Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรกน้ำคร่ำ…
บทที่ 6
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
6.1 ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ(Polydramnios/ Oligohydramnios)
6.1.1ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือการตั้งครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios/ polyhydramnios)
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 หรือ 97.5 ของแต่ละอายุครรภ์ โดยมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่ากว่า 2,000 มล.หรือวัดค่า Amniotic fluid Index: AFI (ค่าการคํานวณความลึกของถุงน้ำคร่ำ โดยค่าปกติคือ AFI ประมาณ 5-25 ซม.) ได้24 -25 ซม.ขึ้นไป
สาเหตุ
ด้านมารดา ได้แก่ มารดาเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการกลืนของทารก ความผิดปกติของระบบประสาท
การจําแนกชนิดแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน (Acute hydramnios) มีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วันทําให้สตรีตั้งครรภ์มีอาการไม่สุขสบาย ปวดหลังและหน้าขา
2.ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง (chronic hydramnios) ปริมาณน้ําคร่ําจะค่อยๆเพิ่มขึ้นอาการและอาการแสดงจะคล้ายๆกันกับภาวะน้ําคร่ํามากอย่างเฉียบพลัน แต่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ
ผลต่อมารดา
ตกเลือดหลังคลอด
อาจเกิดการคลอดก่อนกําหนด
ระยะตั้งครรภ์ เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่
ผลต่อทารก
เกิดภาวะ fetal distress จากการเกิดสายสะดือย้อย
ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่ เนื่องจากมีปริมาณน้ําคร่ํามาก ทารกจึงหมุนเปลี่ยนท่าไปมาได้ง่าย
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกําหนด
อาการและอาการแสดง
1.แน่นอึดอัด หายใจลําบาก เจ็บชายโครง
2.มีอาการบวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด
3.น้ําหนักตัวเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.การตรวจร่างกาย
1.การซักประวัติอาการ และอาการแสดงการเกิดภาวะครรภ์แฝดน้ำ
การดูแลรักษา
1.การเจาะดูดน้ำคร่ำออก (amnioreduction)
2.การรักษาด้วยยา prostaglandin synthetase inhibitors โดยใช้ในรายที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์
3.รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
การเจาะถุงน้ำในระยะคลอด ให้น้ำคร่ำไหลช้าที่สุด
ในระยะหลังคลอดหากมารดามีอาการตกเลือด ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ําจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย
2.ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง จากการขยายตัวของมดลูก
2.1จัดท่ามารดานอนตะแคง ยกศีรษะสูงเล็กน้อยประมาณ 30 องศา
2.4แนะนําให้มารดาสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย
2.5 ดูแลให้ได้รับการเจาะดูดน้ำคร่ํำออก ตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยการประเมินสัญญาณชีพ, FHS, การหดรัดตัวของมดลูก ก่อนและหลังการรักษา
2.6 เฝ้าระวังและตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ เนื่องจากการเกิดครรภ์แฝดน้ำจะเพิ่มอัตราตายปริกําเนิด 4-5 เท่า จึงจําเป็นต้องเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดโดยวิธี non-stress test (NST),biophysical profile (BPD),ultrasound
2.3แนะนําให้มารดารับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
2.2สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ congestive heart failure
ระยะคลอด
1.ให้นอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันภาวะน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด
2.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
3.ฟัง FHSในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15 นาที
4.ขณะแพทย์เจาะถุงน้ำ ต้องระมัดระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ แล้วควรจัดให้มารดานอนพักบนเตียงเพื่อป้องกันภาวะสายสะดือย้อย
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนกับสตรีตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะดูแลการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
