Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือแทรกซ้อนทางนรีเวชกรรมและศัลยกรรม …
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือแทรกซ้อนทางนรีเวชกรรมและศัลยกรรม
1.ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)
สาเหตุและพยาธิสภาพ
เกิดจากมีภาวะอุดกั้นของรูไส้ติ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด หรืออาจเกิดจากมีเศษอุจจาระแข็งๆ เรียกว่า นิ่วอุจจาระ (fecalith) ชิ้นเล็กๆ ตกลงไปอุดกั้นอยู่ภายในรูไส้ติ่ง ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรูไส้ติ่งเกิดการเจริญรุกล้ำเข้าไปในผนังไส้ติ่ง จนเกิดการอักเสบตามา สาเหตุที่พบได้รองลงมาคือ เกิดจากเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง (Lymphoid tissue) ที่ผนังไส้ติ่งหนาตัวขึ้นตามการอักเสบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย
อาการและอาการแสดง
เริ่มเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อาการปวดจะเพียงเล็กน้อยหรือมากก็ได้ มีอาการปวดตื้อๆ ตลอดเวลาหรือปวดมากเป็นพักๆ อาจมีท้องผูก ท้องเสียก็ได้ และมีท้องแข็ง
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
: เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และคลอดก่อนกำหนด
การรักษา
1.ควรวินิจฉัยแยกโรคไส้ติ่งอักเสบขณะตั้งครรภ์ออกจากอาการของโรคอื่น
2.หากอาการไม่รุนแรงอาจพิจารณาทำการผ่าตัด laparotomy เพื่อทำ laparoscopic เมื่อGA อยู่ในไตรมาสที่หนึ่งและสอง
3.พิจารณาการผ่าตัดทางหน้าท้อง เพื่อทำ appendectomy สำหรับสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่3
4.ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษา
5.ให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
2.ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholecystitis)
สาเหตุและพยาธิสภาพ
ขณะตั้งครรภ์มีการเพิ่มขนาดของมดลูก ซึ่ี่งทำให้เกิดแรงดันและกดเบียดทำให้การไหลเวียนและระบายของถุงน้ำดีไม่ทำให้ muscle tone และความยืดหยุ่นในถุงน้ำดีลดลง มีการหนาตัวของท่อน้ำดี เมื่อมีการกดทับเป็นเวลานาน จะทำให้มีการเพิ่มระดับบโปรเจสเตอโรน มีผลต่อภาวะ hypercholesterolemia พบได้บ่อยในมารดาที่มีอายุมาก และมารดาที่มีประวัติการอักเสบของถุงน้ดีอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการอุดกั้นของถุงน้ำดี การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
อาการและอาการแสดง
ปวดท้องเป็นพักๆ สลับหนักและเบา คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารที่มีไขมัน มีไขเ และตัวเหลือขณะตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
: เสี่ยงต่อการแท้ง มดลูกหดรัดตัวก่อนกำหนด และคลอดก่อนกำหนด
การรักษา
1.NPO
2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
3.การทำ Laparosopic for cholecytectomy/cholecystectomy ปลอดภัยที่สุด เมื่อทำในการตั้งครรภ์ไตรมารที่สอง
4.ดูแลให้ใส่สาย Nasogastric suctioning
5.Analgesia; norphine
6.ให้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม broad-spectrum ที่ครอบคลุม
7.ยาระงับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
8.ให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
3.ภาวะลำไส้อุดกั้น (Bowel obstruction)
สาเหตุและพยาธิสภาพ
