Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia), นางสาวสุตาภัทร ประเสริฐศักดิ์ รหัส…
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia)
ภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxia) มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (hypercapnia) และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด
กลไกการเกิด
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหยุดไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง
มีการนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก ซึ่งเกิดจากรกมีการแยกตัวออกจากมดลูก
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ ไม่
สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้และไม่พัฒนาเป็นแบบผู้ใหญ่
พยาธิสรีรภาพ
ร่างกายไม่สามารถดูดซึมO2 เข้าสู่ระบบไหลเวียน เลือดได้ทำให้มีปริมาณO2 ในกระแสเลือดต่ำ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เริ่มด้วยยมีอาการหายใจแบบขาดอากาศ (gasping) ประมาณ 1 นาที ตามด้วยการหายใจไม่สม่ำเสมอและหัวใจเต้นช้าลง
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข
ทารกจะหยุดหายใจ ซึ่งเป็นการหยุดหายใจคร้ังแรก(primary apnea) ถ้าไม่ช่วยกู้ชีพทารกจะ พยายามหายใจใหม่อีกคร้ังแต่เป็นการหายใจที่ไม่สม่ำ เสมอประมาณ 4-5 นาที แล้วจะทรุดลงไปอย่างรวดเร็วและหยุดหายใจอย่างถาวร (secondary apnea) การขาดออกซิเจนทำให้ร่างกาย เกิดปฏิกิริยาการเผาพลาญโดยไม่ใช้ออกซิเจน เป็นผลให้ร่างกายมีภาวการณ์เผาพลาญเป็นกรด ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง ภายใน 8 นาทีหลังเกิดการขาดออกซิเจนทารกจะเสียชีวิต
อาการและอาการแสดง
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
ทารกมีการเคลื่อนไหว
มากกว่าปกติและต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจทารก
ในระยะแรกจะเร็วมากกว่า 160คร้ัง/นาทีต่อมาจึงชา้ลง
ระยะคลอด
ขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอด
แรกคลอดทันที
คะแนน APGAR ต่ำกว่า 7 ตัวเขียว ไม่หายใจเอง ตัวนิ่ม อ่อนปวกเปียก
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง หัวใจเต้นช้า
หลังคลอดในระยะต่อมา
1.การเปลี่ยนแปลงในปอด:ทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดภาวะ RDS ส่วนทารกที่คลอดครบกำหนดจะเกิดภาวะ persistent pulmonary hypertention of the newborn (PPHN) ทารกมีอาการหายใจหอบ ตัวเขียว
2.การเปลี่ยนแปลงในระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด:ให้หัวใจเต้นเร็ว ผิวซีดหายใจแบบ gasping มีmetabolic acidosis อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ความดันโลหิตต่ำ
3.การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาท:ทารกจะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้าลง ม่านตาขยายกว้างไม่ตอบสนองต่อแสง ไม่มีDoll’s eye movement และเสียชวีต
4.การเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินอาหาร:ทารกถ่ายขี้เทาขณะอยู่ในครรภ์มารดา
5.การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม: ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แคลเซียมต่ำ และโปแตสเซียมสูง มีผลทำใหทารกชักและเสียชีวิต
6.การเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินปัสสาวะ: ทารกจะมีปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด
การวินิจฉัย
ประวัติการคลอด
การตรวจร่างกาย การประเมินคะแนน APGAR
อาการและอาการแสดง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การรักษา
การให้ความอบอุ่น: ป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียความร้อนโดยดูแลทารกภายใต้แหล่งให้ความร้อน
หรือหลอดไฟที่เปิดอุ่นไว้ แล้วเช็ดผิวหนังทารกให้แห้งอย่างรวดเร็ว
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง:
กรณีไม่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
หลังจากศีรษะทารกคลอด ใช้ลูกสูบยางแดงดูดสิ่งคัดหลั่งในปากก่อนแล้วจึงดูดในจมูก
กรณีมีขี้เทาปน
รีบดูดขี้เทาออกทันทีที่ศีรษะทารกคลอด โดยใช้สายดูดเสมหะเบอร์ 12F-14F หรือใช้ลูกสูบยางแดง
การกระตุ้นทารก(tactile stimulation): เช็ดตัวและดูดเมือกจากปาก ถ้าทารกยังไม่ร้องหรือหายใจไม่เพียงพอให้ลูบบริเวณหลัง หน้าอก ดีดส้นเท้าทารก
การให้ออกซิเจน:ให้ออกซิเจน 100% ที่ผ่านความชื้นและอุ่น ผ่านทาง mask หรือท่อให้ออกซิเจนโดยใช้มือผู้ให้ทำเป็นกระเปาะ เปิ ดออกซิเจน 5ลิตร/นาท
การช่วยหายใจ(ventilation):
ข้อบ่งชี้
1) หยุดหายใจหรือหายใจแบบ gasping 2) อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100คร้ัง/นาที 3) เขียวขณะได้ออกซิเจน 100%
การใส่ท่อหลอดลมคอ:
ข้อบ่งชี้
1) เมื่อต้องช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกเป็นเวลานาน 2) เมื่อช่วยหายใจด้วย mask และ bagแล้วไม่ได้ผล 3) เมื่อตอ้งการดูดสิ่งคัดหลั่งในหลอดลมคอ 4) เมื่อต้องการนวดหัวใจ 5) ทารกมีไส้เลื่อนกระบังลม หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม
การนวดหัวใจ:
ข้อบ่งชี้
คืออัตราการเต้นของหัวใจ
ทารกยังคงน้อยกว่า 60 คร้ัง/นาทีขณะที่ได้ช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% นาน 30วินาที
การให้ยา: - Epineprine ใช้ยาเข้มข้น 1:10,000 ปริมาณ 0.01- 0.03 มล./ ก.ก. ให้ผ่านทางหลอดเลือด - สารเพิ่มปริมาตร น้าเกลือนอร์มอล(NSS) หรือ Ringer’s lactate หรือ packed red cell ขนาด 10 มล./ก.ก. ในเวลา 5-10 นาที -Naloxone hydrochroride (Narcan) ให้ขนาด 0.1 มก./ก.ก. หรือ 0.25 มล./ ก.ก. ของยาที่มีความเข้มข้น0.4 มก./ มล.
จำแนกตามความรุนแรง
mild asphyxia
APGAR 5-7 คะแนน ให้ความอบอุ่น ทำทางเดินหายใจให้โล่ง กระตุ้นการหายใจ ให้ออกซิเจนผ่านสายออกซิเจนหรือ mask
moderate asphyxia
ให้ออกซิเจน 100% และช่วยหายใจด้วย mask และbag ดีขึ้น
จึงใส่ feeding tube ถ้าไม่ดีขึ้นหลังช่วยหายใจนาน 30 วินาที
ใส่ ET tubeและนวดหัวใจ
severe asphyxia
ช่วยหายใจทันทีที่คลอดเสร็จ โดยใส่ ET tube และช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% ผ่าน bag ร่วมกับการนวดหัวใจ ถ้าไม่ดีขึ้นจึงรักษาด้วยยา
การพยาบาล
เตรียมทีมบุคลากร เครื่องมือให้พร้อมก่อนคลอด
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวรักษาความอบอุ่นของร่างกาย
สังเกตอาการขาดออกซิเจน
ดูดสิ่งคัดหลั่ง ให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
บันทึกอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจทารกภายหลังคลอด
ดูแลใหได้รับอาหารและสารน้ำตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและได้รับยา
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ดูแลให้พักผ่อน
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
นางสาวสุตาภัทร ประเสริฐศักดิ์ รหัส 611001055 เลขที่ 55