Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต - Coggle Diagram
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยวิกฤต
เจ็บป่วยเฉียบพลัน เจ็บป่วยรุนแรงต่อหลายอวัยวะ การกำเริบของโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
อาการไม่คงที่ คาดการณ์ไม่ได้
ผู้ป่วยมีความเครียด วิตกกังวลมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป
ได้รับการติดอุปกรณ์เพื่อติดตามอาการหลายอุปกรณ์
ได้รับการสอดใส่เครื่องมือ อุปกรณ์เข้าสู่ร่างกาย
ส่วนใหญ่เล่าประวัติไม่ได้เนื่องจากใส่ท่อช่วยหายใจ และมีข้อจำกัดในการตรวจร่างกาย
ความหมายของผู้ป่วยวิกฤต
คือผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคหรือภาวะที่ทำให้การทำงานของระบบหรืออวัยวะของร่างกายล้มเหลวตั้งแต่หนึ่งหรือหลายระบบ
การตอบสนองของผู้ป่วยต่อการเจ็บป่วยวิกฤต
ภาวะเครียด
ทั้งเกิดจากความเจ็บป่วยกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อม
ความวิตกกังวล
เกิดจากความรู้สึกหมดคุณค่าในตัวเองเมื่อไม่สามารถทำกิจวัตรที่ตนเองเคยทำได้ รู้สึกกลัวตาย
การขาดการนอนหลับที่เพียงพอ
การใส่อุปกรณ์ เสียง แสงไฟ อาการปวด รบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วย
การพยาบาล
สร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการฟื้นหาย
ดูแลโดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์
ให้การพยาบาลเพื่อลดความเครียดและวิตกกังวล
ส่งเสริมการพักผ่อน นอนหลับ
ดูแลโดยให้ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจในการรักษา
เปิดโอกาสให้ครอบครัวมีส่วนร่วม รับฟัง
วางแผนการรักษาร่วมกับทีมสุขภาพ
ดูแลทางด้านจิตวิญญาณ
การทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางจิตวิญญาณ
หรือศาสนาที่ไม่เป็นผลเสียต่อผู้ป่วย
การเตรียมผู้ป่วยย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต
การให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าภาวะวิกฤตหายดีแล้ว ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการ ผลตรวจต่างๆ ไม่ถอดอุปกรณ์ออกทีเดียวควรค่อยๆถอดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออกทีละอย่าง
การตอบสนองของครอบครัวต่อการเจ็บป่วยวิกฤต
ความผาสุขในครอบครัวหายไป เกิดความเครียด วิตกกังวล กลัวการสูญเสีย เครียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
บทบาทพยาบาลต่อครอบครัว
ให้ข้อมูลการเจ็บป่วย การรักษา เป็นระยะๆ โดยเฉพาะรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา เปิดโอกาสให้ซักถาม ระบายความรู้สึก
สมรรถนะพยาบาลวิกฤต
Clinical judgement มีการตัดสินใจทางคลินิกอย่างสมเหตุสมผล
Advocacy and Moral Agency ปฏิบัติการพยาบาลโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วย สมาชิกครอบครัวและสมาชิกในทีม
Caring Practices ปฏิบัติการพยาบาลด้วยความเห็นอกเห็นใจ
Collaboration ทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ กระตุ้นให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและครอบครัว
System Thinking การใช้ความรู้ เครื่องมือ วิธีการ
Response to Diversity มีความไว และคำนึงถึงความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม
Facilitation of Learning ให้การส่งเสริม เกิดการเรียนรู้สุขภาพ
แก่ผู้ป่วยและครอบครัว
Clinical Inquiry เป็นผู้ตั้งคำถาม ข้อสงสัย เพื่อประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย
กรอบแนวคิดทางการพยาบาลเกี่ยวกับบุคคล FANCAS
F = Fluid balance ด้านความสมดุลของน้ำ หมายถึง การเคลื่อนที่ของสารน้ำและอิเลคโทรลัยต์ในร่างกาย
A = Aeration ด้านการหายใจ หมายถึง การเคลื่อนที่ของอากาศหรือก๊าซเข้าสู่ร่างกายเพื่อให้พลังงานและเคลื่อนที่ออกจากร่างกายเพื่อขับก๊าซที่เป็นของเสีย
N = Nutrition ด้านโภชนาการ การรับเข้า การย่อย การดูดซึมสารอาหารและการขับถ่ายของเสีย
