Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 แนวคิด หลักการ ทฤษฎีการพยาบาลจิตเวช(การตรวจสภาพจิต) - Coggle…
บทที่ 2 แนวคิด หลักการ ทฤษฎีการพยาบาลจิตเวช(การตรวจสภาพจิต)
ลักษณะทั่วไป และพฤติกรรม (General Appearance and Behavior)
1.1 ลักษณะภายนอก (Appearance)
1.2 ภาษากาย (Body language) การแสดงสีหน้า เช่น ยิ้ม หน้านิ่วคิ้วขมวด หน้าตาตื่นตระหนก
1.2.3 ระดับการตื่นตัว เช่น ตื่นตัวมาก หรือเชื่องช้า
1.2.4 การกระทำหรือพฤติกรรมในขณะนั้น เช่น เดินวนไปมารอบห้อง หรือควบคุมตัวเองไม่ได้
(ถอดเสื้อผ้าออก) เดินช้า พูดรัวเร็ว เป็นต้น
1.2.2 ลักษณะท่าทาง เช่น ผู้ป่วยซึมเศร้าที่นั่งไหล่ตก
1.2.5 ลักษณะสัมพันธภาพ เช่น แยกตัว ห่างเหิน เย็นชา สุภาพ เป็นมิตร หยาบคาย หวาดระแวง
ระวังตัว
1.2.1 การสบตา เช่น สบตาเหมาะสม มองจ้อง (Staring) หลบตาต่ำ (Downcast) หลีกเลี่ยงการ
สบตาหรือไม่สบตาถูกกระตุ้นจากสิ่งรอบข้างได้ง่าย (Distracted)
1.2.6 ลักษณะอื่น ๆ ที่แสดงถึงการรับรู้ผิดปกต
1.2 พฤติกรรม (Behavior) ได้แก่ การเคลื่อนไหว (Motor behavior) ที่อาจมีมากหรือน้อยกว่าปกติ
ช้าหรือเร็ว เป็นตลอดเวลาหรือเป็นพักๆ
1.3 เจตคติ (Attitude) ต่อผู้ตรวจ ได้แก่ ท่าทีให้ความร่วมมือ เป็นมิตร ไม่ไว้วางใจ ใส่ใจ สนใจ จริงใจยั่วยวน (Seductive) ปกป้อง ไม่เป็นมิตร (Hostility)
อารมณ์ (Emotion)
2.1 พื้นฐานอารมณ์ (Mood) คือ ภาวะทางอารมณ์ที่คงอยู่เป็นเวลานานและเปลี่ยนแปลงน้อยในช่วงเวลาหนึ่ง พยาบาลควรทราบถึงอารมณ์รู้สึกของผู้ป่วยได้โดยอาศัยการบอกเล่าของผู้ป่วยอารมณ์รู้สึกที่พบได้บ่อย
2.2 การแสดงอารมณ์ (Affect expression) คือ สังเกตการแสดงออกของอารมณ์ในช่วงขณะหนึ่ง ใน
การสัมภาษณ์แต่ละครั้ง ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แสดงได้หลายลักษณะ
2.2.1 พิสัยและความรุนแรง (Range & Intensity) ผู้ป่วยมีอารมณ์ หงุดหงิด (Irritable) ลดลง
หรือจำกัด (Restricted or Constricted) ลดลงอย่างมาก
2.2.2 การเปลี่ยนแปลง (Changeability) ผู้ป่วยมีอารมณ์มั่นคง (Stability) หรือเปลี่ยนแปลง
ง่าย (Labile)
2.2.3 ความเหมาะสม (Appropriateness) ความเหมาะสมในการแสดงอารมณ์ว่าเหมาะสมกับ
เรื่องราวที่กำลังพูดคุยกันอยู่หรือไม
การพูดและการใช้ภาษา (Speech & Language)
3.1 การพูด (Speech) หมายถึง การผลิตเสียง ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการสื่อสาร ดังนั้น การพูดจึงมีความ เกี่ยวข้องกับการทำงานของริมฝีปาก ลิ้น เพดานปาก สายเสียง และการหายใจ พยาบาลควรสังเกต การพูดด้วย ตนเอง ความเร็ว ความดัง ความแหลม ความชัดเจน และความคล่องแคล่ว
3.1.1 อัตราการพูด (Rate) อยู่ในเกณฑ์ปกติ เร็ว หรือช้า
3.1.2 จังหวะ (Rhythm) การพูดราบรื่นดีหรือมีการติดขัด
3.1.3 ความดัง (Volume) พูดค่อยหรือดัง เสียงดังอาจเพราะโกรธ
3.1.4 ความผิดปกติของคำพูด ได้แก่ คำพูดที่แปลกใหม่ที่ผู้อื่นไม่รู้ความหมาย (Neologism)
3.2 ภาษา (Language) หมายถึง ความเข้าใจและการแสดงออกของความหมายผ่านการใช้คำ ในการ
ประเมินภาษา พยาบาลต้องฟังอย่างตั้งใจ และใช้การทดสอบบางประการ