6.1.2 ภาวะน้ำคร่ำน้อย(oligohydramnios)การตั้งครรภ์ที่มีน้ําคร่ําน้อยกว่า300 มิลลิลิตร
สาเหตุ
ความผิดปกติของโครโมโซม
รกเสื่อมสภาพ
ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ โดยเฉพาะระบบของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ เนื่องจากทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ fetal distress
ผลต่อทารก
มีโอกาสคลอดก่อนกําหนด
ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia)
Amniotic band syndrome
ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การวินิจฉัย
การวัดดัชนีน้ำคร่ำ amniotic fluid index (AFI) มีค่าน้อยกว่า 5 เซนติเมตร
การวัดโพรงน้ําคร่ําที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง (maximum ventrical pocket, MVP)
การรักษา
การดื่มน้ำมากๆ ทําให้ปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
การประเมินภาวะความผิดปกติแต่กําเนิด และการรักษาภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การเติมน้ำคร่ํำ(amnioinfusion)
การพยาบาล
2.ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร้ำ (amnioinfusion)
3.รับฟังปัญหา และกระตุ้นให้ระบายความรู้สึก
1.อธิบายถึงสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว และแนวทางการรักษา
6.2ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า(Intra Uterine Growth Restriction: IUGR)
ทารกที่มีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์
1.ทารกที่มีขนาดเล็กตามธรรมชาติ (constitutionally small)
2ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์(Intra Uterine Growth Restriction: IUGR/ Fetal growth restriction: FGR)
สาเหตุ
ด้านมารดา
มารดามีรูปร่างเล็ก
ภาวะขาดสารอาหาร น้ําหนักของมารดาไม่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางรุนแรง เช่น โรคธาลัสซีเมีย
มารดามีภาวะติดเชื้อ
โรคของมารดา
การตั้งครรภ์แฝด มักทําให้มวลของรกต่อทารกแต่ละคนลดลง
ด้านทารก
ความพิการแต่กําเนิด
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 21, trisomy 13,
trisomy 18
การจําแนกประเภทของ IUGR
1.ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (Symmetrical IUGR)
2.ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (Asymmetrical IUGR)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ เพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมของการเกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์เช่น โรคประจําตัวของมารดา
การตรวจร่างกาย
3.การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (ultrasound)
การรักษา
1.ค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอันตราย และภาวะแทรกซ้อนกับทารกในครรภ์
2.ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยการตรวจ U/S ทุก 2-3 สัปดาห์
3.กําหนดเวลาการคลอดที่เหมาะสม
การพยาบาล
1.ระยะตั้งครรภ์
แนะนํามารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหารหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเสพติด
แนะนําให้มารดาพักผ่อนมากๆ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้าย
ติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์
ระยะคลอด
ควรติดตาม ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจทารกทุก ½ -1 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด เนื่องจากยาจะกดการหายใจของทารกได้
กุมารแพทย์ และเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดไว้ให้พร้อม
ในระยะหลังคลอด ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะhypoglycemia, hypothermia, polycythemia
6.3 การตั้งครรภ์ที่ทารกมีจํานวนมากกว่า1 คน(Multiple/Twins pregnancy)
ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม (dizygotic twins/ fratemal) เป็นการตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ 2 ใบผสมกับอสุจิ 2 ตัว amnion 2 อัน
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ (monozygotic twins / identical twins) เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ และตัวอสุจิ 1 ตัว
