Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 แนวคิด หลักการทฤษฎีการพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
บทที่ 2 แนวคิด หลักการทฤษฎีการพยาบาลจิตเวช
2.1แนวคิดสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต
โรคทางจิต
-มีอาการทางจิตเวชมักเป็นบวก (Severe)
-มีอาการนาน (Persistent)
-มีอาการต่างจากภาวะปกติ 3 ด้าน คือ
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมาณ(distress)
ทำให้คนรอบข้างทุกข์ทรมาณ (distrub)
ผู้ป่วยทำหน้าที่การใช้ชีวิตประจำวันลดลง (dysfuntion)
เกณฑ์การจําแนกโรคทางจิตเวช
Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-5)
International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีตัวย่อว่า ICD-10
ระบบการวินิจฉัยโรคแบบหลายแกน (Multiaxial diagnosis)
DSM-IV -TR
การประเมินความสามารถโดยรวม (Global Assessment of Functioning Scale:GAF)
อาการทางจิตเวช
1.Conciousness ภาวะความรู้สึกตัว (State of awareness)
ความผิดปกติของสติสัมปชัญญะ (Disturbances of Consciousness)
ความผิดปกติในความตั้งใจ (Disturbances of attention)
ความผิดปกติเกี้ยวยกับการคล้อยตาม(Disturbances insuggestibillity)
Affect
ความผิดปกติของอารมณ์ (Disturbances in affect)
Motor Behavior
ความผิดปกติของพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (Disturbance of motor behavior)
Thinking
ความผิดปกติในเนื้อหาของความคิด (Disturbances in content of thought)
ความผิดปกติในควบคุมความคิด
ความผิดปกติในกระแสของความคิด (Stream of thought)
5.Speech
ความผิดปกติในการพูด (Disturbances of speech)
6.Perception
ความผิดปกติของการรับรู้(Disorder of perception)
7.Memory
ความผิิดปกติในความจํา (Disturbance of memory)
Intelligence
ทฤษฎีที่ใช้ทางสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
1.ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ความเชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ที่แตกต่างกันเนื่องมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนเมื่อเวลาอยู่ในวัยเด็ก และขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคนแก้ปัญหของความขัดแย้งของแต่ละวัยอย่างไร โดย 5 ปีแรกของชีวิตจะมีความสำคัญมากฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือ จิตสำนึก (Conscious) จิตก่อนสำนึก (Pre-conscious) และจิตไร้สำนึก (Unconscious)
2.ทฤษฎีทางพฤติกรรม
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Classical Conditioning) หรือการตอบสนองที่ถูกกระตุ้น
1.การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรมการตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ความเข้มข้นของการตอบสนองจะลดน้อยลงเรื่อยๆ
2.การฟื้นคืนสภาพการตอบสนองจากการวางเงื่อนไข หมายถึง การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (CS) ที่ลดลง เพราะได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียวจะกลับปรากฏขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้นๆ ถ้าผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างแท้จริง
3.การสรุปความเหมือน ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้โดยการแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม ร่างกายจะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
4.การจำแนกความแตกต่าง ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้โดยแสดงอาการ ตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม ร่างกายจะตอบสนองแตกต่างไปจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้นเป็นลักษณะที่ผู้เรียนสามารถจำแนกสิ่งที่แตกต่างกัน
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning Theory)
1 การเพิ่มพฤติกรรมหรือคงพฤติกรรมเดิมที่เหมาะสม คือ การเสริมแรงในทางบวก เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงพอใจ การทำสัญญาเงื่อนไข การเสริมแรงในทางลบ เป็นต้น
2 การปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่างโดยใช้วิธีที่เรียกว่า การดัดหรือการตบแต่งพฤติกรรม (Behavior Shaping) ซึ่งเป็นการใช้วิธีให้แรงเสริมกับพฤติกรรม เช่น การกระทำให้เด็กที่ไม่กล้าพูดไม่กล้าแสดงออกเป็นเด็กที่กล้าขึ้นมาได้ก็โดยการชมเชย และให้กำลังใจเมื่อเขากล้าพูด และกล้าแสดงออก ฯลฯ
.3 การลดพฤติกรรม เป็นการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา ซึ่งจะใช้วิธีการลงโทษ
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory )เมื่อผู้เรียนพบปัญหาเขาจะมีปฏิกิริยาแบบเดาสุ่มซึ่งเป็นการลองผิดลองถูก ผู้เรียนจะลองทำหลายวิธี จนกระทั่งประสบความสำเร็จในที่สุด
3.ทฤษฎีทางชีววิทยา
-บุคคลมีความแปรปรวนทางด้านอารมณและจิตใจ -สาเหตุการเจ็บป่วย เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะ Limbic system และSynapse ในระบบประสาทส่วนกลาง -มีอาการแสดงที่สามารถนำมาเป็นข้อมูลในการจำแนกโรคได้
4.ทฤษฎีมนุษยนิยม
ทฤษฎีมนุษยนิยมของมาสโลว์
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs)
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs)
ขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์
ทฤษฎีมนุษยนิยมของคาร์ โรเจอร์ส
กระบวนการพัฒนาการค่านิยม (Organizing Valuing Process) บุคคลเกิดมา พร้อมพลัง หรือแรงจูงใจ ที่จะพัฒนาตนเองไปสู่สภาวะของการรู้จักตนเองอย่างแท้จริง และเนื่องจากบุคคลเกิดมาจาก สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อมและโลกส่วนตัวของบุคคลด้วย
การยอมรับจากผู้อื่น (Positive Regard from others)
การยอมรับตนเอง (Self-Regard) บุคคลจะเรียนรู้ที่จะยอมรับตนเองจากการที่เขารับรู้ว่าผู้อื่นแสดงการยอมรับในตัวเขาหรือไม่ โดยไม่คำนึงถึง ความต้องการของตนเอง แต่จะเอา ค่านิยมของผู้อื่นที่มีต่อตัวเขา เป็นเกณฑ์
ภาวะของการมีคุณค่า (Conditions or Worth) เป็นลักษณะที่บุคคลรู้สึกว่าตน มีคุณค่า เพราะเขาสามารถยอมรับตนเองได้ โดยมโนภาพแห่งตนที่เขารับรู้สอดคล้องกับ ความเป็นจริง เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
5.ทฤษฎีทางการพยาบาล
ทฤษฎีของเพบพลาว เป็นทฤษฎีการพยาบาลที่เน้นกระบวนการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ระหว่างผู้รับบริการและพยาบาล โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ผู้รับบริการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่เข้มแข็ง และมีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นๆ
ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม โดยมีจุดเน้นเรื่อง
การดูแลตนเองระดับบุคคล
ทฤษฎีดูแลตัวเอง (Self – care Theory)
ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง (The theory of self-care deficit)
ทฤษฎีระบบพยาบาล (The theory of nursing system)
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
การปรับตัวเป็นการตอบ สนองภายในระบบ เมื่อมีเหตุการณ์เข้ามากระทบ การปรับตัวมีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคม ไม่สามารถแยกจากกันได้ บุคคลจะมีการ ปรับตัวเพื่อให้เกิดความปกติสุขหรือมีภาวะสุขภาพที่ดี