Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่ - Coggle Diagram
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่
ละครสังคีต
ละครสังคีต ละครสังคีตเป็นละครอีกแบบหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการมาจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆกัน จะตัดอย่างหนึ่งอย่างใดออกมิได้เพราะจะทำให้เสียเรื่อง
ละครสังคีต
-
การแต่งกาย แต่งแบบสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามท้องเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย
เรื่องที่แสดง นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่ ๔ เรื่อง คือ หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาหพระสมุทร มิกาโด วั่งตี่ มีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ ทรงใช้ชื่อเรียกละครทั้ง ๔ นี้แตกต่างกัน กล่าวคือ ในเรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า "ละครสลับลำ" เรื่องวิวาหพระสมุทร ทรงเรียก "ละครพูดสลับลำ" เรื่องมิกาโด และวั่งตี่ ทรงเรียก " ละครสังคีต" การที่ทรงเรียกชื่อบทละครทั้ง ๔ เรื่องแตกต่างกันนั้น นายมนตรี ตราโมท และนายประจวบ บุรานนท์ ข้าราชสำนักใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีโอกาสร่วมในการแสดงละครของพระองค์ท่านให้ความเห็นตรงกันว่า เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง และเรื่องวิวาหพระสมุทร น่าจะเป็นเรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นก่อน ซึ่งขณะนั้นคงทรงยังไม่ได้คิดเรียกชื่อละครประเภทนี้ว่า "ละครสังคีต" ต่อมาในระยะหลัง เมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องมิกาโด และเรื่องวั่งตี่ ทรงใช้คำว่า "ละครสังคีต" สำหรับเรียกชื่อละครประเภทหนึ่ง
-
-
การแสดง มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพดเป็นการเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้อง และบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน
-
-
-
ละครร้อง
เป็นศิลปการแสดงแบบใหม่ที่กำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเล้าเจ้าอยู่หัว ละครร้องได้ปรับปรุงขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากละครต่างประเทศละครร้องนั้นต้นกำเนิดมาจากการแสดงของชาวมลายู เรียกว่า "บังสาวัน" (Malay Opera) ได้เคยเล่นถวายรัชกาลที่ ๕ ทอดพระเนตรครั้งแรกที่เมืองไทรบุรี และต่อมาละครบังสาวันได้เข้ามาแสดงในกรุงเทพฯ โรงที่เล่นอยู่ข้างวังบูรพา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแก้ไขปรับปรุงเป็นละครร้องเล่นที่โรงละครปรีดาลัย (เดิมสร้างอยู่ในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ถนนตะนาว) คณะละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์นี่ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนเรียกชื่อว่า "ละครหลวงนฤมิตร" บางครั้งคนยังนิยมเรียกว่า "ละครปรีดาลัย" อยู่ ต่อมาเกิดคณะละครร้องแบบปรีดาลัยขึ้นมากมายเช่น คณะปราโมทัย ปราโมทย์เมือง ประเทืองไทย วิไลกรุง ไฉวเวียง เสรีสำเริง บันเทิงไทย และนาครบันเทิง เป็นต้น ละครนี้ได้นิยมกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ โรงละครที่เกิดครั้งหลังสุด คือ โรงละครนาคบันเทิงของแม่บุนนาค กับโรงละครเทพบันเทิงของแม่ช้อย
-
ละครร้องสลับพูด
ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ละครร้องสลับพูด ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ยกเว้นตัวตลกหรือจำอวดที่เรียกว่า "ตลกตามพระ" ซึ่งใช้ผู้ชายแสดง มีบทเป็นผู้ช่วยพระเอกแสดงบทตลกขบขันจริงๆ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
เรื่องที่แสดง
ละครร้องสลับพูด บทละครส่วนใหญ่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้พระนิพนธ์บท และกำกับการแสดง เรื่องที่แสดงได้แก่ ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน เครือณรงค์ กากี ภารตะ สีป๊อมินทร์ (กษัตริย์ธีบอของพม่า) พระยาสีหราชเดโช โคตรบอง สาวเครือฟ้า ซึ่งดัดแปลงจากเรื่องมาดามบัตเตอร์พลาย (Madame Butterfly) อันเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยม และมีผู้นำมาจัดแสดงเสมอ
การแสดง
