Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะ Birth Asphyxia, นางสาวมัฌชิตา โสพิกุล…
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะ Birth Asphyxia
กลไกการเกิด
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหยุดไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง
เช่น สายสะดือถูกกดทับขณะเจ็บครรภ์หรือขณะคลอด
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก
รกลอกตวัก่อนกำหนด( abruptio placenta)
รกมีเน้ือตาย(placenta infarction)
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ไม่สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้และไม่พัฒนาเป็นแบบผู้ใหญ่
มีทางเดินหายใจอุดตัน
มีน้าคั่งในปอด
มีการนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
มารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
มารดามีอาการช็อค สูญเสียเลือด ซีด การบีบตัวของมดลูกนานเกินไปหรือถี่มากไป
พยาธิสรีรภาพ
ร่างกายไม่สามารถดูดซึมออกซิเจนเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดได้ มีระดับแรงดันออกซิเจนในหลอดเลือดแดง ≤ 40 mmHg และมีการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซ่ึงมีระดับแรงดัน
คาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดแดง> 80 mmHg
ทําให้เลือดไปเลี้ยงสมองหัวใจและต่อมหมวกไตเพิ่มขึ้น
และอวัยวะอื่นๆมีเลือดไปเลี้ยงลดลง
มีอาการหายใจแบบขาดอากาศ(gasping) ประมาณ 1 นาที แล้วหายใจไม่สม่ำเสมอและหัวใจเต้นช้าลง
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขทารกจะหยุดหายใจ ซ่ึงเป็นการหยุดหายใจคร้ังแรก(primary apnea)
ถ้าไม่ช่วยกู้ชีพจะการหายใจไม่สม่ำเสมอประมาณ 4-5 นาที แล้วจะทรุดลงไปอย่างรวดเร็วและหยุดหายใจอย่างถาวร (secondary apnea)
เกิดปฏิกิริยาการเผาพลาญโดยไม่ใช้ออกซิเจน ร่างกายมีภาวการณ์เผาผลาญเป็นกรด (metabolic acidosis) ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขภายใน 8 นาทีหลังเกิดการขาดออกซิเจนทารกจะเสียชีวิต
อาการและอาการแสดง
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ระยะคลอด
มีคะแนน APGAR ต่ำกว่า 7
ปอด:
ทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดภาวะ RDS ส่วนทารกที่คลอดครบกำหนดเกิดภาวะ PPHN ทำให้อาการหายใจหอบ ตัวเขียว
หัวใจและการไหลเวียนเลือด
หัวใจเต้นเร็ว ผิวซีด หายใจแบบ gasping มีmetabolic
acidosis อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ความดันโลหิตต่ำ
ระบบประสาท
ถ้าในระยะเวลาส้ันๆ มีกล้ามเน้ืออ่อนแรงและดูดนมได้ไม่ดีเรียก HIE มีลักษณะ
สูญเสียกำลังกล้ามเนื้อพบได้ในช่วงอายุ2-3 ชั่วโมงแรก
ชักมักเริ่มเห็นภายใน 12-24 ชั่วโมง
ในระยะ 5 วันแรกถ้าทารกมีอาการตื่นตัวผิดปกติ (hyperaleartness) หรือซึมลงอาจกลับเป็นปกติได้แต่ถ้าหมดสติไม่รู้สึกตัวมักเสียชีวิต
ลำไส้จะบีบตัวแรงชั่วคราว ทำให้ถ่ายขี้เทาขณะอยู่ในครรภ์ เสี่ยงสำลักขี้เทาเข้าปอด
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แคลเซียมต่ำ และโปแตสเซียมสูง ทำใหชักและเสียชีวิต
มีปัสสาวะน้อยลง ไม่ถ่าย หรือปัสสาวะเป็นเลือด
ผล Lab
ABG ผิดปกติ คือ PaCO2 > 80 mmHg, PaO2 < 40 mmHg, pH < 7.1
น้ำตาลในเลือด 30 mg%
calcium ในเลือดต่ำกว่า 8 mg%
potassium ในเลือดสูง
ซึม ม่านตาขยายกว้างไม่ตอบสนองต่อแสง ไม่มีDoll’s eye movement
และมักเสียชีวิต
ระยะหลังคลอด
มีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ต่อมาน้อยลงกว่าปกติ
FHS ในระยะแรก>160คร้ัง/นาที ต่อมาช้าลง
การวินิจฉัย
ประวัติการคลอด
อาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกาย การประเมินคะแนน APGAR มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ
สีผิว
อัตราการหายใจ ไม่สม่ำเสมอไปจนหยุดการหายใจ
การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
การตอบสนองเมื่อถูกกระตุ้น
อัตราการเต้นของหัวใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การรักษา
การให้ความอบอุ่น
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง
การใส่ท่อหลอดลมคอ
การกระตุ้นทารก
การช่วยหายใจ
การให้ออกซิเจน
การนวดหัวใจ
การให้ยา
สรุปการรักษาจำแนกตามความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
mild asphyxia
ให้ความอบอุ่น ทำทางเดินหายใจให้โล่ง กระตุ้นการหายใจ ให้ออกซิเจนผ่านสายออกซิเจนหรือ mask ถ้าอาการดีข้ึน มี APGAR ที่ 5 นาที >8 คะแนน ให้ดูแลต่อเหมือนทารกทั่วไป ถ้า APGAR ที่ 5 นาที < 4 คะแนน ดูแลเหมือนทารกที่มีภาวะ moderate asphyxia
moderate asphyxia
ให้ออกซิเจน 100% และช่วยหายใจด้วย mask และbag เมื่อดีขึ้น จึงใส่ feeding tube เข้ากระเพาะอาหารเพื่อดูดลมออก ถ้าไม่ดีข้ึนหลังช่วยหายใจนาน 30 วินาที ใส่ ET tubeและนวดหัวใจ
severe asphyxia
ช่วยหายใจทันทีที่คลอดเสร็จ โดยใส่ ET tubeและช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% ผ่าน bag ร่วมกับการนวดหัวใจ ถ้าไม่ดีขึ้นจึงรักษาด้วยยา
Birth asphyxia หรือ Perinatal asphyxia
ภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxia)
ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ
มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์(hypercapnia)
มีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด (metabolic acidosis)
การพยาบาล
เตรียมทีมบุคลากร เครื่องมือให้พร้อมก่อนคลอด ในรายที่มารดามีภาวะเสี่ยงหรือสงสัยว่าจะเกิด asphyxia
ดูดสิ่งคัดหลั่งให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวรักษาความอบอุ่นของร่างกาย เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
บันทึกอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจทารกภายหลังคลอด
สังเกตอาการขาดออกซิเจน เช่น ริมฝี ปากและปลายมือปลายเท้าซีด เขียว หายใจปีก จมูกบาน หายใจออกมีเสียงคราง หน้าอกบุ๋ม หรืออาการอื่นๆ เพื่อให้การช่วยเหลือและปรึกษาแพทย์ต่อไป
ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ให้ได้ร้ับอาหารและสารน้ำ ตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ดูแลให้พักผ่อน
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
นางสาวมัฌชิตา โสพิกุล 611001033