Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารก…
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ
ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ (Polydramnios/ Oligohydramnios)
1.ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติหรือการตั้งครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios/ polyhydramnios)
การจำแนกชนิด
-ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน (Acute hydramnios)
พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20-24 สัปดาห์ จะมีมีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วัน
-ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง (chronic hydramnios)
พบว่าปริมาณน้ำคร่ำจะค่อยๆเพิ่มขึ้น แต่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ส่วนใหญ่จะพบเมื่ออายุครรภ์ 30 สัปดาห์ขึ้นไป
ผลต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
-ตกเลือดหลังคลอด
-ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว
-อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด
-ติดเชื้อหลังคลอด
-ระยะตั้งครรภ์ เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่
ผลต่อทารก
-ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่
-เกิดภาวะ fetal distress จาก prolapsed umbilical cord
-เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกำหนด
สาเหตุ
-ด้านทารก
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการกลืนของทารก ความผิดปกติของระบบประสาท การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร ความพิการของทารกในครรภ์
-ไม่ทราบสาเหตุ
เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด วินิจฉัยไม่พบความผิดปกติของมารดาและทารก จะพบความรุนแรงของภาวะครรภ์แฝดน้ำได้เล็กน้อยถึงปานกลาง
-ด้านมารดา
ได้แก่ มารดาเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด
อาการและอาการแสดง
-น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
-มีอาการบวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด
-แน่นอึดอัด หายใจลำบาก เจ็บชายโครง
พยาธิสรีรวิทยา
ความสมดุลของปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์มารดา สัมพันธ์กับปริมาณของเหลวที่เข้าและออกจากถุงน้ำคร่ำ ซึ่งจะแตกต่างกันตามอายุครรภ์ ในช่วงหลังของการตั้งครรภ์มักจะสัมพันธ์กับปริมาณ ปัสสาวะของทารก การสร้างของเหลวจากปอด การกลืน และการดูดซึมผ่านทางเนื้อเยื่อของทารก ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ น้ำคร่ำจะมาจากปัสสาวะร้อยละ 30 ของน้ำหนักตัว จากการกลืนร้อยละ 20-25 และสร้างจากปอดร้อยละ 10 ดังนั้นความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำจะสัมพันธ์กับความสมดุลของปริมาณของเหลวที่เข้าและออกจากถุงน้ำคร่ำ มากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น
การวินิจฉัย
2.การตรวจร่างกาย
-หน้าท้องขยายใหญ่ มดลูกมีรูปร่างกลมมากกว่ารูปร่างไข่ ขนาดมดลูกโตกว่าอายุครรภ์
-คลำหาส่วนต่างๆของทารกได้ลำบาก
-ฟังเสียง FHS ไม่ได้ยิน
-น้ำหนักตัวมารดาเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การหาค่า amniotic fluid index (AFI)
-ชนิดรุนแรงน้อย (mild) คือ วัด AFI ได้ > 24 เซ็นติเมตร
-ชนิดรุนแรงปานกลาง (moderate) คือ วัด AFI ได้> 32 เซ็นติเมตร
-ชนิดรุนแรงมาก (severe) คือ วัด AFI ได้ > 44 เซ็นติเมตรขึ้นไป
1.การซักประวัติอาการ และอาการแสดงการเกิดภาวะครรภ์แฝดน้ำ
อุบัติการณ์
การเกิดครรภ์แฝดน้ำ พบประมาณร้อยละ 1 ของการตั้งครรภ์
การพยาบาล
ระยะคลอด
-ให้นอนพักบนเตียง
-ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
-ฟัง FHS ในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15 นาที
-ให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