เกิดจากการอุดตันของลำไส้จากพังผืด การบิดของลำไส้ การตีบ ก้อนเนื้องอก หรือไส้เลื่อน โดยจะเริ่มขึ้นเมื่อ GA 20-25 wk. และมักแสดงอาการเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สาม เนื่องจากการขายาของมดลูกจะมีผลต่อลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่โดยตรง การอุดกั้นจะมีผลต่อการทำงานและการดูดซึมสารอาหารของลำไส้ที่ลดลง การไหลเวียนเลือดในร่างกายจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่สารอาหารในหลอดเลือดลดลง
อาการและอาการแสดง
1.ท้องผูก ถ่ายยาก ถ่ายลำบาก ถ่ายไม่ออก
2.ปวดเกร็งแน่นท้อง
3.อาเจียน
4.ปวดเสียด ปวดบิดเป็นพักๆ
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การอักเสบและติดเชื้อ มดลูกหดรัดตัวก่อนกำหนก ปัญหาเกี่ยวกับไต ช็อก และเสียชีวิต
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด คลอดน้ำหนักตัวน้อย ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขัน
การรักษา
1.NPO
2.ใส่สาย Nasogastic tube เพื่อการระบาย gastric content
3.ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
4.ให้ยาปฏิชีวนะ
5.ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
6.ให้ออกซิเจน 4 lit/min
7.พิจารณาการผ่าตัดโดยส่องกล้องจุลทรรศ
8.ดูแลภาวะท้องผูก หลังผ่าตัด
9.ติดตามการเกิดซ้ำของภาวะลำไส้อุดกั้นได้อีกในไตรมาสที่3
10.ติดตามและป้องกันภาวะลำไส้ตาย หลังผ่าตัด
4.ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian tumor)
สาเหตุและพยาธิสภาพ
มีการโตของ cystic corpus luteum ขณะตั้งครรภ์ ยังจะพบภาวะของ ovarian cyst/tumor ที่โตขึ้น ร่วมกับการติดเชื้ออื่น ๆ ของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกได้ มักพบว่าขนาดโนตขึ้นเมื่อ GA 12-14 wk. พบว่าก้อนเนื้อนั้นกลายเป็นมะเร็งรังไข่ได้ 1:25,000 รายของการตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
ปวดบริเวณปีกมดลูกและรังไข่ โดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์ที่เพิ่มข้น มีท้องมานน้ำ
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
: เสี่ยงต่อการแท้ง มดลูกหดรัดตัวก่อนกำหนด คลอดก่อนกำหนด
การรักษา
2.ส่งชิ้นเนื้อที่ผ่าน เพื่อตรวจสอบทางพยาธิวิทยา
1.การผ่าตัดโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ ทำเมื่อ GA 12-14 wk. ไม่ควรเกิน 18 wk.
3.เจาะเลือดส่งตรวจค่ามะเร็ง CA-125
4.หากวินิจฉัยล่าช้าและก้อนยังใหญ่ไม่มาก และการตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนครบกำหนด อาจพิจารณาการผ่าคลอดทางหน้าคลอด
5.หากผลการชันสูตรพบว่าเป็นมะเร็งรังไข่ ต้องได้รับยาเคมีบำบัด
5.เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Uteri tumor)
อาการและอาการแสดง
มักทราบก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ค่อยแสดงอาการ ปวดท้อง โดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น อาจพบภาวะเลือดออกขณะตั้งครรภ์ได้ คลำท่าทารกได้ยาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
: แท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด ปวดท้องรุนแรงมากขึ้นขณะตั้งครรภ์
ระยะคลอด
: คลอดยาก และมีโอกาสผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ระยะหลังคลอด
: การหดรัดตัวกล้ามเนื้อมดลูกภายหลังคลอดไม่ดี ตกเลือดหลังคลอด
การรักษา
1.การผ่าตัดด้วยกล้องจุลทรรศน์ ควรทำเมื่อ GA 12-14 wk. ไม่ควรเกิน 18 wk.