การตรวจสภาพจิต คือ การตรวจสภาพการทำงานของจิตใจผู้ป่วย ผู้ตรวจทำการตรวจแล้วบันทึก อาการแสดงต่างๆ ซึ่งสะท้อนการทำงานของจิตใจหลายด้าน เช่น ความคิด อารมณ์ ความจำ เป็นต้น แล้วนำไป วิเคราะห์หาสาเหตุของโรคหรือการวินิจฉัย มีองค์ประกอบต่อไปนี้
ความคิด (Thought)
4.1 กระแสความคิดหรือกระบวนการคิด (Stream or process of thought) โดยปกติกระแส
ความคิดจะดำเนินติดต่อกันเรื่อยไปอย่างมีระเบียบ มีอัตราความเร็ว-ช้า และมีจุดประสงค์ที่แน่นอน
4.2 เนื้อหาความคิด (Content of thought) เนื้อหาความคิด คือ สิ่งที่ผู้ป่วยคิด ซึ่งแสดงออกทางคำพูดผู้ป่วยอาจจะพูดเองหรือพยาบาลต้องถามเพื่อให้ได้คำตอบ
4.3 ความคิดแบบนามธรรม (Abstract thinking) วิธีการตรวจความคิดแบบนามธรรม
4.3.1 ความสามารถในการบอกความเหมือนกัน (Similarity)
2) ความเหมือน (Similarities) โดยให้ผู้ป่วยเปรียบเทียบความเหมือนของสิ่งของ 2 สิ่ง
1) ความต่าง (Dissimilarities) โดยให้ผู้ป่วยเปรียบเทียบความต่างของสิ่งของ 2 สิ่ง
4.3.2 การบอกความหมายของคำพังเพยและภาษิต (Proverb interpretation)
Fair พอใช้ ไม่สามารถวางนัยทั่วไปแบบนามธรรมได
Poor เสีย ไม่ทราบเป็นสุภาษิตหรือมีการบิดเบือนความหมาย
Good ดี ให้ความหมายของสุภาษิตได้ด
4.4 ความคิดหมกมุ่นในเรื่องตนเอง (Autistic thinking) เป็นความคิดเกี่ยวกับตนเอง อยู่ในโลกของตนเอง
ระดับการรู้สึกตัว (Level of consciousness)
ระดับการรู้สึกตัว คือ ความสามารถของผู้ป่วยที่จะสนใจรับรู้ และตอบสนองต่อผู้ตรวจและ สถานการณ์แวดล้อม เป็นการตรวจสอบระดับความตื่นตัว (Alertness and wakefulness) ซึ่งแบ่งออกเป็นหลาย ระดับ
6.2 Stupor: ขาดการตอบสนองและความตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อม
6.3 Coma: สูญเสียการรู้สึกตัว (unconsciousness) อย่างรุนแรง
6.1 การรู้สึกตัวเลื่อนลอย (Clouding of consciousness) มีการเสื่อมเสียเล็กน้อยเกี่ยวกับ
กระบวนการรู้แบบทั่วไป
6.4 Twilight state: มีความผิดปกติของการรู้ตัวร่วมกับการมีประสาทหลอน
การรับรู้ (Perception)
การรับรู้ คือ ความสามารถของผู้ป่วยในการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและโลกภายนอก ตลอดจนความสัมพันธ์ ระหว่างตนกับสิ่งแวดล้อม การรับรู้ผ่านประสารทสัมผัสอาจมีความผิดปกติจนขาดเหตุผลของความเป็นจริง ความ ผิดปกติของการรับรู้แบ่งได
5.1 ประสาทหลอน (Hallucination) คือ การรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่ผิดไปจากความเป็นจริง โดย
ปราศจากสิ่งเร้าจากภายนอก
“คุณเห็นอะไรที่คนอื่นไม่เห็นบ้างไหม” “คุณเห็นกับตาหรือว่าอยู่ในใจคุณ” เพื่อประเมินอาการ
ประสาทหลอนทางตา หรือภาพหลอน (Visual hallucination)
ความใส่ใจและสมาธิ (Attention & Concentration) ความใส่ใจและสมาธิ คือ ความสามารถของผู้ป่วยในการมีความสนใจและตั้งใจกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ได้ในระยะเวลาหนึ่ง
8.2 ทดสอบโดยให้ผู้ป่วยลบ 7 ออกจาก 100 ในใจ เมื่อได้ตัวเลขเท่าใดก็ลบ 7 ต่อไปเรื่อยๆ (Serial
7s) ไม่มีการทวนผลลัพท์หรือป้อนเลขให้ ให้ลบประมาณ 5 ลำดับ