-ขณะแพทย์เจาะถุงน้ำ ต้องระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ จัดให้มารดานอนพักบนเตียง
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนกับสตรีตั้งครรภ์แฝดโดยเฉพาะดูแลการหดรัดตัวของมดลูก
ระยะตั้งครรภ์
1.ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำ
2.ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้องจากการขยายตัวของมดลูก
-จัดท่ามารดานอนตะแคง
-สังเกตอาการภาวะ congestive heart failure
-แนะนำให้มารดารับประทาน ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
-แนะนำให้มารดาสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย
-ดูแลให้ได้รับการเจาะดูดน้ำคร่ำออกตามแผนการรักษาของแพทย์
-เฝ้าระวังและตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 หรือ 97.5 ของแต่ละอายุครรภ์ โดยมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่ากว่า 2,000 มล. หรือวัดค่า Amniotic fluid Index: AFI ได้24 - 25 ซม. ขึ้นไป
การดูแลรักษา
-การเจาะดูดน้ำคร่ำออก (amnioreduction)
-การรักษาด้วยยา prostaglandin synthetase inhibitors ใช้ในกับสตรีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์
-รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
-ให้ยาขับปัสสาวะหากพบมีภาวะบวม
-ให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก (tocolytic drug)
-การเจาะถุงน้ำในระยะคลอด
-การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในรายที่มีส่วนนำและท่าของทารกที่ผิดปกติ
-ระยะหลังคลอดหากมีอาการตกเลือด ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
2.ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 300 มิลลิลิตร ภาวะน้ำคร่ำน้อยอาจพบร่วมกับความผิดปกติของทารก ความผิดปกติของโครโมโซม ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์และครรภ์เกินกำหนด
สาเหตุ
-ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดทำให้เกิดภาวะนี้ได้ 26-35 %
-ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ โดยเฉพาะระบบของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ
-ความผิดปกติของโครโมโซม
-รกเสื่อมสภาพ
-การตั้งครรภ์เกินกำหนด
-ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ เนื่องจากทารกในครรภ์ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ fetal distress
ผลต่อทารก
-มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ถ้าเกิดในอายุครรภ์น้อย ทารกมักมีความพิการรุนแรง
-ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia)
-Amniotic band syndrome การเกิดเยื่อพังผืดรัดและดึงรั้งมือและแขนหลายบริเวณ
-ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
-ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การวินิจฉัย
-การวัดโพรงน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง (maximum ventrical pocket, MVP)
-การวัดดัชนีน้ำคร่ำ amniotic fluid index (AFI) มีค่าน้อยกว่า 5 เซนติเมตร
-ประเมินขนาดของถุงน้ำคร่ำ
การรักษา
-การเติมน้ำคร่ำ (amnioinfusion) ด้วย normal saline/ ringers lactate 5% glucose เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
-การดื่มน้ำมากๆ ทำให้ปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
-การประเมินภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดและการรักษาภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
การพยาบาล
-อธิบายถึงสาเหตุการเกิด และแนวทางการรักษา
-ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร้ำ ตามแผนการรักษาของแพทย์
-รับฟังปัญหา แสดงความเห็นอกเห็นใจ และกระตุ้นให้ระบายความรู้สึก
ความหมาย
น้ำคร่ำหรือน้ำหล่อเด็กปกติจะมีลักษณะเป็นน้ำ มีความเป็นด่าง ช่วยควบคุมอุณหภูมิและการ เคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนด จะมีปริมาณน้ำคร่ำ 800-1,200 มล.