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ระยะตั้งครรภ์
เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และ เบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes)
เสี่ยงต่อการแท้งสูงหรือคลอดก่อนกําหนด
การตกเลือดก่อนคลอด
เกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกําหนด
มีภาวะโลหิตจางเนื่องจากครรภ์แฝดมีการเพิ่มขึ้นของ blood volume มากกว่าครรภ์เดี่ยวปกติ
ตั้งครรภ์แฝดน้ํา
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก
ระยะคลอด
กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติเนื่องจากมีการยืดขยายมากเกินไป
รกลอกตัวก่อนกําหนด
ระยะหลังคลอด
2.การติดเชื้อหลังคลอด
การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอาจเกิดความยาดลําบาก
ตกเลือดหลังคลอด
ผลต่อทารก
การแท้ง
2.ทารกตายในครรภ์
ภาวะคลอดก่อนกําหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
ทารกขาดออกซิเจน (asphyxia)
Twin-twin transfusion syndrome (TTTS)
การประเมินหรือการวินิจฉัย
การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย ตรวจหน้าท้อง ตรวจภายใน
การตรวจพิเศษ
แนวทางการดูแลรักษา
2.ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด
3.ดูแลการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด ตรวจหาและวินิจฉัยภาวะ IUGR
1.ต้องวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุด
4.ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตรายต่อทารกในระยะคลอด
หลักการพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
เฝ้าระวังการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
ควรงดมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกําหนดในไตมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม
5.ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด
ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ
ระยะคลอด
ในรายที่ได้รับการประเมินจากสูติแพทย์ให้คลอดทางช่องคลอด
1.การพิจารณาวิธีการคลอด
ระยะหลังคลอด
ป้องกันการติดเชื้อโดยดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาและประเมินการติดเชื้อ
แนะนําการดูแลบุตร การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา
เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีโดยให้ oxytocin drug
แนะนําวิธีการคุมกําเนิด
6.4 ทารกพิการ(Fetal anormaly)
สาเหตุ
1.ปัจจัยด้านพันธุกรรม ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปีมีประวัติบุคคลในครอบครัวให้กําเนิดทารกพิการ
2.สิ่งแวดล้อม ทําให้เกิดความผิดปกติแก่ทารก ส่วนใหญ่ความพิการจะเกิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ยา
ความผิดปกติของทารกสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
2.Disruptionหมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกมาขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของอวัยวะนั้น ซึ่งเดิมมีศักยภาพที่เจริญเป็นปกติ ปัจจัยดังกล่าวเช่น เชื้อโรค สารเคมี
3.Deformationหมายถึง ความผิดปกติของรูปร่างหรือโครงสร้างของอวัยวะของร่างกายเดิมเคยปกติมาก่อน มีผลมาจากแรงภายนอกทําให้โครงสร้างที่กําลังพัฒนาผิดรูปไป
1.Malformationหมายถึงเป็นความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ เป็นผลมาจากขบวนการของการพัฒนาหรือขบวนการเจริญเติบโตของอวัยวะนั้น เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่
4.Dysplasiaหมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอันเป็นผลมาจากความผิดปกติของการจัดระเบียบของเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อ
การป้องกัน คือ การให้คําแนะนําปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic counseling)
ภาวะจิตสังคมของครอบครัวที่ต้องเผชิญกับภาวะมีบุตรพิการแต่กําเนิด
1.ระยะตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์มักจะเกิดความเครียดและวิตกกังวลสูงเมื่ออยู่ในระยะที่ต้องตัดสินใจตรวจสอบความผิดปกติของทารกในครรภ์ ความต้องการทําแท้งอาจเกิดขึ้นในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์ไม่สามารถปรับตัวได้
2.ระยะคลอด