ละครร้องสลับพูด มีทั้งบทร้อง และบทพูด ยึดถือการร้องเป็นส่วนสำคัญ บทพูดเจรจาสอดแทรกเข้ามาเพื่อทวนบทที่ตัวละครร้องออกมานั่นเอง แม้ตัดบทพูดออกทั้งหมดเหลือแต่บทร้องก็ยังได้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ มีลูกคู่คอยร้องรับอยู่ในฉาก ยกเว้นแต่ตอนที่เป็นการเกริ่นเรื่องหรือดำเนินเรื่อง ลูกคู่จะเป็นผู้ร้องทั้งหมด ตัวละครจะทำท่าประกอบตามธรรมชาติมากที่สุด ซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงเรียกว่า "ละครกำแบ"
ดนตรี
ละครร้องสลับพูด บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมหรืออาจใช้วงมโหรีประกอบ ในกรณีที่ใช้แสดงเรื่องเกี่ยวกับชนชาติอื่นๆ
เพลงร้อง
ละครร้องสลับพูด ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง ๒ ชั้น ในขณะที่ตัวละครร้องใช้ซออู้คลอตามเบาๆ เรียกว่า "ร้องคลอ"
ละครร้องล้วนๆ
ใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ ๖ ) ละครร้องล้วนๆ ใช้ผู้ชาย และผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง
-
การแสดง
ละครร้องล้วนๆ ตัวละครขับร้องโต้ตอบกัน และเล่าเรื่องเป็นทำนองแทนการพูด ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงล้วนๆ ไม่มีบทพูดแทรก มีเพลงหน้าพาทย์ประกอบอิริยาบถของตัวละคร จัดฉากตามท้องเรื่อง ใช้เทคนิคอุปกรณ์แสงสีเสียงเพื่อสร้างบรรยากาศให้สมจริง
-
-
-
-
-
ละครพูด
ละครพูดเริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการแสดงละครพูดสมัครเล่นเป็นครั้งแรกเนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
พ.ศ. 2447 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จการศึกษา และเสด็จนิวัติประเทศไทยแล้ว ทรงตั้ง "ทวีปัญญาสโมสร" ขึ้นในพระราชอุทยานสราญรมย์ แต่ในสมัยเดียวกันนี้ได้มีการตั้ง "สามัคยาจารย์สโมสร" ซึ่งมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานอยู่ก่อนแล้ว กิจกรรมของ 2 สโมสรที่คล้ายคลึงกัน คือการแสดงละครพูดแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากละครตะวันตก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีส่วนร่วมในกิจการการแสดงละครพูดของทั้ง 2 สโมสรนี้ จึงได้ถวายพระเกียรติว่าทรงเป็นผู้ให้กำเนิดละครพูด
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคทองของละครพูด ประชาชนให้ความสนใจต่อละครประเภทนี้มาก เพราะเห็นว่าเป็นของแปลกและแสดงได้ง่าย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนละครพูดอย่างดียิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดที่ดีเด่นเป็นจำนวนมาก และทรงร่วมในการแสดงด้วยหลายครั้ง
ละครพูดล้วน
ดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูด ใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบ การพูดที่เป็นธรรมชาติ ลักษณะพิเศษของละครพูดชนิดนี้ คือ ในขณะที่ตัวละครคิดอะไรอยู่ในใจมักใช้วิธีป้องปากบอกกับคนดู
-
การเเสดง
ละครพูดล้วนๆการแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบการพูดที่เป็นธรรมชาติลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของละครชนิดนี้คือในขณะที่ตัวละครคิดอะไรอยู่ในใจมักจะใช้วิธีป้องปากพูดกับผู้ดูถึงแม้จะมีตัวละครอื่นๆอยู่ใกล้ๆก็สมมติว่าไม่ได้ยิน
-
ผู้เเสดง
ละครพูดล้วนๆในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วนต่อมานิยมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วนต่อมานิยมใช้ผู้แสดงชายจริงหญิงแท้
-
-
ละครพูดสลับลำ
ยืดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียวบทร้องเป็นเพียงบทแทรกเพื่อเสริมความ ย้ำความ ประกอบเรื่องไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ถ้าตัดบทร้องออกก็ไม่ทำให้เนื้อเรื่องของละครขาดความสมบูรณ์แต่อย่างใด คำว่า “ลำ” มาจากคำ “ลำนำ” หมายถึง บทร้องหรือเพลง
การเเสดง
ละครพูดสลับลำยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียวบทร้องเป็นเพียงสอดแทรกเพื่อเสริมความย้ำความ
ดนตรี
ละครพูดสลับลำบรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วนๆแต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่องถ้ามีบทร้องดนตรีก็จะบรรเลงร่วมไปด้วย
-
เพลงร้อง
ละครพูดสลับลำมีเพลงร้องเป็นบางส่วนโดยทำนองเพลงขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ที่จะแต่งเสริมเข้ามาในเรื่อง
-
-
ละครพูดเเบบร้อยกรอง
ดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดที่เป็นคำประพันธ์ชนิดคำกลอน คำฉันท์ คำโคลง ซึ่งมีวิธีอ่านออกเสียงปกติเหมือนละครพูดร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอนเน้นสัมผัสตามชนิดของคำประพันธ์นั้น ๆ