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intra Uterine Growth Restriction: IUGR)
ความหมาย
ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ไม่เป็นไปตามปกติ ถึงแม้อายุครรภ์จะครบกำหนดแล้วก็ตาม
ทารกที่มีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์(small for gestational age: SGA)
-ทารกที่มีขนาดเล็กตามธรรมชาติ (constitutionally small) หทารกที่มีขนาดเล็ก เนื่องมาจากมารดาตัวเล็ก
-ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intra Uterine Growth Restriction: IUGR/ Fetal growth restriction: FGR) ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะทุพ โภชนาการ
สาเหตุ
ด้านมารดา
-มารดามีรูปร่างเล็ก
-ภาวะขาดสารอาหาร
-ภาวะโลหิตจางรุนแรง
-มารดามีภาวะติดเชื้อ
-โรคของมารดา
-ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพของมารดา
-การตั้งครรภ์แฝดมักทำให้มวลของรกต่อทารกแต่ละคนลดลง
ด้านทารก
-ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้าง และอวัยวะของร่างกาย
-การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
-ความผิดปกติของโครโมโซม
การจำแนกประเภทของ IUGR
1.ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (Symmetrical IUGR)
-สตรีตั้งครรภ์มีภาวะทุพโภชนาการ
-สัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซมหรือการติดเชื้อในระยะแรกของการตั้งครรภ์
-การได้รับยาหรือสารเสพติด
-ทารกพิการแต่กำเนิดโดย
2.ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (Asymmetrical IUGR)
-สตรีตั้งครรภ์มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
-สตีตั้งครรภ์เป็นโรคเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงในการจับออกซิเจน
-สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติโรคไต ที่มีการสูญเสียโปรตีนออกทางปัสสาวะ
-ภาวะครรภ์แฝด
-ความผิดปกติของรกและสายสะดือ
การวินิจฉัย
2.การตรวจร่างกาย
3.การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (ultrasound)
-วัดเส้นรอบท้อง (Abdominal Circumference = AC)
-วัดขนาดของศีรษะทารก (Biparietal diameter = BPD)
-วัดเส้นรอบศีรษะ (Head circumference = HC)
-วัดความยาวของกระดูกต้นขา (femur length = FL)
-ปริมาณน้ำคร่ำ (amniotic fluid volume)
-เกรดของรก (placenta grading)
1.การซักประวัติ
การรักษา
-ค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอันตราย และภาวะแทรกซ้อนกับทารกในครรภ์
-ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
-กำหนดเวลาการคลอดที่เหมาะสม
การพยาบาล
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะ hypoglycemia, hypothermia, polycythemia
ระยะตั้งครรภ์
-แนะนำมารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
-แนะนำให้มารดาพักผ่อนมากๆ
-ติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยแนะนำให้มารดานับลูกดิ้นทุกวัน
-ควรติดตาม ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
-ติดตามประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
-ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจทารกทุก ½ - 1 ชั่วโมง
-หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด
-กุมารแพทย์ และเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดไว้ให้พร้อม
การตั้งครรภ์ที่ทารกมีจำนวนมากกว่า 1 คน (Multiple/Twins pregnancy)
การตั้งครรภ์แฝด
คือ การตั้งครรภ์ที่มีทารกในโพรงมดลูกมากกว่า 1 คนขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม การตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง (high risk pregnancy)
การตั้งครรภ์แฝด 2 คน เรียกว่า twins
การตั้งครรภ์แฝด 3 คน เรียกว่า triplets
การตั้งครรภ์แฝด 4 คน เรียกว่า quadruplets
การตั้งครรภ์แฝด 5 คน เรียกว่า quintuplets
ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ (monozygotic twins / identical twins)
-Diamnionic, dichorionic, monozygotic twins pregnancy
-Diamnionic, monochorionic, monozygotic twins pregnancy
-Monoamnionic, monochorionic, monozygotic twins pregnancy
-Conjoined twins pregnancy
2.แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม (dizygotic twins/ fratemal)
-เชื้อชาติ (race) พบมากในคนผิวดำ
-พันธุกรรม (heredity)
-อายุมารดา (maternal age) อายุมากกว่า 35 ปี
-ปัจจัยด้านภาวะโภชนาการ
-มารดามีประวัติใช้ยากระตุ้นเร่งการตกไข่
-จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ระยะคลอด
-กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติเนื่องจากมีการยืดขยายมากเกินไป
-รกลอกตัวก่อนกำหนด
ระยะหลังคลอด
-ตกเลือดหลังคลอด
-การติดเชื้อหลังคลอด
-การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอาจเกิดความยากลำบาก
ระยะตั้งครรภ์
-มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก
-มีภาวะโลหิตจางเนื่องจากครรภ์แฝดมีการเพิ่มขึ้นของ blood volume มากกว่าครรภ์เดี่ยวปกติ
-การตกเลือดก่อนคลอด
-เกิดภาวะความดันโลหิตสูง
-ไม่สุขสบายจากอาการปวดหลัง
-เสี่ยงต่อการแท้งสูงหรือคลอดก่อนกำหนด
-เกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
-ตั้งครรภ์แฝดน้ำ
-เบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes)
ผลต่อทารก
-การแท้ง
-ทารกตายในครรภ์
-ภาวะคลอดก่อนกำหนด
-ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
-ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
-ทารกขาดออกซิเจน (asphyxia)
-Twin-twin transfusion syndrome (TTTS)
การประเมินหรือการวินิจฉัย
การซักประวัติโดยซักประวัติที่สนับสนุน
การตรวจร่างกาย ตรวจหน้าท้อง ตรวจภายใน
การตรวจพิเศษ
-ตรวจด้วยอัลตราซาวด์
-ระดับฮอร์โมน estriol, HCG, HPL สูงกว่าปกติ
-การถ่ายภาพรังสีทางหน้าท้อง
แนวทางการดูแลรักษา
-ต้องวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุด (early diagnosis)
-ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
-ดูแลการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด
-ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตรายต่อทารกในระยะคลอด
หลักการพยาบาล
ระยะคลอด
1.การพิจารณาวิธีการคลอด
2.ในรายที่ได้รับการประเมินจากสูติแพทย์ให้คลอดทางช่องคลอด
ระยะหลังคลอด
-เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
-ป้องกันการติดเชื้อ
-แนะนำการดูแลบุตร การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา
-แนะนำวิธีการคุมกำเนิด
ระยะตั้งครรภ์
-ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ
-เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม
-เฝ้าระวังการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
-ควรงดมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด
-ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
-ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ทารกพิการ (Fetal anormaly)
ความหมาย
ความผิดปกติของร่างกายทารกแรกเกิดที่พบได้ โดยมีความพิการที่สามารถ สังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือความพิการที่อยู่ในอวัยวะภายใน
สาเหตุ
1.ปัจจัยด้านพันธุกรรม
ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปีมีประวัติบุคคลในครอบครัว ให้กำเนิดทารกพิการ
2.สิ่งแวดล้อม
ทำให้เกิดความผิดปกติแก่ทารก ส่วนใหญ่ความพิการจะเกิดในช่วง 3 เดือน แรกของการตั้งครรภ์
ความผิดปกติของทารก
-Malformation เป็นความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ
-Disruption ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ
-Deformation ความผิดปกติของรูปร่างหรือโครงสร้างของอวัยวะของร่างกาย
-Dysplasia ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะ
ปากแหว่งเพดานโหว
ความหมาย
เป็นความพิการแต่กำเนิดของเพดานซึ่ง หมายถึง ริมฝีปาก เหงือกส่วนหน้า เพดาน แข็ง และเพดานอ่อน
พยาธิสภาพ
โรคปากแหว่งเพดานโหว่ เกิดระหว่างทารกอยู่ในครรภ์ จะมีการสร้างเนื้อเยื่อริมฝีปากเมื่อ อยู่ในครรภ์มารดาตั้งแต่อายุครรภ์ 3-12 สัปดาห์ ต่อมาเพดานอ่อนและเพดานแข็งจะเชื่อมกันสมบูรณ์ เมื่อมีอายุครรภ์ประมาณ 11-17 สัปดาห์
ดาวน์ซินโดรม
ความหมาย
เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่มีภาวะปัญญา อ่อนที่พบบ่อยที่สุด
สาเหตุ
เกิดจากการมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือโครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ตามปกติ ความผิดปกตินี้เรียกว่า trisomy 21
ทารกศีรษะบวมน้ำหรือภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
ความหมาย
ภาวะที่มีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณเวนตริเคิล (ventricle) ของสมอง และ subarachnoid space มากกว่าปกติ
พยาธิสภาพ
ภายในกะโหลกศีรษะประกอบด้วย เนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง น้ำไขสันหลัง และโลหิต ดังนั้นความดันในกะโหลกศีรษะจึงเกิดจากผลรวมของความดันจากส่วนประกอบที่กล่าวมา
ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly)
ความหมาย
ภาวะศีรษะเล็กหรือสมองเล็กเป็นความพิการของสมอง ซึ่งอาจเกิดจากสมองเจริญเติบโตช้า กว่าปกติ หรือหยุดการเจริญเติบโต
พยาธิสภาพ
สมองของทารกจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อยกว่าปกติ จำนวนและความลึกของคลื่นหรือรอย หยักของเนื้อสมองจะลดลง สมองส่วน Frontal lobe จะมีขนาดเล็กและไม่ได้สัดส่วนกับ Cerebellum ซึ่งมีขนาดใหญ่
ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects: NTDs)
ความหมาย
เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาทสามารถเกิดได้ทุกขั้นตอนของการพัฒนาแต่ใน ช่วงแรกของการพัฒนาหรือช่วงการสร้างและผิดของ neural tube
เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
ความหมาย
ความผิดปกติของท่อประสาทตั้งแต่แรกเกิดจากพัฒนาการที่ ผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
พยาธิสภาพ
Spina Bifida เป็นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง มีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลังออกมา ตามตำแหน่งที่บกพร่องนั้น
ทารกตายในครรภ์(Fetal demise)
การตายหรือเสียชีวิตเองโดยธรรมชาติของทารกในครรภ์ก่อนคลอด โดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์ องค์การอนามัยโลก (WHO, 2018)
-การตายของทารกในระยะแรก (early fetal death) คือ การตายก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
-การตายของทารกในระยะกลาง (intermediate fetal death) คือการตายระหว่างอายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์
-การตายของทารกในระยะสุดท้าย (late fetal death)
สาเหตุ
ด้านมารดา
-มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์โรคทางอายุรศาสตร์
-มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
-ภาวะทางสูติกรรม
-ไม่มาฝากครรภ์ หรือมาฝากครรภ์ไม่ครบตามกำหนด
-มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ
-ความผิดปกติของสายสะดือ
-ได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์
-ยาหรือสารเสพติดอื่นๆ
ด้านทารก
-มีภาวะพิการแต่กำเนิด
-ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
-มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
ด้านรก
รกลอกตัวก่อนกำหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ สายสะดือ ผิดปกติ
การวินิจฉัย
1.จากการซักประวัติมารดาพบทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง หรือสังเกตได้ว่าอาการของการ ตั้งครรภ์หายไป
2.การตรวจร่างกาย
-น้ำหนักตัวของมารดาคงที่หรือลดลง เต้านมมีขนาดเล็กลง
-คลำยอดมดลูกพบว่าไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ไม่พบว่าทารกมีการเคลื่อนไหว
-ฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้
-พบสิ่งคัดหลั่งสีน้ำตาลไหลออกทางช่องคลอด
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการ ultrasound
-ทารกไม่มีการเต้นของหัวใจ หรือการเคลื่อนไหวของทารก
-การเกยกันของกะโหลกศีรษะ (overlapping) เรียกว่า spalding sign ซึ่งจะพบได้ ภายหลังที่ทารกเสียชีวิตแล้ว 5 วัน
-มีการหักงอของกระดูกสันหลัง เนื่องจากการเปื่อยยุ่ยของเอ็นที่ยึดกระดูกสันหลัง
-ตรวจพบแก๊สในหัวใจ เส้นเลือดใหญ่ หรือช่องท้องทารก เรียกว่า Robert sign
-ฮอร์โมน Estriol: E3 ในปัสสาวะลดลง หลังจากทารกเสียชีวิตแล้ว 24-48 ชั่วโมง
-เอ็นไซม์ Amniotic fluid creatinekinase เพิ่มขึ้น 2 วันหลังจากที่ทารกเสียชีวิต และจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ทารกเสียชีวิต
การรักษา
-ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ขนาดของมดลูกโตไม่เกิน 14 สัปดาห์ทำการ dilatation and curettage หรือ suction curettage
-ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เหน็บยา prostaglandin
-ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ให้ oxytocin ปริมาณความเข้มข้นสูง ทางหลอดเลือดดำ
การพยาบาล
-ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ใช้คำพูดที่สุภาพ และนุ่มนวล
-แนะนำให้สามีและครอบครัวให้กำลังใจ ปลอบใจ เพื่อให้มีกำลังใจและการปรับตัวอย่างเหมาะสม
-ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต
-ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์
-ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือด
-ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ำนมตามแผนการรักษาของแพทย์