มักจะมีความเครียด กลัว วิตกกังวล เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าผลการคลอดจะเป็นอย่างไร ซึ่งผลกระทบทางด้านอารมณ์นี้อาจส่งผลให้เกิดการคลอดล่าช้า สําหรับมารดาที่ไม่ทราบมาก่อนว่าจะให้กําเนิดบุตรพิการ ภาวะวิกฤติจะเกิดขึ้นทันทีทันใดบิดามารดาจะไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น อาจเกิดภาวะช็อค และเข้าสู่กระบวนการเศร้าโศกได้
3.ระยะหลังคลอด
ครอบครัวอาจจะเข้าสู่ระยะเศร้าโศก แม้ว่าจะทราบหรือรู้ล่วงหน้าว่าทารกที่คลอดออกมาจะมีความพิการก็ตาม ส่วนใหญ่ครอบครัวจะกลับเข้าสู่ภาวะเดิมอีก คือ ช็อค ปฏิเสธ และกลัว
6.4.1 ปากแหว่งเพดานโหว่
โรคปากแหว่ง
โรคที่มีความผิดปกติแต่กําเนิดบริเวณริมฝีปากเพดานส่วนหน้าแยกจากกัน เพดานส่วนหลังจะเจริญสมบูรณ์เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาช่วง 4-7 สัปดาห์
โรคเพดานโหว่
โรคที่มีความผิดปกติแต่กําเนิด บริเวณเพดานส่วนหลังแยกจากกัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ระยะทารกอยู่ในครรภ์มารดาช่วง 12 สัปดาห์ อาจจะเกิดร่วมกับโรคปากแหว่างหรือไม่ก็ได้
สาเหตุ
1.กรรมพันธุ์ ครอบครัวที่มีพ่อแม่หรือญาติทางฝ่ายพ่อหรือแม่มีประวัติเป็น
2.สิ่งแวดล้อม เช่น มารดาติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก มารดาขาดวิตามินและสารโฟเลท มารดาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
1.ทารกที่มีปากแหว่งเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถอมหัวนมหรือจุกนมได้สนิท
2.ทารกที่มีเพดานโหว่มักจะสําลักน้ํานมขึ้นจมูกและเข้าช่องหูชั้นกลางหรือสําลักนมเข้าปอดได้
3.การได้ยินผิดปกติ
4.การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคปากแหว่ง พบตั้งแต่ทารกแรกเกิด การตรวจร่างกายในครรภ์ด้วย อัลตร้าซาวน์ สามารถตรวจพบได้เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 13-14 สัปดาห์ สามารถยืนยันผลได้ 100%
การพยาบาลทารกแรกเกิด
ดูแลด้านจิตใจสําหรับบิดา มารดา ที่ทารกมีปัญหาปากแหว่าง เพดานโหว่
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดที่พบปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่
3.ดูแลการให้นมแม่
4.กรณีที่ทารกไม่สามารถดูดนมแม่ได้แนะนํามารดาดังนี้
4.1 ให้ใช้ขวดนมพิเศษที่เป็นพลาสติกอ่อน
4.2 ใช้ช้อนหรือแก้ว เพื่อป้อนนมไหลเข้าคอได้โดยมีการดูดนมน้อยที่สุด
4.3 ใช้ syringe ต่อกับท่อยางนิ่ม
4.4 จัดท่าทารกให้อยู่ในท่านอนหัวสูงหรือท่านั่งเพื่อป้องกันการสําลักเมื่อมีการให้
5.ภายหลังการให้ทารกดูดนมหรือให้นมต้องไล่ลมเป็นระยะ ๆ ทุก 15-30 นาที และจัดท่านอนหัวสูงและนอนตะแคงขวาให้ใบหน้าตะแคงเพื่อป้องกันอาการท้องอืด อาเจียน และสําลัก
6.4.2 ดาวน์ซินโดรม
สาเหตุ
เกิดจากการมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือโครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่งตามปกติ ความผิดปกตินี้เรียกว่า trisomy 21
อาการ
1.ลักษณะภายนอกที่พบ
จมูกและหู มีจมูกไม่มีสัน ใบหูเล็กอยู่ต่ํากว่าปกติ
ปากและคอ มีเพดานปากโค้งนูน
ศีรษะและตา มีศีรษะแบนกว้าง และท้ายทอยแบน ตายาวรี เฉียงออกด้านนอกและชี้ขึ้นบน
ทรวงอกและหัวใจ มีกระดูกซี่โครงสั้นกว่าปกติ
ท้อง มีหน้าท้องยื่น กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนยาน
มือและเท้า มีมือกว้างและสั้น
กล้ามเนื้อและกระดูก ตัวเตี้ย เหยียดออกมากผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
2.ปัญญาอ่อน จะมีพัฒนาการช้าหว่าเด็กธรรมกา มี IQ เฉลี่ย 25-50
3.มักพบความพิการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจแต่กําเนิด
4.การเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ในผู้ชายมีองคชาติขนาดเล็กหว่าปกติ
การวินิจฉัย
1.การตรวจโครโมโซมโดยวิธี chorionic villus เมื่ออายุครรภ์ 9-12 สัปดาห์ หรือการทํา amniocentesis เมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
2.การซักประวัติครอบครัว หรือ มารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
การรักษา
การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ มุ่งเน้นให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
6.4.3 ทารกศีรษะบวมน้ําหรือภาวะน้ําคั่งในโพรงสมอง(Hydrocephalus)
