Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดจิตเวช - Coggle Diagram
เครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดจิตเวช
การตระหนักรู้ในตนเอง และการใช้ตนเองเพื่อการบําบัด
การตระหนักรู้ในตนเอง self awareness
เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตอย่างแท้จริง
สามารถตอบสนองความต้องการได้ถูกต้อง
ประกอบด้วยมโนมติสำคัญ 8 ประการ
อัตตา self ส่วนรวมทั้งหมดของบุคคล ประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม ค่านิิิิิิิยม ความรู้สึกนึกคิด
อัตมโนทัศน์ self concept เป็นการรับรู้และตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองด้านต่างๆ เช่น ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ ความสามารถ เป็นต้น
อุดมคติแห่งตน self idea เป็นอุดมคติ ความหวัง ภาพในอนาคตหรือความปรารถนาที่ตนเองอยากเป็น
ภาพลักษณ์ทางกายแห่งตน Body Image เป็นการรับรู้เกี่ยวกับร่างกายของตน
มโนธรรมแห่งตน Moral Image เป็นความคิด ความเชื่อ การตัดสินใจเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆของตน ว่ามีความถูกต้อง รู้รับผิดชอบชั่วดี
ศักดิ์ศรีแห่งตน Self esteem เป็นการยอมรับนับถือตนเอง ประเมินตนเองในด้านบวกและลบ เช่น ความมีคุณค่า ความละอาย ความรัก
เอกลักษณ์เฉพาะตน Self of identity เป็นส่วนประกอบที่สําคัญของความเป็นตัวของตนของบุคคลมีความแตกต่างเฉพาะคน
การตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง Self awareness and Self understanding ประกอบด้วยการรับรู้และการเข้าใจตนเองในด้านต่าง ๆ
พฤติกรรมการแสดงออก ปฏิกิริยาตอบโต้กับบุคคลอื่น
ความคิดความรู้สึกที่มีต่อตนเองต่อบุคคลอื่น และต่อสถานการณ์
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ การคิด ความจํา อารมร์ ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อ เจตคติ พฤติกรรม ประสบการณ์ และการมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
ความต้องการ หรือความปรารถนา
ศักยภาพ ความสามารถ กําลังกายและใจที่จะต้องใช้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายหรือความปรารถนาหรือปรัชญาชีวิตที่กาหนดไว้
การมีปฏิสัมพันธ์และการสังคมกับบุคคลอื่น ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป
แนวทางการพัฒนาการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
การเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง
การประเมินตนเองตามความเป็นจริง ไม่อคติ มองหรือคิดเข้าข้างตนเอง
การพัฒนาจิตใจโดยการศึกษาธรรมะประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนาและคุณธรรมที่ได้กําหนดไว้
ประโยชน์ในการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
บุคคลสามารถเข้าใจตนเองในทุกๆด้าน ทั้งความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม
2.บุคคลสามารถนาข้อมูลที่ได้จากการรับฟัง ความคิดเห็นจากผู้อื่น จากการที่ผู้อื่นประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาจุดด้อยของตนและพัฒนาจุดเด่นให้แข็งแรง
บุคคลสามารถใช้ประสบการณ์ที่เรียนรู้และเช้าใจตนเองเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้และทาความเข้าใจบุคคลอื่น
การมีสติระลึกรู้เท่าทันความคิดอารมณ์ความรู้สึกของตนจะช่วยให้เราสามารถควบคุมตนเองและแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างเหมาะสมหรือเรียกว่ามีสติปัญญาทางอารมณ์
การใช้ตนเองเพื่อการบําบัด (Therapeutic use of Self)
พยาบาลต้องพยายามตระหนักในตนเองที่จะเรียนรู้จักและเข้าใจตนเองให้มากที่สุดเพื่อที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้รับบริการและครอบครัว
ประยุกต์องค์ความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาล และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการพยาบาลแก่บุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถผสมผสานการใช้สัมพันธภาพเพื่อการบําบัดกับการใช้ตนเองเพื่อการบําบัดในการพยาบาลบุคคลมีปัญหาสุขภาพจิต
