Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช (การสร้างสัมพันธภาพเพื่อกา…
บทที่ 3 เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช
(การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด)
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด (Therapeutic relationship)
สัมพันธภาพใกล้ชิด (Intimate Relationship) เป็นสัมพันธภาพที่มีลักษณะใกล้ชิดเป็นส่วนตัวที่เกิดในบุคคลสองคนที่มีความใกล้ชิดกันและมีความผูกพันทางอารมณ์ต่อกัน มีความเชื่อถือไว้วางใจกัน จนสามารถรับรู้เรื่องราวเป็นส่วนตัวที่ไม่อาจเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบได้
เป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่พยาบาลใช้ตนเองเป็นสื่อในการบำบัด และใช้สัมพันธภาพทางวิชาชีพขณะติดต่อสื่อสารเพื่อบำบัดทุกข์ทางใจให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ และสามารถติดต่อกับบุคคลอื่นได้ มีสุขภาพดีขึ้น และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
วัตถุประสงค์
เพื่อการบำบัดผู้ป่วยให้มีประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ดี
มีพฤติกรรมที่เหมาะสม
สามารถดำรงตนในสังคมเดิมได้
มีการเริ่มต้นและสิ้นสุดสัมพันธภาพ
สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ (Professional Relationship)
เป็นสัมพันธภาพการบำบัดระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย
เป้าหมาย
ให้โอกาสผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
เพื่อให้ผู้รับบริการรู้จักตนเอง ยอมรับตนเอง เพิ่มความเคารพนับถือตนเอง
ให้ผู้รับบริการสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ รู้จักพึ่งตนเอง สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
ผู้รับบริการเข้าใจปัญหาของตนเองได้ตรงตามความเป็นจริง
ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติตนที่เหมาะสม
ระยะของสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ขั้นเตรียมการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Pre Initiating phase)
เป็นช่วงเวลาที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้เข้าไปช่วยเหลือผู้รับบริการ โดยการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด จึงควรวางแผนและเตรียมตัว ซึ่งในระยะนี้พยาบาลยังไม่ได้พบผู้รับบริการ
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
รู้สึกกลัวและวิตกกังวลต่อการสร้างสัมพันธภาพ กลัวถูกผู้รับบริการทำร้าย กลัวถูกปฏิเสธการสนทนา
แนวทางแก้ไข
สำรวจตนเองว่ากลัวอะไร
ความกลัวหรือวิตกกังวลนี้มาจากไหน มีอะไรที่เกี่ยวข้อง
ขอคำชี้แนะจากผู้นิเทศงาน/ผู้มีประสบการณ์
ขั้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Initiating/orientation phase)
พยาบาลกับผู้รับบริการเจอกันครั้งแรก ประเมินท่าทีของกันและกัน
แนะนำตัว เป็นใคร มาจากไหน มาทำอะไร
กำหนดข้อตกลง บอกวัตถุประสงค์ วัน เวลา สถานที่ในการสนทนา
ปัญหาของระยะนี้ คือ พยาบาลมักวิตกกังวล เนื่องมาจากขาดประสบการณ์สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ผู้รับบริการจะทดสอบ/ต่อต้าน ไม่ไว้วางใจผู้อื่นและการสร้างสัมพันธภาพ
แนวทางแก้ไข
พยาบาลต้องมีท่าทางเป็นมิตร แสดงความใส่ใจผู้รับบริการอย่างแท้จริง สร้างความไว้วางใจ
พยาบาลต้องมีการเตรียมความรู้ ศึกษาเทคนิคสนทนาเพื่อการบำบัด ตรวจสอบความรู้สึกตนเอง มีสติ รู้จักและเข้าใจตนเอง วางแผนในการเตรียมสนทนา
เป้าหมาย ผู้รับบริการไว้วางใจพยาบาล
ระยะแก้ไขปัญหา (Working Phase)
พยาบาลและผู้รับบริการ มาพบกันเพื่อการสนทนาอย่างสม่ำเสมอ ตามข้อตกลงที่บอกไว้กับผู้รับบริการ
ร่วมกับผู้รับบริการในการวิเคราะห์สาเหตุ กลไกของปัญหา
ร่วมกับผู้รับบริการหาวิธีแก้ไขปัญหา ปรับปรุงพฤติกรรม
นำแผนที่วางไม้ไปปฏิบัติ
มีเป้าหมาย ผู้รับบริการเข้าใจและแก้ปัญหาตนเองได้
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
พยาบาล sympathy / เกิด counter transference
คือ การถ่ายโอนความรู้สึกไปที่ผู้รับบริการ อาจจะรู้สึกว่าผู้รับบริการคือคนสำคัญในชีวิต
แก้ไขโดยแยกความแตกต่างระหว่างความรู้สึกร่วม และความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ
ผู้รับบริการ
-พึ่งพาพยาบาล dependent
-เกิด transference (รู้สึกว่าพยาบาลคือคนสำคัญในชีวิต)
แก้ไข พยาบาลจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในเรื่องกิริยามารยาท ตลอดจนการแต่งกาย
สนับสนุนให้ผู้รับบริการพึ่งพาตนเอง เลือกทางออกในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
ระยะยุติสัมพันธภาพ (Terminating Phase)
ปัญหาของผู้รับบริการได้รับการแก้ไขแล้ว ผู้รับบริการไปรับการช่วยเหลือที่อื่นที่เหมาะสมกว่า หรือผู้รับบริการขอยุติการสร้างสัมพันธภาพก่อนเวลา
ระยะนี้ ควรเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างสัมพันธภาพ เช่น ผู้รับบริการมีความคิดและความรู้สึกอย่างไร
เป้าหมาย ผู้รับบริการมั่นใจและเผชิญกับปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง
ปัญหา
พยาบาลอาจรู้สึกเศร้า เพราะผูกพันกับผู้รับบริการ
ผู้รับบริการไม่ยอมยุติความสัมพันธ์ ขอช่องทางการติดต่อ
ไม่ยอมรับในตัวพยาบาล
โกรธและไม่เป็นมิตร
แสดงพฤติกรรมถดถอย
มีความรู้สึกเศร้า
การแก้ไข
ในระยะที่ 4 จะต้องมีการเตรียมยุติสนทนาก่อนการยุติสนทนา เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์จากผู้รับบริการ
องค์ประกอบของการสนทนาเพื่อการบำบัด
สถานที่สนทนากับผู้ใช้บริการ (Setting) สถานที่ที่เงียบสงบ มีสัดส่วนเป็นส่วนตัว
การจัดท่านั่ง (Seating Arrangement)
90 องศา นั่งหันหน้าเข้าหากัน โดยไม่เผชิญหน้ากันโดยตรง
เวลาในการสนทนา ประมาณ 30-60 นาที