ภาวะที่มีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณเวนตริเคิล (ventricle) ของสมอง และ subarachnoid space มากกว่าปกติ น้ำไขสันหลังที่คั่งปริมาณจะทําให้เกิดความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ
1.2 ประวัติการได้รับยาขณะตั้งครรภ์ได้แก่Aminophyrine หรือAmethopterin
1.3ตรวจพบปริมาณน้ําคร่ํามากผิดปกติ
1.1ประวัติการติดเชื้อโรคบางชนิด
2.การตรวจร่างกาย
2.1จากการตรวจหน้าท้อง
2.3การตรวจพิเศษเช่นskull X –ray, Ultrasound
การรักษา
ขณะตั้งครรภ์ครรภ์
อาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยซึ่งไม่สามารถเลี้ยงรอดได้
รักษาด้วยการใส่ shunt ในครรภ์ ต้องพิจารณาทําในรายอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ซึ่งมีโครโมโซมปกติ และไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย
อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีเป็นรุนแรงมาก
รายไม่รุนแรงและไม่ความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยมักแนะนําให้ติดตามการเปลี่ยนแปลง
การดูแลทารก
1.ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป
2.ให้การพยาบาลตามอาการ วัดขนาดของรอบศีรษะทารกทุกวัน
3.สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
4.บันทึกอาการและการพยาบาล
6.4.4 ทารกศีรษะเล็ก(Microcephaly)
ภาวะศีรษะเล็กหรือสมองเล็กเป็นความพิการของสมอง ซึ่งอาจเกิดจากสมองเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หรือหยุดการเจริญเติบโต และเนื่องจากการเจริญเติบโตของกระดูกกะโหลกศีรษะส่วนใหญ่ขึ้นกับการเจริญเติบโตของสมอง จึงเป็นสาเหตุให้ศีรษะมีขนาดเล็ก
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ
พบว่ามีพี่น้องเคยเป็น Microcephaly
ได้รับรังสีขณะอยู่ในครรภ์
มารดาเป็น Rubella, Syphilis
มารดาไดรับเชื้อโรคไข้ซิกา
มารดามีประวัติเป็น Phenylketonuria
2.อาการและอาการแสดง จากลักษณะทั่วไป
3.ผลการตรวจทางห้องทดลอง ได้แก่ Skull X-ray, Lumbar serologic test
การพยาบาล
3.สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ และอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
4.อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของทารก
2.ให้การพยาบาลตามอาการและอาการแสดง
5.บันทึกอาการแลอาการแสดง
1.ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ การดูแลเกี่ยวกับท่านอน การหายใจ
6.4.5 ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects: NTDs)
1.Open type NTDs คือมีการเปิดของ neural tissue กับสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติในช่วง primary neurulation หรือ neural tube closureได้แก่ anencephaly, spina bifida aperta หรือ myelomeningocele, encephalocele
Closed type NTDs หรือ spina bifida occulta คือ NTD ที่มีผิวหนังภายนอกคลุมไว้และไม่มี expose ของ neural tissue ออกมาภายนอก ซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติที่เกิดในช่วง secondary neurulation
สาเหตุของการเกิด NTDs
Genetic factors
Environmental factors
6.4.6 เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
ความผิดปกติของท่อประสาทตั้งแต่แรกเกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาจเกิดความผิดปกติได้ตลอดตามความยาวของไขสันหลังตั้งแต่บริเวณศีรษะถึงกระดูกก้นกบ
ชนิดของกระดูกสันหลังโหว่
1.spin bifida occulta
2.spina bifida cystica
2.1 meningocele
2.2 myelomeningocele หรือ meningomyelocele
การวินิจฉัย
อาการแสดงโดยตรงพบมีกระดูกสันหลังแยกและพบอาจพบ myelomeningocele sac ยื่นออกจากด้านหลังของกระดูกไขสันหลัง
2.การซักประวัติ
มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ตรวจพบปริมาณน้ําคร่ํามากผิดปกติ (Polyhydramios)
ได้รับยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ Valproic acid
การรักษา
กระดูกสันหลังโผล่ชนิด spin bifida occultaไม่จําเป็นต้องรักษาแต่ถ้าเป็นชนิด spina bifida cysticaมีวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดปิดซ่อมแซมรอยโรคภายใน 24-48 ชั่วโมงภายหลังคลอด เพื่อลดการติดเชื้อหรือรักษาระบบประสาทไว้ไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น ถ้าหากไม่รีบรักษาเด็กก็ยังมีชีวิตอยู่แต่การรักษาจะยากขึ้น