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัด (Therapeutic relationship)
ความหมาย
สัมพันธภาพใกล้ชิด
(Intimate Relationship) เป็นสัมพันธภาพที่มีลักษณะใกล้ชิดเป็นส่วนตัวที่เกิดในบุคคลสองคนที่มีความใกล้ชิดกันและมีความผูกพันทางอารมณ์ต่อกัน มีความเชื่อถือไว้วางใจกัน จนสามารถรับรู้เรื่องราวเป็นส่วนตัวที่ไม่อาจเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบได้
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
เป็นกระบวนการที่พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยควบคู่กับการใช้เทคนิคการสื่อสารเพื่อการบําบัดเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย โดยมุ่งไปที่การดูแลความเจ็บป่วย
สรุปได้ว่า
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัดในการพยาบาลสุขภาพจิตนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่พยาบาลใช้ตนเองเป็นสื่อในการบําบัด
สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ (Professional Relationship)
สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ (Professional Relationship) สัมพันธภาพเพื่อการบําบัดระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย พยาบาลมีบทบาทให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย โดยอาศัยสื่อกลางเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันพยาบาลจะต้องตระหนักและเข้าใจตนเอง (Self awareness and Self understanding)
เป้าหมายในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
เพื่อให้โอกาสผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
เพื่อให้ผู้รับบริการรู้จักตนเองอย่างถูกต้อง ยอมรับตนเอง และเพิ่มความเคารพนับถือตนเอง
เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้
เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจปัญหาของตนเองได้ตรงตามความเป็นจริง
เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติตนที่เหมาะสม
ระยะของสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
ขั้นเตรียมการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Pre Initiating phase)
ในระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้เข้าไปช่วยเหลือผู้รับบริการ โดยการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด จึงควรวางแผนและเตรียมตัว ซึ่งในระยะนี้พยาบาลยังไม่ได้พบผู้รับบริการ
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะปฏิสัมพันธ์ คือ ความรู้สึกกลัวและวิตกกังวลต่อการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ ส่วนใหญ่พยาบาลจะกลัวถูกผู้รับบริการทําร้าย กลัวถูกปฏิเสธการสนทนา
แนวทางแก้ไข พยาบาลต้องสํารวจตนเองว่ากลัวอะไร ความกลัวหรือวิตกกังวลนี้มาจากไหน มีอะไรที่เกี่ยวข้อง
ขั้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Initiating phase)
ขั้นตอนการสร้างปฏิสัมพันธ์มีระยะเวลาไม่นาน
ปัญหาที่พบบ่อย คือ ความวิตกกังวล อาจพบได้ทั้งฝ่ายพยาบาลและฝ่ายผู้รับบริการ
แนวทางแก้ไข
พยาบาล ต้องมีการเตรียมความรู้ ศึกษาเทคนิคสนทนาเพื่อการบําบัด ตรวจสอบความรู้สึกตนเอง มีสติ รู้จักและเข้าใจตนเอง วางแผนในการเตรียมสนทนาและเริ่มต้นการสนทนา
ฝ่ายผู้รับบริการ ความวิตกกังวลเกิดขึ้นได้จากผู้รับบริการทางด้านจิตเวช ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องการ
ไว้วางใจผู้อื่นและการสร้างสัมพันธภาพ โดยเฉพาะการพบกันครั้งแรก
ระยะแก้ไขปัญหา (Working Phase)
พยาบาลและผู้รับบริการ มาพบกันเพื่อการสนทนาอย่างสม่ําเสมอตามข้อตกลงที่บอกไว้กับผู้รับบริการ พยาบาลสามารถแสดงให้ผู้รับบริการเห็นว่าพยาบาลยอมรับเข้าใจ และรับฟังปัญหาของผู้รับบริการอย่างไม่มีอคติ สัมพันธภาพโดยรวมจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
แนวทางป้องกันการเกิดปัญหา คือ พยาบาลสนับสนุนให้ผู้รับบริการพึ่งพาตนเอง เลือกทางออกในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง โดยพยาบาลมีหน้าที่กระตุ้นและสนับสนุน
