเองมากขึ้นด้วย เช่น "ที่คุณพูดว่าคุณหมายความว่าอย่างไร" "เขาที่คุณพูดถึงหมายถึงใคร"
Validating or seeking consensual validation เป็นการตรวจสอบว่าความเข้าใจของพยาบาลตรงกับความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการของผู้รับบริการหรือไม่ เช่น "เขาที่คุณพูดถึงนั้น หมายถึงสามีของคุณ" "ที่คุณพูดถึงนี้หมายถึง"
เทคนิคกระตุ้นให้ผู้ป่วยเป็นฝ่ายนำเสนอสนทนาหรือกำลังทำให้สนทนาดำเนินต่อไป
Using general lead การพูดนำเพื่อกระตุ้นให้ผู้รับบริการพูดต่อการใช้คำพูดหรือแสดงว่าเรากำลังฟังสนใจในสิ่งที่ผู้รับบริการพูดและอยากให้เขาพูดต่อ เช่น "ค่ะ" "แล้วอย่างไรต่อคะ" หรือในกรณีที่มีเหตุการณ์มาขัดจังหวะในระหว่างสนทนากับผู้รับบริการพยาบาลอาจจะทบทวน/สรุปเรื่องเดิมแล้วใช้เทคนิคนี้กระตุ้นให้ผู้รับบริการเล่าต่อ
Acceptance เป็นการยอมรับสิ่งที่ผู้ให้บริการคิดพูดหรือแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยท่าทางที่เต็มใจเข้าใจ ไม่โต้แย้งแต่ไม่ใช่การมองเห็นด้วยว่าเป็นความจริงตามที่เขาคิดหรือพูดทุกประการ เช่น "สวัสดีค่ะคุณ"
Reflecting การสะท้อนคำพูดของผู้ให้บริการกล่าวซ้ำความหมายของข้อความที่ผู้ให้บริการพูด เช่น ผู้ให้บริการพูดว่า"ผมกลับไปบ้านก็ไม่มีความหมาย ไม่มีใครสนใจหรอก" พยาบาลตอบว่าคุณบอกว่า"คุณไม่มีความหมายสำหรับคนที่บ้าน"
Giving broad openings การใช้คำกล่าวกว้างๆเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเป็นฝ่ายเริ่มต้นในการสนทนาเลือกข้อในการพัฒนาหรือเลือกคำพูดในสิ่งที่คิดหรือไม่สบายใจอยู่ เช่น "คุณกำลังคิดอะไรอยู่" "คุณมีเรื่องอะไรจะเล่าให้ฉันฟังบ้าง"
เทคนิคที่จะช่วยให้ผู้ป่วยคิดไตร่ตรองเรื่องราวของเขาใหม่
Presenting reality การให้ความจริงแก่ผู้รับบริการในกรณีที่ผู้รับบริการมีความคิดหรือการรับรู้ที่ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น มีอาการหลงผิด อาการหูแว่ว ประสาทหลอน เป็นต้น โดยหลีกเลี่ยงการใช้คำปฏิเสธไม่มี/ไม่ใช่ เช่น ผู้รับบริการถือใบมาอยู่แล้วบอกว่า"ฉันรวยมาก" พยาบาล "สิ่งที่คุณถืออยู่คือใบไม้ค่ะ"
Voicing doubt การตั้งข้อสงสัยตรวจสอบความแน่ใจ เช่น "คุณคิดว่าเป็นไปได้หรือคะ"
Focusing การมุ่งความสนใจให้ อยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งผู้รับบริการพูดให้รายละเอียด ในบางประเด็นให้กระจ่าง เช่น ผู้รับบริการ"วันนี้ฉันรู้สึกไม่ค่อยดีเลย" พยาบาล"อธิบายความรู้สึกที่ว่าไม่ค่อยดีให้ฉันฟังได้ไหมคะ"
Summarizing การสรุปเนื้อหา/สรุปความด้วยคำพูดสั้นๆเพื่อให้ได้ใจความทั้งหมดหรือสรุปประเด็นการสนทนาเมื่อสิ้นสุดการสนทนา เช่น "คุณเล่าว่า" "วันนี้เราได้พูดกันถึงเรื่อง"
Encouraging evaluation การให้ผู้รับบริการประเมินความรู้สึกด้วยตนเอง เช่น "เหตุการณ์นี้ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร" "การที่คุณหนีออกจากบ้านไปอยู่กับเพื่อนมีผลอย่างไรกับคุณบ้าง"
เทคนิคที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่า
Giving information การให้ข้อมูลข่าวสารเป็นข้อเท็จจริงเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้บริการ เช่น "การเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัดจะทำให้คุณมีสัมพันธภาพที่ดีและปรับตัวให้ดีขึ้น"
