Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล, นางสาวภัทรวดี เลียลา รหัสนิสิต…
บทที่ 10
การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
แนวทางการจัดการเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้ แบบ Digital Learning
2. เปิดพื้นที่การใช้เทคโนโลยี
เปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามความคิดของ
ผู้เรียนเองก่อนหากผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
5. เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม การใช้เทคโนโลยี
เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ดิจิทัลเชิงบูรณาการ
หมายความว่า ผู้สอนควรสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานดิจิทัลเข้าไป
ในกระบวนการเรียนรู้หรือการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. กระตุ้นให้แสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ
กระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาเครื่องมือดิจิทัลใหม่ ๆ ที่ตอบสนองการความต้องการ
ในการใช้งานได้ดีกว่าเครื่องมือดิจิทัลแบบเดิม ๆ
1. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยี
สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียน
แนะนำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและคุณค่าที่แท้จริง
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี
ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ
การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ดิจิทัลในการทำงาน
การประเมินการเรียนรู้ใน
New normal
การประเมินการเรียนรู้ใน New normal
มุ่งเน้นการใช้วิธีการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Self-assessment
for improvement) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการประเมินตนเอง
ซึ่งเป็นจุดเน้นของการประเมินการเรียนรู้ใน New normal
บทบาทผู้สอน ต้องจัดเตรียมเครื่องมือการประเมินต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ในการประเมินตนเอง อีกทั้งยังต้องให้ข้อมูลย้อนกลับต่อคุณภาพของการประเมินตนเองของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้สอนยังต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสะท้อนคิดและถอดบทเรียนจากผลการประเมินตนเองอีกด้วย
ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองในลักษณะของการประเมินเชิงรุก
(Active assessment) ที่เป็นการประเมินตนเองทันทีเมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้น
แทนที่การประเมินเชิงรับ (Passive assessment) ที่ต้องรอให้ผู้สอนประเมิน
ทำให้เสียโอกาสการเรียนรู้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Digital Learning
ความหมาย
การเปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกระดับ ทุกรายวิชา
ประกอบด้วย
2. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายในลักษณะของการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Personalized learning) ที่ผู้เรียนสามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของตนเองได้จะทำให้ผู้เรียนมีทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างหลากหลาย
3. เตรียมความพร้อมทรัพยากรเทคโนโลยี
เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรการเรียนรู้ อุปกรณ์การเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ โดยเฉพาะแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ ที่ผู้สอนต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า
1. ออกแบบสถานการณ์ที่ต้องใช้เทคโนโลยี
ออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานร่วมกัน (Collaborative working) ตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4. จัดระบบขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้
จัดระบบหรือขั้นตอนการเรียนรู้ให้ชัดเจนว่ากิจกรรมลำดับแรกคืออะไร ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอะไร กิจกรรมลำดับถัดไปคืออะไร ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอะไร
ความหมาย ลักษณะของ
การเรียนรู้แบบ Digital Learning
ความหมาย ลักษณะ
ของการเรียนรู้ Digital
ผู้สอนทำหน้าที่โค้ช ให้คำชี้แนะ ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้สอนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสถานการณ์ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
การเรียนรู้แบบ Digital Learning ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้
เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะ
กับการเรียนรู้ Digital
การรู้สังคม (Social literacy)
ความสามารถในการมีส่วนร่วม ผ่านความร่วมมือและเครือข่าย เยาวชนต้องการทักษะสำหรับการทำงานภายในเครือข่ายทางสังคม เพื่อการรวบรวมความรู้ การเจรจาข้ามวัฒนธรรมที่แตกต่าง และการผสานความขัดแย้งของข้อมูล
การรู้สารสนเทศ (Information literacy)
ความสามารถในการประเมินว่าสารสนเทศใดที่ผู้เรียนต้องการ การรู้วิธีการที่จะค้นหาสารสนเทศที่ต้องการออนไลน์ การรู้การประเมินและการใช้สารสนเทศที่สืบค้นได้
การรู้การสื่อสาร (Communication literacy)
ความสามารถของผู้เรียนในการคิด การจัดการ และการเชื่อมต่อกับคนในสังคม บูรณาการความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น เพลง วิดีโอ ฐานข้อมูลออนไลน์ ฯลฯ และควรรู้วิธีการใช้แหล่งสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้
การรู้เทคโนโลยี (Technology literacy)
ความสามารถของผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยี ครอบคลุมทักษะคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานสู่ทักษะที่ซับซ้อนมากขึ้น
การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual literacy)
ความสามารถของผู้เรียนเกี่ยวกับความเข้าใจ การแปลความหมายสิ่งที่เห็น การวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และการใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงาน การดำรงชีวิตประจำวัน
การรู้สื่อ (Media Literacy)
ความสามารถของผู้เรียนในการเข้าถึง การวิเคราะห์ และการผลิตสื่อผ่านความเข้าใจและการตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบและอิทธิพลของสื่อมวลชนและวัฒนธรรมที่เป็นที่นิยม
นางสาวภัทรวดี เลียลา รหัสนิสิต 61206678 sec 16