ระยะยุติสัมพันธภาพ (Terminating Phase)
สัมพันธภาพมีการเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อถึงกําหนดระยะเวลาตามที่ตกลงกันมาถึงในทางปฏิบัติอาจพบว่ามีเหตุผลอื่นๆ ได้อีก เช่น ปัญหาของผู้รับบริการได้รับการแก้ไขแล้ว ผู้รับบริการไปรับการช่วยเหลือที่อื่นที่เหมาะสมกว่า
ปฏิกิริยาที่อาจพบในระยะยุติสัมพันธภาพของผู้รับบริการ
แสดงพฤติกรรมถดถอย ได้แก่ แสดงพฤติกรรมให้เห็นว่า ผู้รับบริการรับผิดชอบตนเองไม่ได้
แสดงพฤติกรรมโกรธ ได้แก่ แสดงความโกรธออกมาเป็นคําพูด
แสดงพฤติกรรมการยอมรับ ได้แก่ แสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะรับผิดชอบตนเองแสดงการรับฟังความเห็นของพยาบาลและพยายามหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวในการพึ่งพาตนเอง
องค์ประกอบของการสนทนาเพื่อการบําบัด
สถานที่สนทนากับผู้ใช้บริการ (Setting) สถานที่ที่เงียบสงบ มีสัดส่วนเป็นส่วนตัว (Privacy)
การจัดท่านั่งสนทนา พยาบาลควรตระหนักในขอบเขตส่วนบุคคลของทั้งผู้ใช้บริการและตัวพยาบาลเอง
เวลาในการสนทนา : 30-60 นาที
เทคนิคสนทนาเพื่อการบําบัด
เทคนิคที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการหรือผู้มาขอความช่วยเหลือรู้สึกว่าตนเองมีค่า
Giving Recognition การให้ความสําคัญ เป็นการแสดงให้เห็นว่า พยาบาลรู้จักผู้รับบริการ
Giving Information การให้ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริงแก่ผู้รับบริการ
Offering - Self การเสนอตนเองเพื่ออยู่เป็นเพื่อนผู้รับบริการยามทุกข์
เทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้รับบริการเป็นฝ่ายนําการสนทนา หรือทําให้การสนทนาดําเนินไป
Using Broad Opening ใช้คํากล่าวกว้างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเลือกหัวข้อสนทนา
Using General Lead การใช้คํากล่าวนําโดยทั่วไป เป็นคํากล่าวนําที่ช่วยกระตุ้นและจูงใจให้ผู้รับบริการพูดต่อ
Reflection การสะท้อนความรู้สึก
Restating การทวนความ
Accepting การยอมรับผู้รับบริการและสิ่งที่ผู้รับบริการพูด
เทคนิคที่ช่วยกระตุ้นผู้รับบริการให้ผู้รับบริการพูดระบายความรู้สึก
Sharing Observation คือ การบอกกล่าวสิ่งที่พยาบาลสังเกตเห็นได้ในตัวผู้รับบริการ
Acknowledge the Patient’s Feeling รับรู้ความรู้สึกของผู้รับบริการ เป็นการรับรู้ความรู้สึกของผู้รับบริการ
Questioning การถาม เป็นคําถามโดยตรงที่พูดกับผู้รับบริการ
Actively Listening การฟังอย่างตั้งใจ เป็นการฟังโดยไม่มีความคิดโต้แย้ง
Using Silence การเงียบ ไม่มีการตอบสนองหลังจากผู้รับบริการพูดเสร็จ
เทคนิคที่ช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจตรงกันกับผู้รับบริการ
Clarifying การให้ความกระจ่าง คือ ความพยายามในการที่จะเข้าใจในคํากล่าวของผู้รับบริการ
Validating คือ การตรวจสอบว่าความเข้าใจของพยาบาลถูกต้องตรงกับความต้องการความรู้สึกของผู้รับบริการหรือไม่
เทคนิคที่กระตุ้นให้ผู้รับบริการคิดไตร่ตรองเรื่องราวของเขาใหม่
Exploring การสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลกระจ่างขึ้น
Focusing เป็นการมุ่งประเด็นไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในกรณีผู้รับบริการพูดหลายเรื่องปะปนกัน
Encouraging Evaluation การกระตุ้นให้ผู้รับบริการได้ประเมินตัวเอง ให้ผู้รับบริการได้พิจารณาเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ผ่านมา
Giving Feedback การให้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นการช่วยให้บุคคลตระหนักรู้ว่าพฤติกรรมของเขามีผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร
Voicing Doubt การตั้งข้อสงสัย การตั้งข้อสงสัย หรือแสดงความสงสัยในสิ่งที่ผู้รับบริการเล่า
Giving Suggestion การให้คําแนะนํา เป็นการชี้แนะแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้รับบริการ
Presenting Reality การบอกสภาพความเป็นจริงเพื่อให้ผู้รับบริการพิจารณาให้ชัดเจน
Summarizing การสรุปข้อความเมื่อผู้รับบริการพูดจบแล้ว