Offering self การเสนอตนเองเพื่อให้ความช่วยเหลือทำให้ผู้ให้บริการรับรู้ว่ายังมีคุณค่า เช่น "ดิฉันจะนั่งเป็นเพื่อนคูณสักครู่" "ไปเดินเล่นที่สนามหญ้ากันไหมคะ"
Giving information การรู้จักจำเป็นการแสดงให้เห็นว่าพยาบาลรู้จักเขาด้วยการเรียกชื่อเขาได้ถูกต้อง เช่น "สวัสดีค่ะคุณ ดิฉันขอนั่งด้วยนะคะ"
Accepting การยอมรับผู้รับบริการและสิ่งที่ผู้รับบริการพูด อาจแสดงออกด้วยท่าทางน้ำเสียงหรือคำพูด เช่น การพยักหน้า การฟังโดยไม่โต้แย้ง ไม่คัดค้าน ไม่แก้ตัวแทนบุคคลที่ผู้รับบริการการถึงตลอดจนใช้คำพูด
การใช้ตนเอง เป็นเครื่องมือในการบำบัด (Therapeutic use of self)
หลักสำคัญของการใช้ตนเองเพื่อการบำบัด
• sympathy ความเห็นอกเห็นใจเป็นความรู้สึกที่พยาบาลจะเข้าใจถึงความทุกข์ยากที่จะช่วยเหลือ
• understanding ความเข้าใจ>เข้าใจในผู้ป่วยถึงอาการที่ผู้ป่วยแสดงออกมา
• empathy การเข้าใจถึงความรู้สึกของบุคคลอื่น>ใส่ใจผู้ป่วย
• acceptance การยอมรับ>ยอมรับในอาการที่ผู้ป่วยเป็นหรือแสดงออกมาด้วยความจริงใจไม่เสแสร้ง
•Love ความรักในเพื่อนมนุษย์>ความห่วงใยความเอาใจใส่>มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือ>เคารพในคุณค่าของบุคคล
ขั้นตอนในการพัฒนาความตระหนักรู้ในตนเอง
2.การรับฟังผู้อื่นคือการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นป้อนกลับหรือให้คำติชม
การเปิดเผยตนเอง self-discloser ขณะที่เราเปิดเผยตนเองเราจะรับรู้ความรู้สึกของเราว่ามีความเข้มแข็งหรือความอ่อนแออย่างไร
การประเมินตนเอง self-assesing คือการสำรวจความรู้สึกของตนเองในขณะนั้นว่าเรามีความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นและค้นหาสาเหตุของความรู้สึกว่าเกิดจากอะไร
การปฏิบัติเพื่อพัฒนาความตระหนักรู้ในตนเอง self-interventing การพยายามค้นหาตนเองให้พบการยอมรับและพัฒนาจะช่วยให้บุคคลได้มีความตระหนักในตนเองมากขึ้นและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้น
ความแตกต่างระหว่างสัมพันธภาพทางสังคมและสัมพันธภาพทางวิชาชีพ
สัมพันธภาพเพื่อการประกอบวิชาชีพ (professional relationship)
Process dynamic มีการประเมินผลเป็นระยะ
Action oriented การนำปฏิกิริยาของผู้รับบริการมาเป็นแนววิเคราะห์
Helping มุ่งให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการเป็นสำคัญโดยไม่หวังผลตอบแทน
Satisfaction gain ความพอใจของพยาบาลอยู่ที่ว่าผู้รับบริการได้รับการเรียนรู้และพัฒนาบุคลิกภาพและพัฒนาความสนใจในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นและกลับเข้าสู่สังคมได้
1.Goal directed การช่วยเหลือผู้รับบริการให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
Terminated relationship เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่มีการเริ่มต้นและการสิ้นสุดภายหลังจากบันรู้วัตถุประสงค์
สัมพันธภาพเพื่อการประกอบวิชาชีพ (professional relationship)
เป็นสัมพันธภาพของบุคคลในสังคมโดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่อมีการรวมกลุ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์