Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นป่วยในระยะเรื้อรัง (Chronic Care Nursing) - Coggle…
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นป่วยในระยะเรื้อรัง (Chronic Care Nursing)
ความต้องการการดูแลต่อเนื่องของเด็กที่ป่วยเรื้อรัง
หวังให้มีชีวิตที่ปกติ เด็กมีความหวังจะหายป่วย และอยู่กับครอบครัว และเพื่อน
ไม่สบายกาย การเจ็บป่วยทำให้ไม่สุขสบายกายเนื่องจาก ได้รับความเจ็บปวดจากหัตถการ รำคาญสายสวน ต่างๆ
การปรับตัวต่อการเจ็บป่วย เด็กปรับตัวต่อการเจ็บป่วยด้วยการทำกิจกรรม ที่ชอบ ดูแลตนเอง และสร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง ความเครียดที่เกิดจากความเจ็บป่วย เด็กจึง ทำกิจกรรมที่ทำให้คลายเครียด
ทุกข์ใจ การเจ็บป่วยทำให้เด็กท้อใจ เหงาเมื่ออยู่ โรงพยาบาล รู้สึกผิด และอายเพื่อน เด็กรู้สึกท้อแท้ใจเนื่องจากร่างกายทรุด โทรมลง
ความต้องการของมารดาเด็กที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
หวังให้ลูกหายป่วย
ต้องการอยู่ใกล้ชิดลูกเพื่อให้กำลังใจ
ต้องการได้รับข้อมูลความเจ็บป่วยของลูก
ต้องการกำลังใจ
การส่งต่อข้อมูลที่ผู้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
รูปแบบการดูแลต่อเนื่องของเด็กที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ระยะที่ 1 การดูแลที่โรงพยาบาล คือ การตอบสนอง ความต้องการของเด็กและครอบครัว การให้มารดา มีส่วนร่วม การสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว การเตรียมก่อนกลับบ้าน
ระยะที่ 2 การส่งต่อการดูแล คือ การมีจัดการส่งต่อ การส่งต่อ ข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ระยะที่ 3 การดูแลที่บ้าน คือ การให้ครอบครัวมีส่วนร่วม และการทำงานร่วมกันในแต่ละระดับการดูแล
พยาบาลมีบทบาทในการแลกเปลี่ยนข้อมูล กับผู้ป่วย การค้นหาความต้องการของผู้ป่วยและ ครอบครัว การสื่อสารข้อมูลในทีมสหสาขา การประสาน งานในระยะเปลี่ยนผ่าน การสอนทักษะการดูแลแก่ ผู้ป่วย การให้ครอบครัวมีส่วนร่วม รูปแบบการ ดูแลต่อเนื่องของเด็กที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ความต้องการของพยาบาลที่ดูแลเด็กที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่หน่วยปฐมภูมิและตติยภูมิ
การเตรียมผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เพื่อให้ครอบครัวสามารถดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้ โดยพยาบาลจะวางแผนก่อนกลับบ้านโดยเริ่มตั้งแต่วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล
การส่งต่อข้อมูลให้ดูแลต่อเนื่อง พยาบาลระดับปฐมภูมิต้องการข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลการดูแลขณะอยู่โรงพยาบาลและการดูแลต่อเนื่อง
การทำงานร่วมกันของพยาบาลแต่ละระดับ ในครั้งแรกอาจจะต้องไปเยี่ยมผู้ป่วยด้วยกัน เพื่อส่งต่อข้อมูลการดูแล
การให้ครอบครัวมีส่วนร่วม โดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมตั้งแต่อยู่ในโรงพยาบาล
การมีผู้จัดการส่งต่อ การจัดการส่งต่อจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน
การมีนโยบายสนับสนุน จะทำให้การส่งต่อเป็นระบบ