Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการเล่น - Coggle Diagram
ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการเล่น
ทฤษฎีการเล่นคลาสสิก
( Classical Theories of play )
1.ทฤษฎีพลังงานเหลือใช้
(Surplus Energy theory)
• แต่ว่าการเล่นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่ออินทรีย์มีพลังงานเหลือ ใช้จากการประกอบการงานแล้ว นั่นคืออินทรีย์จะต้องใช้พลังงานในการทํางานก่อนแล้วจึงนําพลังงานที่เหลือ มาใช้ในการเล่น
2.ทฤษฎีการผ่อนคลาย(Relaxation theory)
• แต่ทว่าเด็กไม่ได้ทํางาน ทําไมจึงต้องเล่นด้วย
แพททริค อธิบายว่าการเล่นนั้นถือว่าเป็นธรรมชาติของเด็กที่จะต้องเล่นที่จะต้องกระทํา และเราพยายามใช้คําว่าเล่น เพื่อที่จะแยกออกจากกิจกรรม การทํางานที่เครียดของสังคมผู้ใหญ่
3.ทฤษฎีการทําซํ้า(Recapitulation theory)
• ทฤษฎีนี้ได้รับแนวคิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ ของ ดาร์วิน ( Darwin ) โดยที่เขากล่าวว่ามนุษย์เรานั้นวิวัฒนาการมาจากสัตว์เซลเดียว
• แนวคิดนี้เอง การเล่นของมนุษย์จึงถือได้ว่าเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษนั่นเอง เช่น การที่เด็กเล่นนํ้า, ปีนต้นไม้และการเล่นเป็นกลุ่ม
4.ทฤษฎีการเล่นโดยสัญชาตญาณ
(Instinct Practice theory)
• คาร์ล กร๊อส ( Karl Gross ) ได้กล่าวไว้ว่า สัตว์มักจะ เล่นเพื่อเตรียมตัวสําหรับชีวิตในอนาคตเป็นลักษณะของสัญชาตญาณเพื่อที่จะฝึกให้ เกิดความสมบูรณ์ขึ้น
• การเล่นนี้จะ มีผลต่อชีวิตในอนาคตของเด็ก การที่เด็กได้มีโอกาสเล่นมาก ก็จะทําให้เด็กได้มีโอกาสฝึกทักษะที่จําเป็นต่อชีวิต เพราะประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยให้เด็กสามารถที่จะควบคุมความสามารถของตนเองและช่วยพัฒนาการด้านบุคลิกภาพและสติปัญญาอีกด้วย และเด็กที่ขาดประสบการณ์ ในการเล่นก็จะขาดทักษะต่าง ๆ ที่จําเป็น
ทฤษฎีการเล่นร่วมสมัย
( Contemporary Theory of play )
1.ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
• ทฤษฎีมองการเล่นในแง่
ของพฤติกรรมของความรู้สึก
• ฟรอยด์กล่าวว่า การเล่นนั้นเกิดจากการต้องการความพึงพอใจ การที่เด็กจะบรรลุถึงความพึงพอใจได้นั้น จะต้องสนองด้วยการเล่นนั่นเอง การเล่นจะช่วยให้เด็กสามารถลดความไม่พึงพอใจ และลดวามวิตกกังวล
• วอลเดอร์เสนอแนวคิด"การถูกบังคับให้ทําซํ้าๆซากๆ " โดยเขากล่าวว่า เมื่อแด็กมีประสบการณ์ที่ไม่พึงพอใจ เด็กไม่สามารถที่จะลดมันได้หมดทันที ในเวลานั้น แต่เด็กจะต้องสร้างประสบการณ์นั้นซํ้าแล้วซํ้าอีกโดยการเล่นเพื่อที่จะลดความเข้มข้นของ ประสบการณ์ที่ไม่พึงพอใจนั้นลง
• Erikson แบ่งขั้นตอนของการพัฒนาการเล่นของเด็กออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1) Autocosmic เป็นการเล่นเกี่ยวกับตนเอง โดยศูนย์กลางการเล่นอยู่ที่ตนเอง
2) Microsphere เป็นการเล่นอยู่กับโลกใบเล็กๆ ของตนเอง จินตนาการของตนเอง
3) Macrosphere เป็นการเล่นโดยมีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นสังคม
2.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
• ทฤษฎีการเล่นทางสติปัญญา โดยอธิบายถึงขั้นพัฒนาการทางสติปัญญา ไว้ดังนี้
1) ขั้นใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ อายุ 0-2 ปี
2) ขั้นเริ่มมีความคิดความเข้าใจ อายุ 2-7 ปี
3) ขั้นใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม อายุ 7-11 ปี
4) ขั้นใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม อายุ 11-15 ปี
• การเล่นกับตนเอง เป็นการเล่นของเด็กที่อยู่ในขั้นประสาทสัมผัส การเล่นของเด็กจะ แสดงโดยการใช้ อวัยวะรับสัมผัสกับสิ่งต่างๆทําให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆโดยรอบ
• การเล่นทางสัญลักษณ์เป็นการเล่นที่อยู่ในพัฒนาการขั้นเริ่มมีความคิดความเข้าใจเป็นวัยที่เริ่มมีกลุ่มพื่อน
ทฤษฎีสังคมและวัฒนธรรม
• การเล่นทางสังคม เป็นการเล่นที่ต่อเนื่องจากขั้นการ เล่นทางสัญลักษณ์โดยเด็กพัฒนาเข้ามาสู่การเล่นตามจินตนาการเพียงลําพัง มาสู่การเล่นกับคนอื่น ทําให้เกิด การเรียนรู้ทางสังคม และใช้ภาษาในการสื่อสารมากขึ้น
• เด็กมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่สูงขึ้นอยู่ในขั้นการคิดแบบรูปธรรม 2 ทฤษฎี
ทฤษฎีการเล่นของพาร์เตน (Parten)
ทฤษฎีการเล่นของไวก๊อตสกี้ (Vygotsky)
• ทั้งนี้การเล่นจะทําให้เด็กได้พัฒนาการการสื่อสารและบูรณาการทั้งด้านการสื่อความคิดและความรู้สึกเมื่อเข้าสู่ชั้นเรียนระดับประถม การเล่นจะค่อยๆลดความสําคัญลง เด็กต้องเข้าสู่ระบบการเรียนอย่างมีแบบแผน