2.ชิ้นเนื้อที่ได้จากการผ่าตัดให้นำส่งตรวจพยาธิวิทยา
3.หากก้อนยังใหญ่ไม่มาก ไม่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
6.การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัด
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
1.NPO
2.ฟัง FHS ทุก1-2 ชั่วโมง
3.ประเมนิการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 1-2 ชั่วโมง
4.ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยการ On EFM
5.เตรียมผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด
6.ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดำ
7.ดูแลให้ได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ
การพยาบาลขณะผ่าตัด
1.จัดท่าในการผ่าตัด ควรจัดท่านอนหงายศีรษะสูงเล็กน้อย กึ่งตะแคงซ้าย โดยไม่ให้กดทับเส้นเลือด vena cava
2.ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
3.ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์โดยการติดเครื่อง EFM ระหว่างการผ่าตัด
การพยาบาลหลังผ่าตัด
1.ให้การพยาบาลเหมือนผู้ป่วยหลังผ่าตัดทั่วไป
2.เฝ้าระวังภาวะ preterm labor
3.ประเมินและบันทึก FHS โดยติดเครื่อง EFM อย่างต่อเนื่อง
4.ดูแลให้ได้รับยา tocolysis เช่น magnesium sulfate, calcium channel blockers, เป็นต้น
7.การบาดเจ็บระหว่างการตั้งครรภ์ (Trauma during pregnancy)
ชนิดของการบาดเจ็บที่พบระหว่างการตั้งครรภ์
1.อุบัติการณ์ของปัญหาความรุนแรงกับสตรีที่สูงขึ้น ทำให้พบการบาดเจ็บจากความรุนแรงได้บ่อยขึ้น
2.อุบัติเหตุเกี่ยวกับยานยนต์ เช่น การเกิดรถชน มอเตอร์ไซด์ล้ม การหกล้มและกระแทก
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
: มับพบความเสี่ยงต่อการแท้ง มดลูกหดรัดตัวก่อนกำหนด คลอดก่อนกำหนด ทารกในครรภ์ได้รับบาดเจ็บ ทารกตายในครรภ์ ทารกตายคลอด
พยาธิวิทยา
1.การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะของมารดาจะทำให้มีการฉีกขาดของหลอดเลือดดำ
2.การตกเลือดในช่องท้องและอวัยวะสืบพันธุ์ จากการกระทบกระเทือนของช่องท้องส่วนล่างและระบบอวัยวะสืบพันธุ์
การพยาบาล
1.Immediate care
1.1คำนึงถึงการตั้งครรภ์ร่วมกับการรักษา ตั้งแต่การประเมินและวินิจฉัย การให้ยา และการช่วยฟื้นคืนชีพ
1.2การช่วยฟื้นคืนชีพควรช่วยชีวิตมารดาเป็นอันดับแรก
1.3ทีมให้การพยาบาลต้องทำการประเมินอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ
2.Minor trauma
ต้องประเมินภาวะต่อไปนี้
2.1 Bleeding/vg., uterine irritability
2.2 Abdominal tenderness, abdominal pain or cramps
2.3 Hypervolemia
2.4 FHR เปลี่ยนแปลง
2.5 Fetal activity หายหรือลดลง
2.6 Leakage of amnioticfluid
2.7 พบ fetal cell ใน maternalcirculation
3.Major trauma
3.1การช่วยฟื้นคืนชีพแบบ ABCs ควรประเมินแบบ sysrematic evaluation ก่อนให้การดูแล
3.2ภายหลังการช่วยฟื้นคืนชีพสำเร็ว ควรประเมินสภาพร่างกายทั่วไปตามระบบต่างๆ
3.3กรณีที่สตรีตั้งครรภ์ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ พยาบาลผดุงครรภ์และพยาบาลเด็กควรประสานงานและทำงานแบบสหวิชาชีพ
8.การช่วยฟื้นคืนชีพในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น
1.การตอบสนองขั้นแรก (First responder)
ประกอบด้วย แจ้งmatermal cardiac arrest team , บันทึกเวลาที่เริ่มเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น,จัดท่านอน supine, เริ่มทำ chest compressions
2.การตอบสนองขั้นต่อมา (Subsequent responders)
ประกอบด้วย 2.1การปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมารดา 2.2การปฏิบัติการพยาบาลทางสูติศาสตร์ และ2.3การเตรียมพร้อมเพื่อผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีฉุกเฉิน
3.ค้นหาและดูแลรักษาปัจจัยที่อาจเป็นเหตุให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น