Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system), a, c, d, image, image, image, image -…
ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด
หน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อ
คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย (Maintain Body Posture)
ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints)
ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement) โดยการเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล(Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย(Maintain Body Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการ
ประเภทของกล้ามเนื้อแบ่งออกได้ 3 ส่วน
3.กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle)เป็นกล้ามเนื้อภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary Muscle) ชนิดเดียวในร่างกาย กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ กล้ามเนื้อลายจะห่อหุ้มโครงกระดูกของเราไว้ และทั้งสองอย่างจะทำงานร่วมกัน
1.กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)พบได้ที่อวัยวะภายในของร่างกาย และเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ตลอด กล้ามเนื้อแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า กล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ (Involuntary Muscle) เพราะเราไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ สมองและร่างกายขจะสั่งให้กล้ามเนื้อเรียบทำงานด้วยตัวของมันเอง เช่น ในกระเพาะ (Stomach
2.กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)ประกอบขึ้นเป็นหัวใจมีชื่อเรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อชนิดนี้เป็นกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจเหมือนกับกล้าม เนื้อเรียบ ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจ (Heart Beat) อยู่ตลอดเวลา กล้ามเนื้อหัวใจจะบีบตัว (Contract) เพื่อดันเลือดส่งออกไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และคลายตัว
การทำงานของกล้ามเนื้อ
การทำงานของกล้ามเนื้อเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle
การรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง
-การออกกำลังกายแบบแอโรบิค
(Aerobics Exercise) จะช่วยทำให้หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น ส่วนการออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้นนั้นเรียกว่า การออกกำลังกายแบบ แอนแอโรบิค (Anaerobics Exercise)
-โภชนาการที่เหมาะสม (Proper Nutrition)
การรับประทานผัก ธัญพืช และผลไม้ รวมถึงการดื่มน้ำมากๆ ลดความเครียด จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้
กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย
กล้ามเนื้อใบหน้า
ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกบนใบหน้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ และแสดงอาการทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะร้องไห้ เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี กล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึกที่สำคัญได้แก่
Frontalis อยู่ที่หน้าผาก ทำหน้าที่ ยกคิ้วขึ้นลง ทำหน้าผากย่น
Nasalis อยู่ที่จมูก ทำหน้าที่ หุบปีกจมูก เวลาดมกลิ่น
Corrugator อยู่บริเวณคิ้ว – เหนือคิ้ว ทำหน้าที่ ขมวดคิ้ว ครุ่นคิด
Orbiculalisocculi อยู่รอบดวงตา ทำหน้าที่ ปิดตา หรือหลับตา
Zygomaticus major เกาะอยู่บริเวณโหนกแก้ม – ปากบน ทำหน้าที่ยกปาก
Orbicularis oris อยู่บริเวณรอบปาก ทำหน้าที่ หุบปาก ทำริมฝีปากยื่น ทำปากจู๋
Risorius อยู่ถัดออกมาทางด้านข้างของปาก ทำหน้าที่เวลาแสยะยิ้ม
กล้ามเนื้อคอ
(Muscle of the neck) ที่สำคัญในการเคลื่อนไหวของคอ มีอยู่ 3มัดคือ 1.Sternomastoidหรือ Sternocleidomastoideus 2.Splenius capitis3.Semispinaliscapitis
กล้ามเนื้อส่วนลำตัว (Muscle of the trunk)
กล้ามเนื้อส่วนลำตัว (Muscle of the trunk) แบ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าและด้านหลัง ดังนี้
1.กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้ากล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าที่เห็นเด่นชัด
2.กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหลังในส่วนลำตัวด้านหลัง
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน
(Muscle of the upper limb)
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน ที่ช่วยในการทำงานของหัวไหล่และแขนที่สำคัญ คือ
กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน
กล้ามเนื้อแขนส่วนต้น
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่
กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้ว
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา
(Muscle of the lower limb)
ที่สำคัญ ดังนี้
กล้ามเนื้อส่วนโคนขา
กล้ามเนื้อส่วนปลายขา
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและก้นกบ
กล้ามเนื้อส่วนเท้า