Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO (ABO Incompatibility) - Coggle…
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO
(ABO Incompatibility)
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
สาเหตุจากหมู่เลือดระบบ ABO ไม่เข้ากับมารดาพบเฉพาะในแถบประเทศตะวันตก ส่วนใหญ่จะพบในทารกหมู่เลือด A หรือ B ที่เกิดจากมารดาหมู่เลือด O แนวโน้มทารกที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในคนผิวดำเนื่องจาก anti-A และ anti-B จะมีความแรงมากกว่าคนเอเชียและคนผิวขาว
พยาธิสรีรภาพ
anti-B ในมารดาที่มีหมู่เลือด A หรือ subgroup A2เป็นสาเหตุให้ทารกหมู่เลือด B เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกไดทารกหมู่เลือด A1 B มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกอย่างรุนแรงหลังคลอดจากมารดา
มารดาหมู่เลือด O มักจะมี anti-A และ anti-B ชนิด IgG มากกว่ามารดาหมู่ เลือด A หรือ B
• ภาวะนี้มักเกิดกับมารดาที่มีกลุ่มเลือด O และทารกหมู่เลือด AหรือB ระหว่างการตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงของทารกจะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดของมารดา
• หากเป็นหมู่เลือด A จะมี antigen A บนเม็ดเลือดแดงของลูกไปกระตุ้นให้มารดาสร้าง antibody ทำให้มีantibody มากและส่วนใหญ่จะเป็น IgG ซึ่งสามารถผ่านรกเข้าสู่กระแสเลือดของทารกจะทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดง
• ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกทารกแรกเกิดมีภาวะซีด บวม และตัวเหลือง จนอาจเสียชีวิตได้ภายหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
พบอาการตัวเหลืองเท่านั้นและมักจะมีอาการเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
ทารกแรกเกิดที่ไม่ได้รับการรักษาเสี่ยงต่อการที่สมองถูกทำลายอย่างรุนแรงจากภาวะkernicterus
แนวทางการประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
ทารกที่มีจุดเลือดออกตามตัว ตับ ม้ามพบว่าเกิดจาการติดเชื้อภายในครรภ์อาการซีดอาจเกิดจากการแตกทําลายของเม็ดเลือด การเจริญเติบโตช้าความพิการแต่กำเนิดก็พบอาการตัวเหลืองได้บ่อย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับบิลิรูบินใน serum
ตรวจนับเม็ดเลือดและตรวจลักษณะรูปร่างเม็ดเลือดแดงบนแผนสไลด์ฟิล์มเลือด
ตรวจหมู่เลือด ของมารดาและทารกแรกเกิด
Direct Coomb’s test เพื่อตรวจหา maternal antibodies Rh and ABO typing
การซักประวัติ
การตรวจกลุ่มเลือดและประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดที่ผ่านมาเกี่ยวกับการไม่เข้ากันของกลุ่มเลือด ABO
แนวทางการรักษา
การรักษาที่ดีที่สุดคือ การกระตุ้นให้คลอด
หลังจากคลอดทารกที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง มักได้รับการส่องไฟ (phototherapy
ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องให้การรักษาทารกขณะอยู่ในครรภ์อาการของทารกแรกเกิดมักอยู่ในระดับปานกลางจะไม่มีอาการรุนแรงหากอาการรุนแรงอาจต้องเปลี่ยนถ่ายเลือดในระหว่างการตั้งครรภ์แต่หากอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป
ทารกที่มีอาการรุนแรง จะต้องได้รับการดูแลในแผนกทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit: NICU) และมักได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด (exchange transfusion)อย่างทันทีหลังคลอด
การพยาบาล
3.ติดตามภาวะ jaundice ด้วยการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงต่อ hemolytic disease
4.ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด หากตรวจพบภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อเฝ้าระวังและประเมินภาวะ pathologic jaundice
2.อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม พยาธิสรีรภาพ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปรวมถึงการรักษาและพยาบาล แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว
1.ประเมินความเสี่ยงของคู่มารดาและทารกจากการซักประวัติ ประวัติการตั้งครรภ์และคลอดที่ผ่านมา เพื่อค้นหาความเสี่ยงของทารกแรกเกิด
5.ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟ ให้วางทารกไกลแสงไฟพอประมาณ ระวัง burn พลิกตัวทุก 3-4 ชั่วโมงและปิดตาทารกด้วย eye patches เพื่อป้องกันตาเกิดการระคายเคืองและดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลของทารกที่ได้รับการส่องไฟ