การพยาบาล
3.อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพทารก
4.บันทึกอาการและการพยาบาล
2.ให้การพยาบาลตามอาการ และการพยาบาลก่อนผ่าตัดในรายที่เป็นน้อย
5.การให้folic acid ในสตรีตั้งครรภ์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกสันหลังโหว่ได้
1.ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่ว ๆ ไป
การดูแลและการพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.ตรวจสอบความพิการของทารกในครรภ์ เพื่อยืนยันภาวะดังกล่าว
2.ดูแลให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจเมื่อผลการตรวจวินิจฉัยพบภาวะผิดปกติ
ระยะคลอด
2.ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ ฟังเสียงหัวใจทารก และประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
1.ให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ตามแผนการรักษาของแพทย์
ระยะหลังคลอด
1.ประเมินความต้องการสัมผัสทารก
2.ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ
6.5 ทารกตายในครรภ์(Fetal demise)
การตายของทารกในระยะแรก (early fetal death) คือการตายก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
การตายของทารกในระยะกลาง (intermediate fetal death)คือการตายระหว่างอายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์
การตายของทารกในระยะสุดท้าย (late fetal death) คือการตายตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไปบางครั้งหมายถึงทารกตายคลอด
สาเหตุ
ด้านทารก
1.มีภาวะพิการแต่กําเนิด
2.ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
3.มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
ด้านมารดา
1.มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์โรคทางอายุรศาสตร์
2.มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
3.ไม่มาฝากครรภ์ หรือมาฝากครรภ์ไม่ครบตามกําหนด
4.มีภาวะรกลอกตัวก่อนกําหนด รกเกาะต่ํา
5.ได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์
ยาหรือสารเสพติดอื่นๆ
ด้านรก
รกลอกตัวก่อนกําหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ สายสะดือผิดปกติ
การวินิจฉัย
1.จากการซักประวัติมารดาพบทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง
2.การตรวจร่างกาย
คลํายอดมดลูกพบว่าไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ไม่พบว่าทารกมีการเคลื่อนไหว
ฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้
น้ําหนักตัวของมารดาคงที่หรือลดลง
พบสิ่งคัดหลั่งสีน้ําตาลไหลออกทางช่องคลอด
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการ ultrasound
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
1.ด้านร่างกาย
ทารกตายในครรภ์เป็นเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว (coagulopathy) หรืออาจเรียกว่าภาวะ“fetal death syndrome” เป็นผลมาจากtissue thromboplastin จากรก น้ำคร่ำ และทารก เข้าไปในกระแสเลือดของมารดา ทําให้ fibrinogen ลดลง เกิดภาวะลิ่มเลือดกระจายอยู่ทั่วร่างกาย
2.ด้านจิตใจ
ทําให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย ตกใจ ซึมเศร้า โทษตัวเอง อาจพบว่ามีการใช้บุหรี่สุรา สารเสพติดหรือยากล่อมประสาทสูงกว่าประชากรทั่วไป
การรักษา
1.ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ขนาดของมดลูกโตไม่เกิน 14 สัปดาห์ทําการ dilatation and curettageหรือ suction curettage
2.ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เหน็บยา prostaglandin ได้แก่ PGE2 และ misoprostolทางช่องคลอด หรือให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดํา
3.ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ให้ oxytocin ปริมาณความเข้มข้นสูง ทางหลอดเลือดดํา
การพยาบาล
2.ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต
3.ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์
1.ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ
4.ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือด clottingtime ระดับของfibrinogen ในกรณีที่ทารกตายในครรภ์เกิน 2 สัปดาห์
5.ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ำนมตามแผนการรักษาของแพทย์