การเเต่งกาย
ละครพูดแบบร้อยกรองแต่งให้เหมาะสมถูกต้องตามบุคคลิกของตัวละคร และยุคสมัยที่บ่งบอกไว้ในบทละคร
-
ผู้เเสดง
ละครพูดแบบร้อยกรองใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง มีบุคคลิกและการแสดงเหมาะสมตามลักษณะที่บ่งไว้ในบทละคร น้ำเสียงแจ่มใสชัดเจนดีเสียงกังวานพูดฉะฉาน ไหวพริบดี
-
-
-
-
-
ละครเวที
ละครเวที มีหลากหลายประเภท เช่น ละครโศกนาฎกรรม (Tragedy) ละครสุขนาฏกรรม (Comedy) ละครเพลง (Musical) ซึ่งเน้นการร้องมากกว่า คาดกันว่าละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีก
จุดเด่นของละครเวทีคือ การสื่อสารระหว่างผู้ชมกับนักแสดง การสื่อสารระหว่างผู้ชมและนักแสดงเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน วอลเตอร์ เคอร์ นักวิจารณ์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับนักแสดงเช่นนี้ไม่มีในภาพยนตร์ เพราะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่สร้างมาสำเร็จรูปแล้ว มันไม่สามารถตอบสนองเราได้ เพราะนักแสดงในภาพยนตร์ไม่สามารถได้ยินเรา รู้สึกถึงตัวตนของเราและไม่ว่าเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรก็ไม่มีผลใด ๆ"
องค์ประกอบของละครเวที คือ การแสดงสดบนเวที ที่มีฉาก แสง เสียง ประกอบ และบทละคร คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำละครทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครเวที เพราะมันคือ ตัวกำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ ทุกอย่างในละคร ไม่ว่าจะเป็น โครงของเรื่องของนักแสดงด้วย เช่น โรมิโอกับจูเลียต
องค์ประกอบของละครเวที คือ การแสดงสดบนเวที ที่มีฉาก แสง เสียง ประกอบ และบทละคร คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำละครทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครเวที เพราะมันคือ ตัวกำหนดองค์ประกอบอื่นๆ ทุกอย่างในละคร ไม่ว่าจะเป็น โครงของเรื่อง ,สีสันของแสง ของฉาก ของเสื้อผ้า และรวมไปถึงการแสดง (acting) ของนักแสดงด้วย
-
-
ละครโทรทัศน์
-
ประวัติละครโทรทัศน์
หลังจากที่ประเทศไทยเปิดสถานีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรก หลังจากนั้น 2 เดือนจึงมีละครโทรทัศน์เรื่องแรก คือ เรื่อง สุริยานีไม่ยอมแต่งงาน
ละครโทรทัศน์ คือรายการทางโทรทัศน์ที่มีบทละครและเรื่องราว ไม่รวมถึงรายการจำพวก กีฬา ข่าว เรียลลิตี้โชว์ เกมโชว์ สแตนอัพคอเมดี้ และวาไรตี้โชว์ โดยละครโทรทัศน์โดยมากจะมีหลายตอน เน้นความบันเทิงเป็นหลัก เพื่อการรับชมภายในเคหสถาน
นักแสดงที่แสดงในละครโทรทัศน์จะใช้หลายมุมกล้อง บางครั้งนักแสดงจะไม่ทราบว่าเมื่อไรกล้องจะจับภาพ ทางด้านบทละครโทรทัศน์ ต้องมีความละเอียดทุกขั้นตอนกว่าละครเวที เพราะบทโทรทัศน์เป็นตัวกำหนดมุมกล้อง กำหนดฉาก การแต่งกายของผู้แสดง ดนตรี เสียงประกอบ และบางเรื่องยังมีคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาเพื่อความสมจริงอีกด้วย
-
-
ละครอิงประวัติศาสตร์
ละครอิงประวัติศาสตร์ เป็นงานที่จัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยปกติจะใช้ในบริบทของภาพยนตร์และโทรทัศน์ ละครอิงประวัติศาสตร์
ในขณะที่ละครอิงประวัติศาสตร์นั้น นิยายผลงานอาจรวมถึงการอ้างอิงถึงบุคคลในชีวิตจริงหรือเหตุการณ์จากช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องหรือมีการนำเสนอช่วงเวลาที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ผลงานอาจรวมถึงเรื่องเล่าที่สมมติขึ้นโดยส่วนใหญ่อิงจากบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
-
-
ละครเพลง
-
ละครเพลง เป็นรูปแบบของละครที่นำดนตรี เพลง คำพูด และการเต้นรำ รวมเข้าด้วยกัน การแสดงอารมณ์ ความสงสาร ความรัก ความโกรธ รวมไปถึงเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านละคร ผ่านคำพูด ดนตรี การเคลื่อนไหว เทคนิคต่าง ๆ ให้เกิดความบันเทิงโดยรวม ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 การแสดงละครเพลงบนเวทีจะเรียกว่าง่าย ๆ ว่า มิวสิคัล (musicals)
-
ละครวิทยุ
ละครวิทยุ เป็นการแสดงละครโดยใช้เสียงอย่างเดียว เมื่อไม่มีภาพ จึงต้องขึ้นอยู่กับบทสนทนาโต้ตอบ ดนตรีและเอฟเฟ็กซ์เสียงเพื่อช่วยให้ผู้ฟังจินตนาการถึงตัวละครและนิยายออก ละครวิทยุอาจเป็นละครที่เขียนขึ้นเพื่อออกอากาศทางวิทยุโดยเฉพาะ ละครสารคดี งานบันเทิงคดีที่สร้างเป็นละคร หรือละครที่เดิมเขียนขึ้นเป็นละครเวที
-