Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบอวัยวะของร่างกาย - Coggle Diagram
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ระบบอวัยวะของร่างกาย
1. ระบบประสาท
Nervous System
:
**
ระบบประสาทเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ทุกระบบในร่างกายให้ประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
**
ระบบประสาทส่วนปลาย
( Peripheral Nervous System )
เป็นระบบประสาทที่เชื่อมต่อจากส่วนต่างๆ ของสมองและไขสันหลัง ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งประกอบด้วย
ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง
เส้นประสาทสมอง
มี 12 คู่ ทอดออกจากพื้นล่างของสมอง ผ่านไปยังรูต่างๆ ที่พื้นของกะโหลกศรีษะ โดยเส้นประสาทสมองบางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และบางคู่จะทำหน้าที่รวม คือ ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว
เส้นประสาทไขสันหลัง
เป็นเส้นประสาทที่ออกจากสันหลัง มีจำนวนทั้งหมด 31 คู่ ทุกคู่จะทำหน้าที่รวมคือ ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว
ระบบประสาทอัตโนมัติ
( Automomic Nerve System )
เป็นระบบประสาทที่ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจการบังคับ และควบคุมของจิตใจ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้เป็นปกติ เช่น ควบคุมการไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร การหายใจ การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งเป็น 2 ส่วน
ระบบประสาทซิมพาเทติก
( Sympathetic Nerve System )
เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานแบบเกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น ในขณะตื่นเต้น ประสบภาวะฉุกเฉิน หรือในระยะเจ็บป่วย โดยจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว รูม่านตาขยาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกายต่อสถานการณ์นั้นๆ
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
( Parasympathetic Nerve System )
เป็นระบบประสาทที่มีใยประสาทมาจากไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ก้นกบ และเมดัลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata ) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน เส้นเลือดและต่อมต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้ เช่น ทำให้หัวใจเต้นชช้าลง เส้นเลือดคลายตัว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป ระบบประสาทอัตโนมัติท้ัง 2 ส่วนนี้ จะทำหน้าที่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามเสมอ เช่น ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำหน้าที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว แต่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำหน้าที่ให้หัวใจเต้นช้าลง ทั้งนี้เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกายให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
ระบบประสาทส่วนกลาง
( Central Nervous System )
สมอง
( Brain )
เป็นอวัยวะที่สำคัญและสลับซับซ้อนมาก ประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อที่มีที่มีความอ่อนนุ่ม บรรจุอยู่ในกะโหลกศรีษะ มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาทส่วนกลาง สมองจะเริ่มเจริญเติบโตตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา พอช่วงอายุ 1- 9 ปี สมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 18 – 20 ปี โดยสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งมีมีหน้าที่แตกต่างกัน
สมองส่วนหน้า
ไฮโพทาลามัส
Hypothalamus
เป็นสมองส่วนที่เป็นทางติดต่อกับเซรีบรัมกับก้านสมอง โดยไฮโพทาลามัสอยู่ใต้ทาลามัส และค่อนไปทางด้านหน้าติดกับต่อมใต้สมองส่วนหน้า (pituitary gland)
ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
ออแฟกทอลีบัม
Olfactory Bulb
ดมกลิ่น (ปลา , กบและสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
เซรีบรัม
Cerebrum
สมองส่วนที่อยู่บนสุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งมีน้ำหนักรวมกันประมาณร้อยละ 85 ของน้ำหนักสมองทั้งหมด
ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความจำ เชาว์ปัญญา
ทาลามัส
(Thalamus)
เป็นศูนย์รับและถ่ายทอดความรู้สึกไปยังซีรีบรัม
สมองส่วนกลาง
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
สมองส่วนท้าย
เมดัลลาออบลองกาตา
(medulla oblongata)
ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ เป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง
ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจาม การสะอึก การอาเจียน
พอนส์
(pons)
ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า ควบคุมการหายใจเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่าง เซรีบรัมกับเซรีเบลลัม และเซรีเบลรัมกับไขสันหลัง
เซรีเบลลัม
Cerebellum
ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างละเอียดอ่อน ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
ไขสันหลัง
( Spinal Cord )
เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง อยู่ภายในช่องกระดูกสันหลังตลอดความยาวของลำตัว ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นตัวเชื่อมระหว่างอวัยวะความรู้สึกไปยังสมอง และส่งความรู้สึกจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะและส่วนต่างๆ ที่มีเส้นประสาทไขสันหลังต่อสมอง
งานชิ้นที่ 1 รายละเอียดอยู่ใน Google Classroom
การดูแลรักษาระบบประสาท
หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดและดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ถนอมการใช้สายตา
ป้องกันตัวเองจากอุบัติเหตุที่มีผลกระทบ
บริเวณศีรษะและไขสันหลัง
ตรวจสายตา และการได้ยิน
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
สำรวจความผิดปกติของร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน
ชา ตามปลายมือ ปลายเท้า
ออกกำลังกาย
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ระบบต่อมไร้ท่อ
Endocrine System
ระบบผิวหนัง
Integumentary System
ระบบโครงกระดูก
Skeletal System
ระบบกล้ามเนื้อ
Muscular System
ระบบย่อยอาหาร
Digestive System
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
Urinary System
ระบบหายใจ
ระบบไหลเวียนโลหิต
Circulatory System
ระบบสืบพันธุ์
Reproductive System