8.1 การสังเกตการขาดความใส่ใจ (Inattentiveness) ในสิ่งแวดล้อม ความใส่ใจเพิ่มขึ้นหรือการระแวดระวัง (Increased attentiveness or vigilance) การเบี่ยงเบนความสนใจโดยง่าย (Distractibility)
การรู้เวลา สถานที่ และบุคคล (Orientation) การรู้เวลา สถานที่ และบุคคล คือ การที่ผู้ป่วยสามารถบอก วัน เดือน ปี ฤดูกาล และเวลา (Time) บอกสถานที่ที่เขาอยู่ขณะที่สัมภาษณ์ (Place) และบอกบุคคลได้ (Person)
ความจำ (Memory) ประเมินความจำได้โดยการสังเกตว่าผู้ป่วยเล่าและลำดับเหตุการณ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำเพียงใด นอกจากนี้ใช้การทดสอบเพื่อหาความผิดปกติของความจำร่วมด้วย
9.4 ความจำในอดีต (Remote memory) ถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆในชีวิต เช่น สถานที่เกิด ชื่อ
โรงเรียน ที่ทำงาน
9.3 ความจำในปัจจุบัน (Recent memory) การถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง
หรือ 2-3 วันที่ผ่านมา เช่น อาหาร รายการโทรทัศน์ที่ดู การมาโรงพยาบาล
9.1 ความจำเฉพาะหน้า (Retention recall memory) โดยผู้ทดสอบพูดคำ 3 คำแล้วให้ผู้ป่วยพูดตามทีละคำ
9.2 ความจำทันที (Immediate recall memory) โดยการให้ผู้ป่วยนับตัวเลขตาม (Digit forward) หรือย้อนหลัง (Digit backward) ของผู้ตรวจ โดยปกติแล้วคนปกตินับเลขตามได้ 6-7 หลัก และนับย้อนหลังได้ 3- 4 หลัก
เชาว์ปัญญาและความรู้ทั่วไป (Intelligence & General knowledge) โดยการตั้งคำถามที่เหมาะสมกับการศึกษาและวัฒนธรรมของผู้ป่วย เช่น ให้บอกชื่อนายกรัฐมนตรี บอกชื่อเมือง ให้เล่าเหตุการณ์ที่สำคัญที่เพิ่งผ่านไป 4 เหตุการณ์
การตัดสินใจ (Judgment) การตรวจการตัดสินใจของผู้ป่วยว่าเหมาะสมหรือไม่ ประกอบด้วยเหตุผลอย่างไร และผู้ป่วยประพฤติ ตามการตัดสินใจนั้นเพียงไร การตัดสินใจและการกระทำของผู้ป่วยเป็นที่ยอมรับของสังคมและเหมาะสมกับ วัฒนธรรม ประเพณีหรือไม่ การตัดสินใจใช้เหตุผลหรืออารมณ์
11.1 การตัดสินใจทางสังคม (Social judgment) โดยการสังเกตความเหมาะสมของพฤติกรรมที่แสดงออกในขณะสัมภาษณ์ว่าเหมาะสมกับสถานการณ์หรือวัฒนธรรมเพียงใด
11.2 การทดสอบเกี่ยวกับสถานการณ์ (Situational judgment) โดยการสมมติสถานการณ์ขึ้นและถามถึงการตัดสินใจของผู้ป่วยในสถานการณ์นั้นๆ
แรงจูงใจในการรักษา (Motivation) แรงจูงใจในการรักษา คือ แรงจูงใจที่ผู้ป่วยจะร่วมมือในการรักษา ยอมรับปัญหาของตนเองและต้องการหาทางปรับปรุงแก้ไข ซึ่งสังเกตได้จากคำบอกเล่าและพฤติกรรมของผู้ป่วยในการมาติดต่อเพื่อขอรับการรักษา
การหยั่งรู้หรือการรู้จักตนเอง (Insight) การหยั่งรู้หรือการรู้จักตนเอง คือ การรู้สภาพความเจ็บป่วยของตน ซึ่งควรจะตรวจทุกครั้งก่อนจบ การสัมภาษณ์และการตรวจสภาพจิต ความผิดปกติของการหยั่งรู้มีหลายระดับ
12.2 ผู้ป่วยคิดว่าปัญหาของตนเป็นเรื่องทางกาย ไม่เกี่ยวกับจิต
12.3 ผู้ป่วยมีการหยั่งรู้ดีขึ้น จะยอมรับว่าตนมีปัญหาทางจิตใจ แต่ไม่เข้าใจชัดเจนถึงสาเหตุและ ความสัมพันธ์ของปัญหากับเรื่องอื่นๆ
12.1 ผู้ป่วยไม่มีความหยั่งรู้เลย (Poor insight)
12.4 ผู้ป่วยมีการหยั่งรู้ดีมาก หรือการหยั่งรู้อย่างเข้าถึงอารมณ์ที่แท้จริง (True emotional insight)
อาจเข้าใจปัญหาของตนเองมากอยู่แล้ว นอกจากส่วนที่อยู่ในจิตไร้สำนึก