Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประวัติเมืองสงขลา - Coggle Diagram
ประวัติเมืองสงขลา
สงขลายุคบ่อยาง
ใน พ.ศ.2427 จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคีรีฯ (ชุ่ม) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสงขลาและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิเชียรคีรีฯ (ชม) อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 2437 พระบาทจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนภูมิภาคโดยจัดให้มีการปกครองในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาลแทนการปกครองระบบกินเมือง ในส่วนของเมืองสงขลาได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลนครศรีธรรมราชและได้ลดบทบาทพระยาวิเชียรคีรีฯ (ชม) จากเจ้าเมืองสงขลาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสงขลาที่ขึ้นตรงต่อข้าหลวงเทศาภิบาลประจำมณฑลนครศรีธรรมราช โดยมีพระยาสุขุมวินิตนัย (ปั้น สุขุม) ดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2439 – 2499 และพระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา) ดำรงตำแหน่งใน พ.ศ. 2499 – 2453 ต่อมาใน พ.ศ. 2453 – 2468 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสด็จมาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช
พ.ศ.2379 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ตั้งเมืองสงขลาจากแหล่งสนไปตั้ง ณ บริเวณบ่อยาง เพื่อให้มีความเหมาะสมในการขยายตัวเมืองรองรับการเป็นเมืองท่าทางทะเล ต่อมา พ.ศ. 2397 โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) สร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการ โดยพระราชทานยกเว้นภาษีอากรเมืองสงขลา 200 ชั่งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ต่อมาในปี พ.ศ.2385 ได้มีการสร้างเสาหลักเมืองสงขลา พร้อมทั้งประกอบพิธีสมโภชเสาหลักเมืองและเรียกเรียกบริเวณนี้ว่า “สงขลาเมืองบ่อยาง” ในพ.ศ.2390 พระยาวิเชียรคีรีฯ (เถี้ยนเส้ง) ได้ถึงแก่กรรมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้น้องชายพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เจ้าเมืองสงขลาคนต่อมา พระราชบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวิเชียรคีรีฯ (บุญสังข์ ) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเป็นพระเจ้าพระยาวิเชียรคีรีฯ และได้ถึงแก่อสัญกรรมในพ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพระยาวิเชียรคีรีฯ (เม่น) ซึ่งเป็นหลานชาย พระยาวิเชียรคีรีฯ (บุญสังข์ ) เป็นเจ้าเมืองสงขลาคนต่อมา หลังจากพระเจ้าพระยาวิเชียรคีรีฯ (เม่น)เป็นเจ้าเมืองสงขลาได้ประมาณปีเศษ
- พระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง ณ สงขลา) พ.ศ.2390 – 2508
- พระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) พ.ศ.2508– 2427
- พระยาวิเชียรคีรี ( เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) พ.ศ. 2360–2390 ผู้เริ่มสร้างเมืองสงขลา บ่อยาง
-
-
- พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) พ.ศ. 2431– 2439
-
อนึ่ง ใน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินการปกครองส่วนภูมิภาคเนื่องจากความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่จะต้องปรับลดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารราชการแผ่นดินและต้องการปรับการบริหารส่วนภูมิภาคให้อยู่ภายใต้การดูแลของพระมหากษัตริย์โดยตรง จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการรวมมณฑลตั้งแต่ 2 มณฑลขึ้นไปเป็น “ภาค” มีอุปราชเป็นหัวหน้าภาคมีหน้าที่ควบคุมสมุหเทศาภิบาล (เตช บุนนาค, 2548) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ จึงทรงดำรงตำแหน่งอุปราช “ภาคปักษ์ใต้” อีกหนึ่งตำแหน่ง จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยยกเลิกระบบเดิมทั้งหมดและยกฐานะสงขลาขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย
-
-
-
-
-
-
สงขลายุคแหลมสน
ด้วยสภาพบ้านเมืองสงขลาหัวเขาแดงถูกทำลายเป็นเมืองร้าง ราษฎรที่เหลือจึงอพยพไปตั้งบ้านเรือนอีกด้านหนึ่งของหัวเขาแดงและกรุงศรีอยุธยาได้ลดความสำคัญของเมืองสงขลาลงเป็นเมืองบริวารของเมืองพัทลุง เนื่องจากเกรงว่าเมืองสงขลาจะกลายเป็นที่ซ่องสุมของโจรสลัด ต่อมาใน พ.ศ. 2242 กรุงศรีอยุธยาได้ยกเมืองสงขลาให้อยู่ในความดูแลของเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นหัวเมืองเอกพียงเมืองเดียวของภาคใต้ และได้ส่งพระยาวิไชยคีรีขุนนางจากกรุงศรีอยุธยามาปกครองเมืองสงขลาแหลมสนจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 บ้านเมืองเกิดความระส่ำระส่าย เมืองต่างๆ ที่เคยอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาต่างตั้งต้นเป็นอิสระปกครองตนเอง เป็นผลให้บ้านเมืองแตกเป็นก๊กเป็นเหล่า เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ประกาศตนเป็นอิสระจากกรุงศรีอยุธยาและตั้งตนเองเป็น “เจ้านครศรีธรรมราช (หนู)” ปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดและทุกเมืองต้องยอมรับอำนาจเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชสำหรับเมืองสงขลาแหลมสน เจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ได้ตั้งญาติชื่อ “วิเถียน” ลงมาปกครองเป็นเจ้าเมืองตำแหน่งหลวงสงขลา