C ด้านการติดต่อสื่อสาร หมายถึง การสื่อสารด้วยภาษาพูดและภาษากายระหว่างบุคคลและสภาพแวดล้อม
A = Activity ด้านการทำกิจกรรม หมายถึง การใช้พลังงานทางด้านร่างกาย หรือการใช้พลังด้านจิตใจ
S = Stimulation ด้านการกระตุ้น หมายถึง การรับรู้ วิเคราะห์การตีความ การให้ความหมายต่อสิ่งเร้าต่างๆ
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต FAST HUGS BID
F = Feeding คือ การจัดการด้านอาหารและน้ำ
ประเมินภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วยวิกฤต
การประเมินปริมาณพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน
การให้โภชนบำบัด
ให้ทางทางเดินอาหาร
ให้ทางหลอดเลือดดำ
ติดตามภาวะโชนาการ หลังการให้อาหาร
A = Analgesia คือ การจัดการความเจ็บปวด
การประเมินความปวด
การจัดการกับความทุกข์ทรมานจากความปวดอย่างเพียงพอและเหมาะสม
S = Sedation คือ การระงับประสาท
การส่งเสริมการนอนหลับของผู้ป่วยวิกฤต
การส่งเสริมการนอนหลับโดยไม่ใช้ยา
การควบคุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
การตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจ
การใช้วิธีการรักษาทางเลือก ได้แก่ การใช้ดนตรี
การระงับประสาท การส่งเสริมการนอนหลับโดยใช้ยา
T = Thromboembolic prevention คือ
การป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด
วิธีทางกายภาพ ได้แก่ การใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ
วิธีการป้องกันด้วยยา ได้แก่ การบริหารยาต้านการเกิดลิ่มเลือด
H = Head of the bed elevation คือ การจัดท่านอนยกหัวสูง 30-45 องศา ต้องไม่ขัดกับภาวะของโรค
U = Ulcer: Stress ulcer prevention คือ
การป้องกันการเกิด Stress ulcer
G = Glucose control คือ การควบคุมระดับน้ำตาล หรือกลูโคสในเลือด
ดูแลให้ได้รับการหยดสารละลายอินซูลินทางหลอดเลือดดำอย่างเหมาะสม
ดูแลให้ได้รับสารอาหาร
ควรมี insulin infusion protocol ที่ชัดเจนเหมาะสม
ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
S = Spontaneous breathing trial คือ การจัดการให้ผู้ป่วยหายใจเอง
ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยด้านการหายใจ
การทดลองให้ผู้ป่วยหายใจเอง
การถอดท่อช่วยหายใจ
กรณีไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเองแพทย์อาจพิจารณาทำการเจาะคอ
หลังถอดเครื่องช่วยหายใจ 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยหายใจเองได้ถือว่าหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ
B = Bowel care คือ การจัดการระบบขับถ่ายอุจจาระ
I = Indwelling catheter removal คือ การถอดท่อหรือสายต่างๆให้เร็วที่สุด
D = De-escalation of antibiotics คือ การให้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็น หรือให้ยาน้อยที่สุด
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต ABCDE Bundle
A = Awakening trials การประเมิน ดูแล ส่งเสริมให้ผู้ป่วยตื่น รู้สึกตัว
B = Breathing trials ส่งเสริมให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจและหายใจด้วยตนเอง
C = Co-ordination การทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในระยะสั้นที่สุด
D = Delirium การให้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การทำกายภาพบำบัดและลุกออกจากเตียงเร็วขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอิสรภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนในระบบต่างๆ และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
E = Early mobilization and ambulation การให้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การทำกายภาพบำบัดและลุกออกจากเตียงเร็วขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอิสรภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนป้องกันการเกิดภาวะสับสนในไอซียู