Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่7 การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนทางอายุร…
บทที่7
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม
ABO Incompatibility
พยาธิสรีรภาพ
สตรีตั้งครรภ์หมู่เลือด O มักจะมี anti-A และ anti-B ชนิด IgG บ่อยกว่าสตรีตั้งครรภ์หมู่ เลือด A หรือ B อย่างไรก็ตาม มีรายงาน anti-B ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี หมู่เลือด A หรือ subgroup A2 เป็นสาเหตุให้ทารกหมู่เลือด B เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
จากหมู่เลือดระบบ ABO ไม่เข้ากับสตรีตั้งครรภ์พบเฉพาะในแถบประเทศตะวันตก
อาการและอาการแสดง
มักจะมีอาการเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ไม่ค่อยพบอาการซีดเนื่องจากการสร้างแอนติเจนในหมู่เลือดระบบ ABO ของทารกนั้นจะยังไม่ดีเท่าในวัยผู้ใหญ่
การพยาบาล
ติดตามภาวะ jaundice ด้วยการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงต่อ hemolytic disease เพื่อเฝ้าระวังและรายงานแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด หากตรวจพบภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อเฝ้าระวังและประเมินภาวะ pathologic jaundice รายงานแพทย์ เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันที
ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟ ให้วางทารกไกลแสงไฟพอประมาณ ระวัง burn พลิกตัวทุก 3-4 ชั่วโมง และปิดตาทารกด้วย eye patches เพื่อป้องกันตาเกิดการระคายเคือง
Rh incompatibility
พยาธิสรีรภาพ
ในขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของสตรีตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการสร้าง antibodies ในแม่ซึ่ง antibodies นี้จะไหลเวียนกลับเข้าสู่ทารกในครรภ์ และ antibodies เหล่านี้จะไปจับและทำลายเม็ดเลือดแดงของทารก ทำให้ทารกมีภาวะโลหิตจาง
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การไม่เข้ากันของกลุ่มเลือด Rh
ของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
แนวทางการรักษาและการพยาบาล
ป้องกันการเกิด Isoimmunization
เฝ้าระวังและตรวจหา antibodies ในหญิงตั้งครรภ์ และการดูแลสุขภาพของทารกในครรภ์
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ไม่ค่อยพบผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทารก
มักพบผลกระทบต่อทารกในการตั้งครรภ์ที่ 2 ทำให้ทารกเกิดภาวะ neonatal anemia, hydrops fetalis, ตับและม้ามโต, hyperbilirubinemia, kernicterus, dead fetus in uterus, still birth
อาการและอาการแสดง
ทารกจะซีดมาก อาจเกิดหัวใจวายตัวบวมนํ้า
ที่เรียกว่า hydrops fetalis
ในรายที่ไม่ตายคลอดก็จะมีปัญหาซีดมากหรือเหลืองมากจนเสียชีวิตหรือเกิด bilirubin toxicity
Thalassemia
สาเหตุ
ความผิดปกติทางโครงสร้าง การเปลี่ยนแปลงการเรียงตัวของ amino acid บน polypeptide chain ทำให้เกิด Hb ที่ผิดปกติ
ความผิดปกติทางปริมาณการสร้าง globin สาย alpha น้อยลง เรียกว่า α-thalassemia ถ้า globin สาย beta น้อยลง β-thalassemia
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย และสามีเข้าใจถึงความจำเป็นในการคัดกรองหาธาลัสซีเมียเพื่อให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
โรคธาลัสซีเมียที่อาการรุนแรง ควรแนะนำเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด และให้สตรีตั้งครรภ์และสามีตัดสินใจว่าจะดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปหรือยุติการตั้งครรภ์
สนับสนุนทางด้านจิตสังคมแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว พร้อมทั้งให้การดูแลให้ได้รับการส่งต่อเพื่อปรึกษานักจิตวิทยาเมื่อมีความจำเป็น แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
พยาธิสรีรภาพ
การสังเคราะห์ α-globin และ β-globin ลดน้อยลงหรือไม่สร้างเลย จะทำให้ globin ที่เหลืออยู่รวมตัวกันเอง แล้วตกตะกอนอยู่ในเม็ดเลือด ทำให้เลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ ขาดความยืดหยุ่นผนังของเม็ดเลือดแดงถูกทำลายง่าย
อาการและอาการแสดง
อาการรุนแรงมาก 2-3 เดือนหลังคลอด ระดับ Hb 2.3-6.7 gm% มีการเจริญเติบโตช้า ตับม้ามโต และมักเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก
กลุ่ม β-thalassemia/Hb E จะมีอาการภายในขวบปีแรก คือ ซีด เหลือง ตับม้ามโต มี thalassemia facies กระดูกบางเปราะแตกง่ายร่างกายแคระแกร็น เจริญเติบโตไม่สมอายุ
อาการรุนแรงปานกลาง ซีดปานกลาง ตับและม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลือง มีการเจริญเติบโตเกือบเหมือนคนปกติ เมื่อมีไข้ติดเชื้อ จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย เกิดอาการซีดอย่างรวดเร็ว
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
รายที่มีภาวะ Hb Bart’s hydrop fetalis มักเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ คลอดยาก
มีโอกาสติดเชื้อเนื่องจากความต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
เกิดภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ น้ำหนักน้อย
ขาดออกซิเจนในระยะคลอด และอาจได้รับการถ่ายทอดความผิดปกติของโครโมโซมทำให้เป็นโรคหรือเป็นพาหะ