-
ใน พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ยกทัพมาปราบก๊กเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) โดยยกทัพมาทั้งทางบกและทางเรือ เจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ต้านทัพไม่ได้จึงพาสมัครพรรคพวกและเหล่าบริวารหนีมายังเมืองสงขลา เจ้าเมืองสงขลา (วิเถียน) ซึ่งมีความจงรักภักดีต่อเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) จึงให้ความช่วยเหลือในการหลบหนีกองทัพของกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยพิจารณาแล้วว่าหากกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมาถึงสงขลา ก็ไม่สามารถสู้ได้อย่างแน่นอนจึงได้พากันไปอยู่ที่เมืองปัตตานี พระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อยกทัพมาถึงเมืองสงขลาแล้วทราบว่าเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) และเจ้าเมืองสงขลา (วิเถียน) ได้หลบหนีไปอยู่เมืองปัตตานี จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรีและพระยาพิชัยราชายกกองทัพติดตามเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) และพวกไปยังเมืองปัตตานี และได้มีหนังสือไปยังเมืองปัตตานีให้ส่งตัวเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) และพวกมาถวายสมเด็จพระจ้ากรุงธนบุรี พระยาปัตตานีไม่อยากทำสงครามกับกรุงธนบุรีจึงได้ส่งตัวเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) และพวกมาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ส่วนเมืองสงขลาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งชาวเมืองสงขลาชื่อ “โยม” เป็นเจ้าเมืองสงขลาในตำแหน่งพระสงขลาอยู่จนถึง พ.ศ. 2317 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริว่า พระสงขลาปฏิบัติราชการไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงรับสั่งให้ปลดออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองสงขลาและโปรดเกล้าฯ ให้ นายเหยี่ยง แซ่เฮา ชาวจีนฮกเกี้ยนเป็นเจ้าเมืองสงขลา และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุวรรณคีรีสมบัติซึ่งเป็นต้นตระกูล ณ สงขลา
-
-
เมืองสงขลาหัวเขาแดงตั้งอยู่บนบริเวณปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ก่อตั้งขึ้นขึ้นเมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในช่วงกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เนื่องจากปรากฏชื่อเมืองสงขลาในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ซึ่งได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 กล่าวถึงเมืองสงขลาในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา (พระจักรพรรดิพงศ์)
นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อเมืองสงขลาในเอกสารชาวต่างชาติ เช่น เอกสารพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับได้กล่าวถึงเมืองสงขลาในฐานะเมืองท่าในนาม ซิงกอร่า (singura)(ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูล,2554:50) ส่วนคนพื้นเมืองออกเสียงว่า สิงขร (สิง-ขอน) ซึ่งมาจากภาษาบาลี แปลว่า ภูเขา สอดคล้องกับที่ตั้งเมืองสงขลาบริเวณหัวเขาแดงที่บางส่วนตั้งอยู่บนภูเขา เมืองสงขลาหัวเขาแดงเริ่มปรากฎชื่อในเอกสารพ่อค้าชาวฮอลันดาที่เข้ามาติดต่อค้าขายอีกครั้งประมาณ พ.ศ. 2150 ได้กล่าวถึงเจ้าเมืองสงขลาว่าเป็นชาวมุสลิมชื่อ “โมกุล”และบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเรียกเจ้าเมืองสงขลาว่า “ดะโต๊ะโมกอลล์”
-
ต่อมาใน พ.ศ.2223 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งกองทัพมาปราบปรามเมืองสงขลาจนสำเร็จ (สารูป ฤทธิ์,2534: 90) หลังจากปราบปรามเมืองสงขลาหัวเขาแดงเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้แยกราษฎรสงขลาหัวเขาแดงออกเป็น 2 ส่วน โดยอพยพราษฎรส่วนหนึ่งไปอยู่ที่เมืองไชยาและจับตัวพระเจ้าสงขลาที 2 พร้อมทั้งบริวารไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา อีกส่วนหนึ่งได้โยกย้ายถิ่นฐานไปยังบริเวณเชิงเขาปลายคาบสมุทรสทิงพระที่เรียกว่า “แหลมสน”
-