Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์ - Coggle Diagram
การเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์
ข้อหัวการเขียนรายงาน
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบโครงงานนั้นอยู่ใน
ความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด
บทคัดย่อ
อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ
อย่างย่อประมาณ 300-350 คำ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำ
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์จนบรรลุเป้าหมาย
กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)
ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มี
ส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จด้วย
ชื่อโครงงาน
ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของ
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อ
เรื่อง และสรุป
สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน ต้องให้ความสำคัญ เพราะ
จะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ ซึ่งสมมติฐานก็คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผล ตามหลักการ ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงงานที่
ได้ทำมาแล้ว
วัตถุประสงค์ของการทดลอง
วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียน
วัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือ
สิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน คือ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ
วิธีดำเนินการ
วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง
เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง
ขอบเขตของการทำโครงงาน
ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่
น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนตัวแปรที่ศึกษา
ผลการศึกษาค้นคว้า
นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่
วิเคราะห์ได้ด้วย
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐาน ควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้ หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้ง
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข หากมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ตลอดจน
การเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลักการที่นิยมกัน
โครงงานวิทยาศาสตร์ 5 บท
ภาคผนวก
คำนำ
บทที่ 5 อภิปราย สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
อภิปราย สรุปผลการทดลอง
ข้อเสนอแนะ
บทคัดย่อ
บทที่ 4 ผลการทดลอง
หน้าปกโครงงาน ประกอบด้วย ชื่อโครงงาน ผู้จัดท าโครงงาน ที่ปรึกษาโครงงาน เป็นส่วนหนึ่งของวิชา/
กิจกรรม/ชมรม ระดับชั้น ภาคเรียน ปีการศึกษา ชื่อโรงเรียน
บทที่ 3 วิธีการทดลอง
สารเคมี/เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
วิธีการทดลอง
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญรูป
บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย
วัตถุประสงค์
ที่มาและความสำคัญ
ตัวแปรที่ศึกษา
ขอบเขตโครงงาน
ประโยชน์จะได้รับ
นิยามศัพท์
บรรณานุกรม
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง