Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเลือดในสตรีตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
โรคเลือดในสตรีตั้งครรภ์
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO (ABO Incompatibility)
hemolytic disease ของทารกแรกเกิด คือเกิดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หมู่เลือด ABO ของมารดาและทารกเข้ากันไม่ได้
พบบ่อยที่สุดคือมารดามีหมู่เลือด O และลูกมีหมู่เลือด A, B หรือ AB ทำให้เกิดความเข้ากันไม่ได้ของหมู่เลือด (incompatibility)
สาเหตุ
ส่วนใหญ่จะพบในทารกหมู่เลือด A หรือ B ที่เกิดจากมารดาหมู่เลือด O แนวโน้มทารกที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในคนผิวดำ (Black) เนื่องจาก anti-A และ anti-B จะมีความแรงมากกว่าคนเอเชีย (Asian) และคนผิวขาว (Caucasian)
พยาธิสรีรภาพ
anti-B ในมารดาที่มีหมู่เลือด A หรือ subgroup A2 เป็นสาเหตุให้ทารกหมู่เลือด B เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ทารกหมู่เลือด A1 B มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกอย่างรุนแรงหลังคลอดจากมารดาหมู่เลือด B โดยทั่วไป anti-A
ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกเกิดได้บ่อยกว่า anti-B1 ชนิดของ IgGเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารก เฉพาะ IgG1 และ IgG3 จับกับ Fc-receptor ของเซลล์ฟาโกไซต์แล้วกระตุ้นการทำลายเม็ดเลือดแดงได้มักเกิดกับมารดาที่มีกลุ่มเลือด O และทารกหมู่เลือด A หรือ B ระหว่างการตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่พบเพียงอาการตัวเหลืองเท่านั้น มักจะมีอาการเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
ทารกที่เกิดภาวะ kernicterus จะเสียชีวิตประมาณ 75 %
ส่วนคนที่รอดชีวิตมักเกิดmental retard หรือ develop paralysis or nerve deafness
การวินิจฉัย
การซักประวัติการตรวจกลุ่มเลือด
. การตรวจร่างกาย
ทารกที่มีจุดเลือดออกตามตัว ตับ ม้าม พบว่าเกิดจาการติดเชื้อภายในครรภ์ อาการซีด เกิดจากการแตกทําลายของเม็ดเลือด และมีก้อนโนเลือด
การเจริญเติบโตช้า ความพิการแต่กำเนิดก็พบอาการตัวเหลืองได้บ่อย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับบิลิรูบินใน serum
ตรวจนับเม็ดเลือด
ตรวจหมู่เลือด ของมารดาและทารกแรกเกิด
Direct Coomb’s test เพื่อตรวจหา maternal antibodies Rh and ABO typing
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความเสี่ยงของคู่มารดาและทารกจากการซักประวัติ ประวัติการตั้งครรภ์และคลอดที่ ผ่านมา เพื่อค้นหาความเสี่ยงของทารกแรกเกิด
2.อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม พยาธิสรีรภาพ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป รวมถึงการรักษาและพยาบาล
ติดตามภาวะ jaundice ด้วยการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในทารก
ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด หากตรวจพบภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อเฝ้า ระวังและประเมินภาวะ pathologic jaundice รายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันที
ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟ ระวัง burn พลิกตัวทุก 3-4 ชั่วโมง และปิดตาทารกด้วย eye patches เพื่อป้องกันตาเกิดการระคายเคือง
ดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลของทารกที่ได้รับการส่องไฟ
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ Rh (Rh Incompatibility)
เป็นหมู่เลือด ถูกกำหนดโดยสารแอนติเจนที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงคือสาร ดี(D antigen) โดยคนที่มีสาร Dอยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์เอชบวก (Rh positive)
ส่วนคนที่ไม่มีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์เอชลบ (Rh negative) ซึ่งพบได้น้อยในคนไทยภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารกที่มีสาเหตุจาก anti-D
สาเหตุ
การไม่เข้ากันของกลุ่มเลือด Rh ของมารดาและทารกในครรภ์ Rh เป็น Antigen ตัวหนึ่งที่มีเม็ดเลือดแดง มีRh positive นอกนั้นจะมีRh negative
พยาธิสรีรภาพ
Rh Isoimmunization จะเกิดขึ้นเมื่อแม่มี Rh negative และทารกมี Rh positiveขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของมารดา ทำให้เกิดการสร้าง antibodies ในแม่ซึ่ง antibodies นี้จะไหลเวียนกลับเข้าสู่ทารกในครรภ์จะไปจับและทำลายเม็ดเลือดแดงของทารก ทำให้ทารกมีภาวะโลหิตจาง
อาการและอาการแสดง
ทารกมีhemolysis ที่รุนแรงขณะอยู่ในครรภ์ทารกจะซีดมาก
ก อาจเกิดหัวใจวายตัวบวมนํ้าที่เรียกว่า hydrops fetalis และอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่ค่อยพบผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
มักพบผลกระทบต่อทารกในการตั้งครรภ์ที่ 2
เกิดภาวะ neonatal anemia, hydrops fetalis, ตับและม้ามโต,hyperbilirubinemia,kernicterus, dead fetus in uterus, still birth
การพยาบาล
ป้องกันการเกิด Isoimmunization (Rh Isoimmunization) จะเกิดขึ้นเมื่อหญิงตั้งครรภ์มี Rh negative และทารกมี Rh positive
เฝ้าระวังและตรวจหา antibodies ในหญิงตั้งครรภ์
การเจาะเลือดครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ เพื่อตรวจหาหมู่เลือด Rh typing ทุกราย
ควรตรวจ Indirect Coomb’s test อีกครั้ง เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์
ควรให้คำแนะนำเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจถึงแผนการรักษา
โรคโลหิตจางจากโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
เป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดที่พบบ่อยมากที่สุด ในเม็ดเลือดแดงมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ Hb สร้างโมเลกุลที่ประกอบด้วย heme และ globin โดย heme มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ธาตุเหล็ก และ porphyrinส่วน globin ประกอบด้วยสายของโปรตีน 4 สาย (polypeptide chain)
โดย polypeptide chain มีอย่างน้อย 4 ชนิด ได้แก่สาย alpha (α), beta (β), gamma (γ) และ delta (δ) ในการสร้าง polypeptide สาย beta จะถูกควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 11
สาเหตุ
ความผิดปกติทางโครงสร้าง
มีการเปลี่ยนแปลงการเรียงตัวของ amino acid บน
polypeptide chain ทำให้เกิด Hb ที่ผิดปกติ
ความผิดปกติทางปริมาณ
มีการสร้าง globin สายใดสายหนึ่งลดลงงหรือไม่สร้างเลย โดยที่โครงสร้างของ polypeptide chain ยังปกติ
ผู้ที่มีโอกาสเป็นพาหะของโรค ได้แก่
ชายหญิงที่มีบุตรเป็นธาลัสซีเมียอย่างน้อยต้องเป็นพาหะต้องมียีนของธาลัสซีเมีย
มีพี่น้องหรือญาติของผู้เป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือพาหะของโรคธาลัสซีเมียมีโอกาสที่จะมียีนธาลัสซีเมียมากกว่าคนทั่วไป
ชนิดของโรคธาลัสซีเมีย
α-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทำให้มีการสร้าง α-globin น้อยลง
ได้แก่ α-thalassemia 1, α-thalassemia-2, Hb H และ Hb Bart’s hydrop fetalis
β-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทำให้มีการสร้าง β-globin น้อยลง
ได้แก่ β-thalassemia trait, homozygous β-thalassemia, Hb E และ βthalassemia/Hb E
พยาธิสรีรภาพ
มีความผิดปกติของยีนทำให้การสังเคราะห์ α-globin และ β-globin ลดน้อยลงหรือไม่สร้างเลย ทำให้ globin ที่
เหลืออยู่รวมตัวกันเอง แล้วตกตะกอนอยู่ในเม็ดเลือด ทำให้เลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
อาการรุนแรงมาก
(thalassemia major)
ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเสียชีวิตไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด
ทารกจะมีลักษณะบวมน้ำทั้งตัว ซีด ตับม้ามโต รกมีขนาดใหญ่
อาการรุนแรงปานกลาง (thalassemia intermediate)
มีอาการซีดปานกลาง ตับและม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลือง มีการเจริญเติบโตเกือบเหมือนคนปกติ
Hb H จะมีลักษณะเฉพาะ เมื่อมีไข้ติดเชื้อ จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย เกิดอาการซีดอย่างรวดเร็ว
กลุ่มที่ไม่มีอาการ (thalassemia minor)
มีฮีโมโกลบินต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีและทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีโอกาสติดเชื้อเนื่องจากความต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ภาวะ Hb Bart’s hydrop fetalis มักเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ คลอดยาก
ผลต่อทารก
เกิดภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ น้ำหนักน้อย หรือขาดออกซิเจนในระยะคลอด
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย และสามีเข้าใจถึงความจำเป็นในการคัดกรองหาพาหะธาลัสซีเมีย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษา
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ลักษณะของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความแตกต่างระหว่างเป็นโรคและเป็นพาหะ
ในกรณีที่ทั้งสตรีตั้งครรภ์และสามีเป็นคู่เสี่ยงของโรคธาลัสซีเมียที่อาการรุนแรง ควรแนะนำเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด
ในกรณีที่ตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ให้การสนับสนุนทางด้านจิตสังคมแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว พร้อมทั้งให้การดูแลให้ได้รับการส่งต่อ
ในกรณีที่ดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการป้องกันการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานยาตามแผนการรักษา การมาตรวจตามนัด
การตรวจวิเคราะห์ชนิดของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin analysis)
%HbA2 <4 (<3.5) คือ Normal
-ไม่เป็นพาหะของ β-thalassemia และ HbE
-อาจเป็นพาหะของ α-thalassemia 1 ด้วยหรือไม่ก็ได้
%HbA2 = 4-10% คือ β-thalassemia trait
-เป็นพาหะของ β-thalassemia
-ไม่เป็นพาหะของ HbE
อาจเป็นพาหะของ α-thalassemia 1 ด้วยหรือไม่ก็ได้
%HbA2 = 10-35% คือHb E trait
-เป็นพาหะของ HbE
-ถ้า HbA2<25% มีโอกาสเป็นพาหะของ α-thal 1 ด้วย
%HbA2= 40-60% คือ β-thal/ HbE disease
-เป็นโรค β-thal/ HbE disease
-อาจเป็นพาหะของ α-thalassemia 1 ด้วยหรือไม่ก็ได้
%HbA2 = 80-100% คือ Homologous HbE
-อาจเป็นพาหะของ α-thalassemia 1 ด้วยหรือไม่ก็ได้